เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

5 รูปแบบกราฟ ที่นักลงทุนเจอบ่อย ถ้าเจอกราฟแบบนี้เทรดยังไงดี?

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 20 มี.ค. 2566 02:35 น.
819

ถ้าพูดถึงการลงทุนสิ่งหนึ่ง ที่นักลงทุนสายเทรด ต้องเฝ้าดูเป็นประจำ คือกราฟของราคาสินทรัพย์ที่ได้ลงทุนไป 


แล้วมีหลายคำถาม ที่คนส่วนใหญ่ถามมา ว่าตอนนี้ซื้อได้หรือยัง? ขายเมื่อไหร่ดี? ผิดทาง ถ้าเกิดไม่เป็นไปตามแผนจะหาจุด Stop loss ตัดขาดทุนที่เท่าไหร่ดี ถ้าเพื่อนๆ ต่างมีคำถามเหล่านี้ในหัว ลองมาดู Trade set up ที่นักลงทุนใช้บ่อยกันครับ

จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจวิธีการลงทุน การเก็งกำไรมากยิ่งขึ้น


Trade set up เป็นแผนการลงทุนที่เวลาลงทุนแล้ว มีโอกาสสูงที่เราจะชนะและได้กำไร แต่ถ้าเกิดผิดพลาดก็มีโอกาสขาดทุนน้อยเพราะได้วาง stop loss เผื่อด้วยครับ การวางแผนการเทรด การลงทุนและศึกษารูปแบบกราฟต่าง ๆ ในสินทรัพย์ที่เราลงทุนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ  เพราะจะทำให้เราสามารถลงทุนและเอาตัวรอด สามารถทำกำไรจาก “การลงทุน” ได้อย่างยั่งยืน


วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ มาดู 5 Trade Set up ที่นักลงทุนเจอบ่อย คือ 1. Channel Trade 2. Breakout/Break High 3. Buy on Dip 4. Bullish Divergence และ 5. Bearish Divergence มาดูกันเลย!!!

5 รูปแบบการวางแผนการเทรดที่เจอและใช้บ่อยใน “ตลาดหุ้น”

1. Channel Trade คือ การเทรดตามกรอบ


การใช้ Channel Trade คือ ซื้อเมื่อราคาหุ้นลงมาที่เส้นแนวรับ และขายตอนที่ราคาหุ้นขึ้นไปที่แนวต้าน และถ้าเกิดผิดทาง ลงมาหลุดแนวรับ แล้วลงต่ออย่าลืมวางแผน Stop loss ตัดขาดทุนไว้ด้วยนะครับ 


ซึ่งข้อดีของ Channel Trade ก็คือมีกรอบการเทรดที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้เราวางแผนได้ง่ายและเป็นหน้าเทรดที่นิยมมาก 

เห็นภาพชัดเจน


การใช้ Channel Trade ต้องการเข้าใจแนวโน้มราคาสินทรัพย์ ซึ่งแบ่งเป็น Uptrend, Downtrend และ Side Way


 ◆ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) มีรูปแบบของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่าจุดสูงสุดเดิม และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม 


 ◆ แนวโน้มขาลง (Downtrend) มีรูปแบบที่ของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และจุดต่ำสุดของการลดลงครั้งใหม่จะต่ำกว่าจุดต่ำสุดครั้งก่อน 


 ◆ แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (Sideways Trend) ระดับราคาจะวิ่งอยู่ภายในช่วงแนวรับและแนวต้านในแนวนอน โดยเมื่อราคาเคลื่อนตัวขึ้นและไปพบกับเส้นต้าน ราคาหุ้นจะดีดตัวลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อราคาเคลื่อนที่ไปจนพบกับแนวรับ ก็จะดีดตัวขึ้น โดยเคลื่อนตัวสลับขึ้นลงไปมาในลักษณะแนวระนาบ ไม่ทะลุกรอบราคาเดิม


ซึ่งการใช้ Channel Trade สามารถดูตัวอย่างได้เลยครับ


16723003995882


16723004402046


16723004505745


2. Breakout / Break high


การใช้ Breakout คือการที่ราคา Break จากจุดสะสมมานาน หรือ Break จากกรอบ Downtrend ไม่ทำจุดต่ำสุดใหม่และกำลังกลับไป Uptrend ทำให้เมื่อเราซื้อที่จุด Breakout เราจะได้เปรียบในต้นทุน แต่ถ้า Break out แล้วราคาไม่ไป กลับลงมาที่เดิมก็ต้องวางแผน Stop loss เผื่อด้วยครับ 


  การใช้ Break High คือ การที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบหลายปี และเราทำการซื้อราคา Break High

แต่ทั้งนี้การ Breakout / Break high ราคาควร Break พร้อมกับจำนวนซื้อขาย Volume ที่แนว Break


  กลยุทธ์คือ ซื้อที่ Break out / Break out ขายที่ แนวต้าน ตัดขาดทุนที่ราคาเข้าไป 3-5 ช่อง (สำหรับสายเก็งกำไรผิดทางอย่าลืมมอบตัวนะครับ)


  ข้อดีของการ Breakout จะทำให้ ทำให้เราอยู่ตรงต้นเทรนด์ ของโอกาสที่ราคาสินทรัพย์เปลี่ยนจากแนวโน้มขาลงกำลังกลับเป็นขาขึ้น ทำให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ ๆ ก่อนที่จะปรับตัวขึ้น ทำให้เราสามารถทำกำไรได้จำนวนมาก จากเข้าลงทุนที่จุดเหมาะสม


  ข้อดีของการ Break high ราคาจะไม่มีแนวต้านครับ ถ้าพื้นฐานของสินทรัพย์นั้นดี ก็ทำให้ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ไปเรื่อยๆ  มีโอกาสที่ราคาขึ้นแล้วขึ้นอีกก็เป็นไปได้ครับ 


  ข้อเสียของ Breakout / Break High  บางครั้งการ Break ของราคาก็เป็นการ Break ไม่จริง คือ Break แล้วลงต่อ เรียกว่า False Break ถ้าเจอ แบบนี้ต้องวางแผน Stop loss ที่ราคา Break ทันทีเลยครับ


  ซึ่งการใช้ Breakout / Break high สามารถดูตัวอย่างได้เลยครับ


16733391833485


16733391971979


3. Buy on Dip


  วิธีการใช้ Buy on Dip คือ การซื้อเมื่อราคาหุ้นย่อตัว ซึ่งจะใช้ indicator คือ Moving Average มาใช้ เช่น

ระยะสั้น ใช้ MA 5 ถ้าราคาย่อมาแนวนี้ก็ทยอยซื้อ ระยะกลาง MA 50 ถ้าราคาย่อมาแนวนี้ก็ทยอยซื้อ 


ระยะยาว MA 200 ถ้าราคาย่อมาแนวนี้ก็ทยอยซื้อ แต่วิธีนี้จะเหมาะการที่ราคาสินทรัพย์ภาพใหญ่ควรเป็นแนวโน้มขาขึ้น

(Uptrend) ย่อเพื่อขึ้นต่อ เพราะราคาของสินทรัพย์ต้องมีขึ้นและพักบ้าง เราก็จะใช้กลยุทธ์ Buy on Dip มาซื้อตอนราคาที่พักลงมาครับ 


  ข้อดี Buy On Dip คือ เราจะได้ราคาหุ้นที่ถูกเพราะไม่ไล่ราคา ทำให้มีต้นทุนที่ถูก  แต่ข้อเสียบางทีหุ้นอาจจะพักนานจนเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง ก็จะให้ผิดทางในการลงทุนได้ หรือ ราคาสินทรัพย์อาจจะช้า กว่าแบบ Break Out เพราะส่วนใหญ่พอราคา Breakout ราคาจะวิ่งและมีความผันผวนกว่า กลยุทธ์ Buy On Dip อาจเป็นการลงทุนช้าแต่ชัวร์ และไม่ได้หวือหวาแบบ Breakout ครับ


  ซึ่งการใช้ Buy on Dip สามารถดูตัวอย่างได้เลยครับ


16733392751907


16733392873779


4. Bullish Divergence


  Bullish Divergence คือการสวนทางกันระหว่างกราฟราคาของสินทรัพย์แท่งกับ Indicators ต่าง ๆ เช่น MACD, RSI และ Stochastic เป็นต้น ซึ่ง Bullish Divergence จะเกิดเมื่อ กราฟเป็นแนวโน้มขาลง แต่ Indicators ต่าง ๆ เป็นแนวโน้มขาขึ้น


  ถ้าเจอราคาของสินทรัพย์สถานการณ์เป็นแบบนี้ เราอาจจะต้องวางแผนการเก็งกำไรเป็นพิเศษ เพราะราคาสินทรัพย์อาจจะกลับตัวเป็นขาขึ้นได้ถ้าถึงจุด Break out สวยๆ ผมว่าสามารถเข้าไปเก็งกำไรได้เลยครับ


  ข้อดี Bullish Divergence เราอาจจะได้ต้นทุนที่ถูกกว่าคนอื่นจากจุดเข้าที่เหมาะสมของราคาที่มีแนวโน้มลง แต่ indicator ต่างยกตัวสูงขึ้น


  ซึ่งการใช้ Bullish Divergence สามารถดูตัวอย่างได้เลยครับ


16734107933743


5. Bearish Divergence


  Bearish Divergence คือจะตรงข้ามกับการเกิด Bullish Divergence คือกราฟสินทรัพย์เป็นแนวโน้มขาขึ้นแต่ Indicators ต่าง ๆ กลับเป็นแนวโน้มขาลง ถ้าเป็นแบบนี้แสดงว่าสินทรัพย์นั้นอาจจะหยุดขึ้น และเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงได้

 

ถ้าเจอราคาของสินทรัพย์สถานการณ์เป็นแบบนี้ เราอาจจะต้องวางแผนการขายทำกำไร หรือ อาจจะทยอยขายบางส่วน ไม่อย่างนั้นถ้ากราฟสินทรัพย์กลับเป็นขาลง เราอาจจะขาดทุนเยอะได้ 


  ข้อดี Bearish Divergence เราอาจจะได้ขายได้กำไร ก่อนที่จะกลับมาขาดทุนครับ แต่ระวังขายหมู 

คือขายและขึ้นต่อ


  ซึ่งการใช้ Bearish Divergence สามารถดูตัวอย่างได้เลยครับ


1673410809414


และนี่ก็เป็น 5 รูปแบบของกราฟที่นักลงทุนเจอบ่อย ซึ่งเพื่อนๆ สามารถใช้ Trade set up นี้ไปลองใช้กับการลงทุนและการเทรดของเพื่อนๆ ได้เลย และที่สำคัญ ก่อนการลงทุนเราควรมีแผน การลงทุนชัดเจน ขอให้เพื่อนๆ มีแผนการลงทุนที่ดี มี Trade Set up ของตัวเอง และมีวินัยในการลงทุนด้วยนะครับ 

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

ปรีชา มานพ
นักวางแผนการลงทุน อยากให้นักลงทุน ลงทุนเป็น พอร์ตการลงทุนเติบโต บริหารความเสี่ยงให้เป็น ประสบการณ์ด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนมากกว่า 7 ปี
บทความยอดนิยม
อ่านมากที่สุด
ข่าวล่าสุด
  • ต้นฉบับ
  • กลยุทธ์การเทรด
  • อ่านมากที่สุด
    ข่าวล่าสุด
ออมหุ้นเดือนละ 1000 เปิดบัญชีออมหุ้นที่ไหนดี 2566
ออมหุ้นเดือนละ 1000 เปิดบัญชีออมหุ้นที่ไหนดี 2566ด้วยภาวะวิกฤตของชีวิตจะมาเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ หลายคนจึงเริ่มมองหาการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อการออมเงินสำหรับการใช้จ่ายในอนาคต รวมถึงการปลดเกษียณตัวเอง การออมหุ้นเดือนละ 1000 คือรูปแบบการลงทุนอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักลงทุนหน้าใหม่ ด้วยความสะดวก และง่ายต่อการลงทุน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวินัยด้านการออมอีกด้วย ท่านใดที่สนใจคงมีคำถาม “ ฉันอยากเริ่มออมในหุ้น เริ่มต้นยังไง และการออหุ้นนั้น แบบการลงทุนอย่างไร เปิดบัญชีออมหุ้นที่ไหนดี 2566 ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านการสู่เส้นทางแห่งอิสรภาพทางการเงินด้วยเงินลงทุนเดือนละ 1000 บาท กับการลงทุนออมหุ้นครับ
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย