การซื้อหุ้นต่างประเทศ สำหรับมือใหม่ อาจฟังดูแล้วน่ากลัว “ โอย หุ้นไทย ชั้นยังทำกำไรไม่ค่อยได้ ถ้าผันตัวไปเล่นหุ้นต่างประเทศ ฉันไม่ตายก่อนรึ “ ประเดี๋ยวก่อน ลองติดตามไปด้วยกัน บางทีเมื่ออ่านบนความนี้จบ คุณอาจรีบเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศมันซะวันนี้ แล้วรีบโยกเงินตลาดหุ้นไทยไปลงทุนหุ้นต่างประเทศในทันที คุณพร้อมแล้วรึยังสำหรับการเดินทางบนประสบการณ์ใหม่ ที่มีโอกาสทำให้คุณมีรายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างที่ได้แจ้งไป เพียงแค่คุณศึกษา ใส่ใจ และมีข้อมูลเพียงพอ การเล่นหุ้นต่างประเทศ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โดยทั่วไปแล้ว การซื้อหุ้นต่างประเทศจะมี 3 รูปแบบหลัก
1.ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ
2.ซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับโบรกเกอร์ในไทย
3.ซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับแพลตฟอร์มการเทรด CFD
3 วิธีนี้ต่างกันยังไงและจะเลือกยังไง ทุกวิธีจะมีข้อดีข้อจำกัดยังไง เรามาเล่าให้ฟังต่อนะ
1.ซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ
กองทุนรวมหุ้นต่างประเทศคือกองทุนที่จัดสรรขึ้นมาโดยอ้างอิงจากดัชนีหุ้นในต่างประเทศ เช่น ดัชนีอมริกา S&P 500 และดัชนีของญี่ปุ่น Nikkei 225 เป็นต้น
● เป็นวิธีที่นักลงทุนสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ซึ่งสามารถซื้อได้ที่ธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์ได้อย่างง่าย เพียงแต่ซื้อกองทุนแล้วก็ปล่อยไว้ได้เลยเพราะมีผู้จัดการคอยดูแลให้ เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่มาก
● เงินขั้นต่ำน้อย การซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศใช้เงินขึ้นต่ำ 500 บาทก็สามารถซื้อได้
● มีความเสี่ยงต่ำกว่าการซื้อหุ้นรายตัว เนื่องจากมีหุ้นเป็นหลายสิบหรือเป็นร้อยตัวอยู่ในพอร์ตที่สามารถช่วยกระจายความเสี่ยงได้
อย่างไรก็ตาม การกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศมีข้อเสียตรงที่
● มีค่าธรรมเนียม (Fees) และค่าใช้จ่าย (Expenses) ที่ไม่น้อย รวมถึงค่าธรรมเนียมการขาย ค่าธรรมเนียมการขายซื้อคืนและค่าธรรมเนียมการจัดการ ฯลฯ
● ไม่เหมาะกับนักลงทุนสไตล์ระยะสั้น กว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในกองทุนมันเป็นระยะเวลายาว อย่างน้อยก็ 1 ปีขึ้นไป ปกติแล้วหากลงทุนเป็นระยะเวลายาวถึง 5-10 ปีจะโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีพอ ดังนี้นนักลงทุนที่ลงทุนผ่านกลองทุนต้องใช้ความอดทน
● มีสภาพคล่องน้อยกว่า เป็นแบบ T+2 คือมีการดีเลย์ไป 2 วันทำการ เวลาขายแล้วต้องรออีก 2 วันทำการเงินถึงจะเข้าบัญชีให้ได้
● มีความเสี่ยงสูงกว่าการซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการจัดสรรหาซื้อและวิเคราะห์หุ้นด้วยตนเอง ต้องอาศัยความรู้และเทคนิคการลงทุนพอสมควรถึงจะมีโอกาสได้กำไรดี
● ไม่สามารถซื้อหุ้นรายตัวได้ ไม่เหมาะกับนักลงทุนที่อยากได้หุ้นตัวเฉพาะ
2.ซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับโบรกเกอร์ในไทย
นักลงทุนสามารถเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ในไทยได้ ด้วยวิธีนี้ นักลงทุนจะสามารถเลือกซื้อหุ้นรายตัวที่ถูกใจได้ตามความชื่นชอบหรือการวิเคราะห์และจัดสรรพอร์ตของเราเองได้
แต่มันก็มีข้อเสียหลายข้อ เช่น
● มีข้อกำหนดในการเปิดบัญชี นักลงทุนต้องมีเงินขั้นต่ำสองหมื่นบาทอยู่ในบัญชี(ขึ้นอยู่กับแต่ละโบรกเกอร์กำหนดไว้)ถึงจะเปิดบัญชีได้
● ใช้เงินทุนซื้อหุ้นเป็นก้อนใหญ่ หากเราซื้อหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น การซื้อหุ้น Microsoft 1 หุ้นต้องใช้เงินประมาณ $297 ดอลล่าร์ เป็น 9,600 บาทไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 2565) ทำให้นักลงทุนที่มีงบน้อยก็ไม่สามารถซื้อหุ้นหลายตัวเพื่อกระจายความเสี่ยงได้
● มีค่าธรรมเนียมสูง ทุกครั้งที่เราทำการฝากและถอนเงิน การซื้อและขายหุ้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นหมื่นบาทขึ้นไป(ขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่เปิดพอร์ต) ทำให้วิธีนี้จะไม่เหมาะกับการซื้อขายบ่อยครั้ง คำนวณไปแล้ว นักลงทุนที่อยากได้กำไรดีๆ ควรเตรียมเงินทุน 500,000 บาทขั้นต้นถึงจะคุ้มค่า
● ไม่เหมาะกับนักลงทุนสไตล์ระยะสั้น ด้วยเงินทุนที่เราต้องใช้ในการซื้อหุ้นและค่าธรรมเนียมที่สูงนั้น วิธีนี้จึงเหมาะกับนักลงทุนสาย VI มากกว่า คือซื้อแล้วก็ทิ้งไว้เป็นหลายปี
● มีสภาพคล่องต่ำกว่า คือต้องใช้เวลาในการรอจับคู่กันเพื่อจะได้ราคาที่ดีเมื่อเวลาจะขายหุ้น และอีกอย่างคือจะมีการดดีเลย์อีกหลายวันกว่าจะได้เงินเข้าบัญชี เช่น T+5 คือดีเลย์ไป 5 วันทำการ จึงจะลดประสิทธิภาพของการใช้เงินทุน
3.ซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับแพลตฟอร์มการเทรด CFD
นอกจากสองวิธีที่กล่าวไปแล้ว ปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นหุ้นต่างประเทศที่ได้รับความนิยมและมีความยืดหยุ่นมากคือ การเทรดหุ้นผ่านแพลตฟอร์มการเทรด CFD-Contract for Difference (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) การเทรดหุ้นผ่าน CFD ได้สร้างความได้เปรียบให้กับนักลงทุนในหลายด้าน อย่างทำการเทรดกับแพลตฟอร์มการเทรด Mitrade จะมีข้อดีดังนี้
● ใช้เงินขั้นต่ำในการซื้อหุ้นน้อยมาก ตัวอย่างเช่น การเปิดคำสั่งซื้อหุ้น APPLE ที่แพลตฟอร์มการเทรด Mitrade ขั้นต่ำเพียงราวๆ $8 ดอลล่าร์หรือ 260 บาทไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 23/2/22)
ที่สามารถใช้เงินน้อยแบบนี้ก็เพราะว่าการเทรด CFD สามารถด้วยอัตราทด(เลเวอเรจ) ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางเงินมาร์จิ้นเพียงจำนวนหนึ่งแต่ก็ยังจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการซื้อขายหุ้นนั้นเต็มจำนวน เพื่อจะให้นักลงทุนเข้าใจถึงเลเวอเรจให้มากขึ้น ผู้เขียนได้ทำการเปรียบเทียบการเทรดแบบไม่มีเลเวอเรจและการเทรดแบบมีเลเวอเรจในตารางด้านล่าง:
รายการ | เทรดแบบไม่มีเลเวอเรจ | เทรดแบบมีเลเวอเรจ |
ค่าเลเวอเรจ | 0 | 1:20 |
ราคาเปิด | 162 USD | 162 USD |
ราคาปิด | 200 USD | 200 USD |
ปริมาณการซื้อขาย | 1 ล็อต | 1 ล็อต |
เงินทุนเริ่มต้น | 162 USD | 8 USD |
กำไรที่ได้ | 38 USD | 38 USD |
อัตราผลตอบแทน | 23% | 475% |
Mitrade เสนอเลเวอเรจที่ 1/2/5/10 เท่า นังลงทุนสามารถปรับค่าเลเวอเรจได้ตามความต้องการและระดับความเสี่ยงที่แบกรับได้ของตน ซึ่งโบรกน้อยรายที่ได้เสนอตัวเลือกนี้ไว้ให้ หรือสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการใช้เลเวอเรจก็ปรับเป็น 1 เท่าได้เลย
● มีความยืดหยุดในการเทรดทั้งขาขึ้นและขาลง นักลงทุนสามารถทำการเทรดในขาลง(short-selling) อย่างง่ายมาก ทำให้นักลงทุนสามารถคว้าโอกาสในการเทรดในทุกสถานการณ์ได้
● มีสภาพคล่องสูง โบรกเกอร์ CFD เป็นตัวกลางที่นำเสนอความสภาพคล่องให้กับนักลงทุนรายย่อย จึงทำให้การจับคู่ได้ง่ายกว่า แพลตฟอร์มการเทรด Mitrade จะการันตีจับคู่ได้เป็น 100% สำหรับ Market order และมีการดีเลย์ต่ำมากซึ่งจะเป็นแบบ T+0 คือซื้อ(ขาย)แล้วขาย(ซื้อ)ได้ทันทีและผลกำไร(ผลขาดทุน)จะเข้า(หัก)ในบัญชีทันทีเลยทีเดียว
● สามารถเข้าไปเทรดในหลาย ๆ หุ้นเด่นของโลก อาทิเช่น Facebook, Google, Apple, Amazon, Adobe, Tesla, Walt Disney, Microsoft, Walmart Alibaba เป็นต้น อีกอย่างคือการเปิดบัญชีเดียวเทรดได้สินทรัพย์หลากหลาย นอกจากหุ้นแล้ว เรายังสามารถเทรดสินทรัพย์ที่ยอดนิยมทั่วโลกได้ผ่านแพลตฟอร์มการเทรด CFD รวมถึงทองคำ สกุลเงินดิจิทัล คู่เงิน ฯลฯขึ้นอยู่กับโบรกเกอร์ที่ให้บริการ
● ฟรีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่างๆ ด้วยความเสี่ยงที่สูงในการเล่นหุ้นต่างประเทศ MiTrade เสนอระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบและเครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น stop loss/trailing stop เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมความเสี่ยงในการเทรดได้มากขึ้น
● ค่าคอมมิชชั่นการฝากถอนเงิน 0 การฝากเงินที่ MiTrade จะไม่มีค่าคอมมิชชั่นตลอดและและสามารถถอนเงินฟรี 1-2 ครั้งต่อเดือนขึ้นอยู่จำนวนเงินถอน
● ค่าคอมมิชชั่นการซื้อขาย 0 และสเปรดต่ำ จึงได้ช่วยนักลงทุนลดต้นทุนในการเทรดให้มากขึ้น
● ฟรีเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์ MiTrade เสนอบัญชีเทรดทดลองด้วยเงินเสมือนจริงฟรี เพื่อให้นักลงทุนมือใหม่สามารถทำการฝึกฝนการเทรดแบบไม่มีความเสี่ยงใดๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการลงทุนทุกรูปแบบย่อมมีข้อดีข้อเสียด้วย ข้อเสียของการเทรดหุ้นกับแพลตฟอร์มการเทรด CFD คือ
● นักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของของหุ้นที่ซื้อนั้น การซื้อหุ้นด้วยวิธีนี้นักลงทุนจะไม่ได้ถือครองหุ้นที่ซื้อนั้นและไม่มีเงินปันผลด้วย แต่จะได้กำไรจากการความส่วนต่างในการซื้อขายหุ้นเท่านั้น
● การเทรดด้วยเลเวอเรจจะมีความเสี่ยงสูง เพราะเลเวอเรจเป็นดาบคมสองด้าน ขณะที่เลเวอเรจสามารถขยายกำไรได้ก็สามารถขยายขาดทุนได้เช่นกัน (เคล็ดลับ: ใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่างๆ เช่น stop-loss,trailing-stop,ฟังค์ชั่นป้องกันยอดคงเหลือติดลบเพื่อปกปองเงินทุนของคุณไม่ให้ติดลบได้)
เราได้แนะนำไป 3 วิธีซื้อหุ้นต่างประเทศ แต่จะเลือกวิธีไหนจะเหมาะกับตนเองที่สุดละ ทีนี้เราได้สรุปไว้ให้เรียบร้อยแล้วดังนี้
1.นักลงทุนที่มีลักษณะดังนี้จะเหมาะกับการซื้อกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศมากกว่า
● มีงบน้อย
● ไม่มีเวลาหรือไม่มีความรู้เพียงพอในการคอยติดตามวิเคราะห์หุ้น
● มีความอดทุน รอได้
● ไม่อยากแบกความเสี่ยงที่สูง
2.นักลงทุนที่มีลักษณะดังนี้จะเหมาะกับการซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับโบรกเกอร์ในไทยมากกว่า
● มีงบมาก
● แบกรับความเสี่ยงที่สูงได้
● มีเวลาและความรู้เพียงพอในการติดตามและวิเคราะห์หุ้น
● เป็นสาย VI มีความอดทุน รอได้
3.นักลงทุนที่มีลักษณะดังนี้จะเหมาะกับการซื้อหุ้นต่างประเทศรายตัวกับแพลตฟอร์มการเทรด CFD มากกว่า
● มีงบน้อย
● แบกรับความเสี่ยงที่สูงจากทั้งความผันผวนของราคาหุ้นและการใช้เลเวอเรจได้
● มีเวลาและความรู้เพียงพอในการติดตามและวิเคราะห์หุ้น
● ในกรณีที่เทรดด้วยเลเวอเรจ จะเหมาะกับนักลงทุนมีสไตล์การเทรดระยะสั้นและเก็งกำไรมากกว่า แต่ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้เลเวอเรจ ก็สามารถซื้อขายเป็นระยะยาวได้
ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ของนักลงทุนไทย ในการพากันข้ามฟ้าหาการลงุทนใหม่ในตลาดการลงทุนระหว่างประเทศ การซื้อหุ้นต่างประเทศ คือคำตอบที่จะพาเราไปสู่การลงทุนในต่างประเทศได้เร็วที่สุด ซึ่งการเปิดเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศ เพื่อลงทุนหุ้นต่างประเทศในปัจจุบันนั้นแสนง่าย ไม่ต่างกับการเปิดพอร์ตซื้อขายหุ้นในประเทศ เพียงแต่คุณมีบัตรประชาชนและบัญชีธนาคาร เพียงเท่านั้นคุณก็สามารถทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นต่างประเทศได้ทันที แต่ถึงอย่างไร การลงทุนทุกอย่างมีขั้นตอน และไม่สัมฤทธิ์ผลในวันเดียว คุณยังต้องผ่านการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกเช่นเคย แต่โอกาสที่คุณสามารถทำกำไรจากการซื้อหุ้นต่างประเทศนั้นมีมูลค่าสูงกว่าการซื้อขายหุ้นในตลาดการเงินของไทยนัก ดังนั้น การลงทุน เล่นหุ้นต่างประเทศคือโอกาสใหม่ที่จะพาเราเติบโตในแวดวงการลงทุน ขอต้อนรับทุกท่านสู่โลกการลงทุนระดับโลก ผ่านการซื้อขายหุ้นในตลาดต่างประเทศครับ
※ เกี่ยวกับ MiTrade ※
◆ MiTrade เป็นโบรกเกอร์ CFD ที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ เนื่องจาก MiTrade ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้การควบคุม:
-สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย(Australian Securities and Investments Commission-ASIC) และถือใบอนุญาต AFSL เลขที่ 398528
-หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (The Cayman Islands Monetary Authority-CIMA) ด้วยใบอนุญาต SIB เลขที่ 1612446
-คณะกรรมการบริการด้านการเงินมอริเชียส (Mauritius Financial Services Commission-FSC) หมายเลขใบอนุญาตคือ GB20025791
ทำให้การทำธุรกรรมและการดำเนินงานต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ ASIC,CIMA และ FSC
◆ MiTrade เสนอเว็บภาษาไทยและมีเจ้าหน้าที่คนไทยคอยให้บริการและคำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน ถือได้ว่าได้อำนวยความสะดวกในการเทรดให้กับนักลงทุนไทยอย่างมาก ทำให้นักลงทุนเทรดอย่างไม่มีอปสรรคใดๆ เลย
◆ MiTrade เสนอการฝากถอนเงินผ่านช่องทางหลากหลาย รวมถึง QR Code ด้วย Mobile Banking และ Truemoney, Visa/Mastercard, Skrill และ Internet-Bank Thai ได้ โดย MiTrade รองรับหลายธนาคารไทย อาทิ ธนาคารกรุงเทพ, กสิกร, กรุงไทย, TMB, ไทยพาณิชย์และกรุงศรี ถือว่าได้อำนวยความสะดวกมากๆ สำหรับคนไทยอย่างมาก
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง