สำหรับคนที่อยู่ในวงการคริปโต คงจะเคยได้ยินชื่อ Polkadot หรือ DOT ไม่มากก็น้อย ถือเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่อยู่ครองอันดันต้น ๆ ใน MarketCap มาอย่างยาวนาน และเป็นอีกโปรเจกต์ที่นำเทคโนโลยีของบล็อกเชนเข้ามาพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาของบล็อกเชนที่สำคัญได้ในเรื่องของ Interoperability ที่เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย
บล็อกเชนแต่ล่ะเครือข่ายเข้าหากันให้สามารถทำงานร่วมกันได้
ผู้ก่อตั้ง Polkadot คือ Gavin Wood ซึ่งเป็นอดีต CTO ของ Ethereum มีแนวคิดที่จะเชื่อมต่อบล็อกเชนอื่น ๆ เข้าหากันจึงกลายมาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า Connecting the Dots จึงเป็นที่มาของชื่อ Polkadot โดย Polkadot นั้นถูกจัดเป็นเหรียญดิจิทัลในด้าน Smart Contract เหมือนกับ Ethereum ใช้ระบบ Proof-of-Stake พัฒนาเพื่อให้เชื่อมต่อกับบล็อกเชนอื่น ๆ เข้าหากัน รองรับการทำธุรกรรมได้มากขึ้นและ รวดเร็ว ถึงแม้จะมีใช้งานจำนวนมากก็ตาม นอกจากนี้ยังช่วยให้มีการสร้างบล็อกเชนให้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นรวมทั้งสามารถจะเอามาดัดแปลงใช้งานได้มากมาย เพราะมีการปฏิบัติการทำงานแยกกันอย่างอิสระทำให้มีความเร็วมากยิ่งกว่าแพลตฟอร์มอื่น รวมทั้งยังมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า Smart Contract อื่นอีกด้วยซึ่งทำให้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนรวมทั้งสำหรับนักเทรดเหรียญคริปโตที่มีค่าธรรมเนียมที่ถูกมากมายๆ
โครงสร้างของ Polkadot เป็นเครือข่ายบล็อกเชนแบบ Sharded Blockchain ซึ่งเป็นโครงข่ายที่มีการแบ่ง Nodes สำหรับเพื่อการประเมินผลออกเป็น Nodes ย่อย ๆ ด้านในเครือข่าย ทำให้เครือข่ายสามารถประมวลแบบขนาน หรือ Parallel Processing และสามารถแก้ไขปัญหา Scalability ได้ โดยทางผู้พัฒนา Polkadot เรียกระบบที่เปรียบได้กับหัวใจหลักนี้ว่า Relay Chain รวมทั้งเรียกส่วนหน่วยประเมินผลย่อยกลุ่มนี้ว่า Parachain ซึ่งการทำงานเป็นรูปแบบ Shared Blockchain จะมีหลักการในการออกแบบโครงสร้าง 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1. Relaychain คือ เครือข่ายสามารถประมวลแบบคู่ขนาน หรือ Parallel Processing และเข้ามาแก้ปัญหาของ Scalability ได้ โดยทางผู้พัฒนา Polkadot เรียกระบบที่เปรียบเสมือนสำคัญหัวใจหลักของเครือข่าย Polkadot เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ
2. Parachain คือ เครือข่ายที่เป็นคู่ขนานกับ Relaychain ที่นักพัฒนาสามารถสร้างเหรียญดิจิทัล หรือแอปพลิเคชั่นขึ้นมาได้สามารถปรับแต่งได้หมดหรือที่เรียกว่า Customize Blockchain
3. Collators คือ ผู้ที่ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในเครือข่ายของ Polkadot ภายใน Shred หนึ่งก่อน เพื่อส่งต่อให้กับ Validators เพื่อทำการตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป
4. Validators คือ ผู้ที่ทำการตรวจสอบหลังจากได้ข้อมูลมาจาก Collators หลังจากนั้นจะทำการยืนยันส่งต่อกลับไปยัง Relaychain
5. Bridges คือ ช่วยเรื่อง Interoperability หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายบล็อกเชนเข้าด้วยกันสะพานที่จะเป็นตัวเชื่อม Polkadot ไปยังบล็อกเชนตัวอื่น ๆ เช่น Bitcoin หรือ Ethereum เป็นต้น โดยข้อมูลจะส่งกลับไปที่ Relaychain อีกที ถือเป็นจุดเด่นของ Polkadot ก็ว่าได้
เหรียญ Polkadot จะแบ่งการทำงานออกเป็นระบบ ได้ดังต่อไปนี้ คือสิ่งแรก Governance จะถูกมอบโอกาสให้กับกับผู้ที่ครอบครองเหรียญเยอะที่สุด สามารถกำหนดแนวทางได้ ในส่วน Staking จะเป็นการฝากเหรียญเพื่อให้กับระบบเพื่อที่จะได้มีโอกาส ได้เป็นคนตรวจสอบหรือที่เรียกกันว่าเป็น Validator ให้กับเครือข่ายซึ่งถ้าหากปฏิบัติหน้าที่ก้าวหน้าก็จะได้รับ Polkadot (DOT) เพื่อเป็นค่าผลตอบแทน รวมทั้งถ้าเกิดมีการทุจริตเกิดขึ้น ก็มีสิทธิที่จะโดนยึดเหรียญ นอกจากนี้ Bonding จะเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันโดยเป็นการเชื่อมต่อผ่านระบบ Bridge ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝากเหรียญเข้าในระบบก่อนจึงจะสามารถทำการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าหาด้วยกันได้นั่นเอง
มาลองดูตารางเปรียบเทียบกันหน่อยดีกว่าระหว่าง Polkadot, Bitcoin, Ethereum และ Cardano กันหน่อยว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ETH | ADA | DOT | BTC | |
Mainnet Launched | July 30, 2015 | Year 2015 | Year 2017 | January 3, 2009 |
TPS | 15 | 250-1000 | 1000 | 7 |
Smart Contract Languages | Solidity | Plutus & Marlowe | Ink! | Not Available |
Staking Rewards | 4-12% | 5-7% | 6.5-15% | 8.43% |
Circulating / Total Supply | 110,372,129 ETH *inflation varies | 33,739,028,516 ADA | 987,580,000 DOT | 18,303,512 / 21,000,000 BTC |
Transaction Finality | 5 mins | 3-5 mins | 2 mins | 30 mins |
Consensus Mechainsm | Proof of Work/ Proof of Stake ETH 2.0 | Proof of Stake | Proof of Stake | Proof of Work |
Marketcap | $346B | $29.192B | $16.835B | $738B |
Rank | 2 | 9 | 14 | 1 |
จะเห็นได้ว่า Bitcoin จะมีการทำงานจะแตกต่างออกไปจากเหรียญอื่น ๆ คือไม่ได้เป็นเหรียญที่จัดอยู่ในประเภทของ Smart Contract และระบบการทำงานจะเป็น Proof of Work ทั้ง ๆ ที่อีกสามเหรียญใช้ระบบ Proof of Stake กันหมดแล้ว ข้อดีคือสามารถรองรับธุรกรรมได้มากกว่า รวดเร็วกว่า และค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมค่อนข้างต่ำกว่า ข้อสังเกตอีกอย่างสำหรับเหรียญ Polkadot คือ สามารถใช้เวลาในการทำธุรกรรมได้น้อยที่สุดจากเหรียญทั้งหมด 4 เหรียญ และค่าธรรมเนียมก็ถูกที่สุดในการทำธุรกรรม จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนต่างเริ่มเข้ามาใช้ Polkadot กันมากขึ้น
ในตอนนี้ Polkadot ยังเป็นเหรียญที่นักลงทุนต่างยังให้ความสนใจอยู่ เพราะมีการปล่อยโปรเจกต์ออกมาเรื่อย ๆ อีกทั้งยังสามารถทำได้ตาม Roadmap ที่ตั้งไว้ เพราะทาง Polkadot ได้ปล่อย Parachain ออกมาให้ได้ใช้แล้วตั้งแต่ปี 2564 โดยรวมแล้วถือว่าทำออกมาได้ดีเลยทีเดียวในด้านการพัฒนา อีกทั้งยังได้ Test Network ของ Kusama เป็นระบบทดลองก่อนนำขึ้น Mainnet ทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น ด้านของระบบนิเวศของ Polkadot เองก็มีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก สามารถเชื่อมต่อกับเชนอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ
ที่ผ่านมาการได้มีการเข้าร่วม Crowdloan ผ่าน Binance คนที่สนใจเข้าร่วม Crowdloan สามารถเข้าร่วมได้โดยตรงผ่าน Binance ได้โดยไม่ต้องสมัคร Wallet เพิ่มเอง พร้อมทั้งมีโปรแกรมอัดฉีดเงินในตอน Warm-Up period เพื่อการส่งเสริม Parachain Auction มากถึง 30 ล้านดอลล่าร์ ในช่วงเวลา 4 – 11 เดือนพฤศจิกายน โดยทาง Binance จะ Lock Polkadot (DOT) ของคนที่มาเข้าร่วม หาก Parachain ที่พวกผู้เข้าร่วมประมูลชนะ Polkadot (DOT) ของผู้เข้าร่วมจะถูก Lock เป็นระยะเวลา 96 อาทิตย์ กลับกันหากผู้เข้าร่วม Parachain เป็นฝ่ายที่แพ้ผู้เข้าร่วมจะได้รับ Polkadot (DOT) คืนกลับในวันที่ 18 เดือนธันวาคม ทำให้กระแสของ Polkadot ยิ่งร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปีที่ผ่านมา Dot มีราคาขึ้นไปสูงถึง $47 หลังจากนั้นราคาก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 11 ดอลลาห์ก่อนที่จะกลับไปยืนได้ที่ $55 ในสิ้นปีที่ผ่าน จากการวิจัยข้อมูลที่ผ่านมาของทีมงาน CryptoNewsZ คาดการณ์ว่าราคาของ DOT จะไปได้ไกลถึง $38 ภายในสิ้นปี 2565 นี้ เนื่องจากระบบที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกในอนาคตตามที่ผู้เชี่ยวชาญ ได้วิเคราะห์ราคาของ DOT มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นและน่าจะเป็นไปในเชิงบวกทั้งปี
เราสามารถซื้อขายเหรียญ Polkadot ได้สองรูปแบบ คือ
1.การซื้อผ่านแพลตฟอร์ม CFD
การซื้อขายแบบ CFD หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรส่วนต่างจากราคาที่เคลื่อนไหวของมูลค่าสินทรัพทย์อ้างอิงได้ เช่น หุ้น, คริปโต, ทอง และอื่นๆ เป็นทางเลือกที่นักลงทุนหลายคนนิยมใช้ในปัจจุบัน
เราสามารถเข้าซื้อขายเก็งราคาได้โดยไม่ต้องถือสินทรัพย์นั้นจริง ๆ ใช้เลเวอเรจในการเทรดได้ นั้นหมายถึงว่าเราไม่จำเป็นต้องลงทุนเยอะมาก แต่สามารถได้ผลตอบแทนคืนมาเยอะ แน่นอนว่ามีความเสี่ยงสูงตามมาเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้ที่เก็งกำไรในระยะสั้น แนะนำว่าควรเลือกกระดานเทรดที่ได้การรับรองแล้ว เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง
2. ซื้อขายผ่านกระดานเทรดชั้นนำทั่วไป
การซื้อขายผ่านกระดานเทรด เป็นการซื้อแบบทั่วไปที่นักลงทุนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยสามารถเลือกจากกระดานเทรดภายในประเทศที่ได้มีการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เช่น Bitkub, Zipmex และ Bitazza เป็นต้น หรือจะเป็นกระดานเทรดต่างประเทศชื่องดังก็มีให้เลือกมากมายเหมือนกัน เช่น Binance, KuCoin และ Okex เป็นต้น
เราสามารถเลือกได้ตามที่เราถนัด ให้คำนึงถึงว่าเราต้องการลงทุนในระยะสั้น หรือระยะยาว ถ้าใครที่ชอบลงทุนระยะสั้น ต้นทุนไม่มาก แต่ต้องการผลตอบแทนที่ดี อาจจะเลือกการซื้อขายแบบ CFD ก็ได้
สรุปแล้ว Polkadot ถือเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่น่าสนใจเลยทีเดียวสำหรับการลงทุน มีอีกหลากหลายโปรเจกต์ที่น่าจับตามอง ต้องมาลองดูกันว่า Polkadot จะสามารถไปได้ไกลแค่ไหน จะกลับไปติดอันดับท็อป 10 ได้อีกหรือไม่ นักลงทุนหลายคนก็เริ่มที่จะให้ความสนใจกันมากขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในอนาคตจะต้องได้เห็น Polkadot ในมุมที่น่าสนใจอย่างมากมายอีกแน่นอน ส่วนใครที่อยากจะลงทุน อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
※ บทความที่คุณอาจจะสนใจด้วย ※ บิทคอยน์ (Bitcoin): · วิธีขุด Bitcoin - ขุด Bitcoin คุ้มไหมในปี 2022? · 9 เว็บเทรด Bitcoin ที่คนไทยนิยมใช้งานมากที่สุด · เล่นบิทคอยน์ได้เงินจริงไหม 2022 · 10 โปรแกรมขุด Bitcoin ฟรีสำหรับปี 2022 สกุลเงินดิจิตอลอื่นๆ : · Ripple (XRP) น่าลงทุนหรือไม่ในกระแสการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล · การคาดการณ์ราคา ApeCoin เหรียญ Ape ยังน่าลงทุนไหม? |
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง