เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

วิเคราะห์หุ้น Microsoft(MSFT) และราคาที่ควรเป็นในปี 2022

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 20 มี.ค. 2566 03:33 น.
906

16564859179904


เดิมหุ้น Microsoft อาจถูกมองว่าเป็นหุ้นเทคโนโลยีที่มีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันหุ้น Microsoft ได้กลายมาเป็นหุ้นเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่สร้างรายได้เข้าบริษัทได้สม่ำเสมอจนถูกมองว่าเป็นหุ้นเติบโต (Growth Stock) และถูกแนะนำเป็นทางเลือกในการลงทุนช่วยเงินเฟ้อเร่งตัว-ธนาคารกลางของประเทศทั่วโลกเริ่มปรับดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นจากนักวิเคราะห์หลายสำนัก


นับถึงปัจจุบัน Microsoft ไม่ได้ผลิตเพียงระบบปฏิบัติการวินโดวส์อีกแล้ว แต่ได้แตกไลน์ผลิตภัณฑ์และบริการทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย และในไตรมาส 3 ปี 2022 (สิ้นสุดเดือนมีนา 2022) รายได้ของ Microsoft ก็มีที่มาจากการเติบโตของบริการแพลตฟอร์มคลาวด์และยอดขายที่แข็งแกร่ง สร้างรายได้ให้บริษัทเพียงไตรมาสเดียวกว่า $49.4 พันล้าน คิดเป็นการเติบโตกว่า 18% เทียบกับปีก่อนหน้า ทำกำไร $16.7 พันล้าน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น (EPS) $2.22 ด้วยการเติบโตที่แข็งแกร่งนี้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้หุ้น Microsft กลับมาเป็นที่น่าจับตาของนักลงทุนอีกครั้ง


แม้ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกจะเริ่มเปิดเมืองหลังการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้คนใช้เทคโนโลยีน้อยลง หุ้นเทคโนโลยีหลายตัวเริ่มมีแรงขาย แต่สำหรับ Microsoft เชื่อว่าบริการที่มียังคงจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง และบริษัทจะยังมีโมเมนตัมในการเติบโตแม้ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มกลับมาเปิดกิจการหลังการฟื้นตัวจากโควิด และเป็นตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนดังที่เราจะมาวิเคราะห์หุ้น Microsoft และราคาที่ควรเป็นในปี 2022  ให้ฟังในบทความนี้

ทำความรู้จัก Microsoft (MSFT)

Microsoft(MSFT)


Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีประวัติยาวนาน ย้อนไปตั้งแต่ปี 1975 โดยการร่วมมือและก่อตั้งของสองเพื่อนสนิทอย่างบิล เกตส์ (Bill Gates) วัย 19 ปี และ พอล อัลเลน (Paul Allen) วัย 22 ปี ที่ในวันนั้นมีความฝันที่จะทำให้ทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งาน นับจากนั้น Microsoft ก็ได้เริ่มก่อร่างขึ้นเป็นลำดับ


1.1975–1985 จุดเริ่มต้นของ Microsoft

จุดเริ่มต้นของ Microsoft ย้อนไปตั้งแต่ปี 1975 ที่บิล เกตส์ และ พอล อัลเลน พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับรุ่น Altair BASIC ให้กับบริษัท MITS จากนั้นในปี 1980 ก็คิดค้นระบบปฏิบัติการ MS-DOS ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของ IBM และได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม นับเป็นจุดเริ่มต้นของ Microsoft ในวงการเทคอย่างเต็มตัว


2.1985–1995 Windows ยุคแรกและการเปิดตัว Microsoft Office

เป็นช่วงเริ่มแรกของการนำระบบปฏิบัติการ Windows ออกมาใช้ด้วย Windows 1.0 ที่มีการออกแบบ GUI (Graphic User Interface) แบบใหม่ให้สะดวกต่อผู้ใช้มากขึ้น ถือเป็นการพลิกโฉมวงการคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการไปอีกขั้น และนำบริษัทเข้าจดทะเบียนใน Nasdaq ปี 1986 จากนั้นก็ปล่อย Windows 2.0 ในปีถัดมา และสองปีถัดจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง Microsoft Office ก็ถูกนำออกสู่ตลาด ซึ่งในช่วงเวลานี้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง Apple ก็ได้เริ่มพัฒนา Lisa ระบบปฏิบัติการเริ่มแรกที่ใช้กับเครื่องแม็ค ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ Mac OS ออกมาเช่นกัน


3.1995–2005 จุดเริ่มต้นของการผสานกับอินเทอร์เน็ต เปิดตัว IE และ MSN

ปี 1995 Microsoft ส่งระบบปฏิบัติการ Windows 95 ที่มาพร้อมกับ Internet Explorer และ MSN ออกมาจนได้รับการตอบรับอย่างดี ถัดมาด้วยวการเปิดตัว Windows 98 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มี Quick Launch Bar ให้ใช้พร้อมกับฟีเจอร์อ่านแผ่น DVD และ เชื่อมต่อ USB ได้ ถัดมาด้วย Windows 2000, Windows ME และ Window XP ในปี 2001 ที่สามารถเปลี่ยนแบคกราวด์ในเดสก์ท็อปให้มีสีสันได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของกราฟฟิกสุดอลังการของวินโดวส์


4.2005–2015 ซับไพร์มและการก้าวสู่ยุคสมาร์ทโฟน

Microsoft ก้าวสู่อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนด้วยการมาของ iPhone ในปี 2007 และเป็นปีที่ Windows Vista ถูกส่งออกมาให้ได้ใช้กัน ซึ่งบริษัทจำเป็นต้องใช้เวลากว่า 4 ปีหลังจากการเปิดตัว iphone ในการบุกตลาดสมาร์ทโฟน และเข้าเทคบริษัท Nokia ในปี 2013 ด้วยราคา $7.17 พันล้าน และส่ง Windows Phone ออกจำหน่าย แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก จึงต้องพับโครงการนี้ไปในกลางปี 2016


5.2015-ปัจจุบัน ก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัล

ปี 2015 Microsoft ได้กลับมาวางจำหน่าย Windows 10 โดยนำ Microsoft Azure ที่เป็นกลไกเสมือน (Virtual Machine) มาแก้ไขปัญหา CPU ของ Intel จากนั้นในปี 2018 บริษัทก็เปลี่ยนการจัดเก็บรายได้ของ Microsoft 365 มาเป็นการจ่ายค่าสมาชิกเป็นงวด ๆ ไป


ไม่เพียงเท่านั้น ในปีเดียวกัน Microsoft ได้ส่งโปรเจกต์ Azure Government ที่ใช้สำหรับการตรวจตราเฝ้าระวัง จากนั้นก็เข้าซื้อ GitHub ด้วยมูลค่า $7.5 พันล้าน เริ่มเปิดตัว Surface Go, Microsoft Team และเข้าเป็นพันธมิตรกับ Toyota Tsusho ร่วมกันพัฒนาฟาร์มเลี้ยงปลาด้วยระบบ IoT (Internet of Things) โดยการนำ Microsoft Azure มาใช้ รวมถึงเริ่มมีการพัฒนาโปรเจกต์/open source ต่าง ๆ จนได้ Micorsoft Edge โปรแกรมเบราเซอร์มาใช้ทดแทน IE ที่เริ่มสูญเสียตลาดให้กับ Google และ Firefox ไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา


สำหรับปี 2020 เป็นต้นมาถือเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของวงการเทคโนโลยี Microsoft ได้เข้าควบรวมกิจการกับบริษัทเกม ZeniMax Media และกลายมาเป็น Microsoft's Xbox Game Studios ในปี 2021 ด้วยเงินลงทุน $8.1 พันล้านเหรียญ และในช่วงนี้เองที่ Microsoft เริ่มพัฒนา Cloud Computing ปีเดียวกันนี้มูลค่าตามราคาตลาดของบริษัทก็ทะยานสู่ $2 ล้านล้านเหรีญเป็นบริษัทที่สอง


ปี 2022 ถือเป็นอีกย่างก้าวสำคัญของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของวงการแห่งนี้ ด้วยการเข้าซื้อบริษัทเกมยักษ์ใหญ่ Blizzard ด้วยมูลค่ากว่า $68.7 พันล้านเพื่อปูทางสู่โลกของ Metaverse และเป็นปีที่ Microsoft ประกาศปิดฉาก Internet Explorer ที่ใช้มานานกว่า 27 ปี


ปัจจุบัน Microsoft มีที่มาของรายได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย บริการคลาวด์กับธุรกิจ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่องเล่นเกม มีรายได้รวม $61,271 ล้านในปี 2021 เติบโต 38% จากปีก่อนหน้า และมีมูลค่าตามราคาตลาด $1.852 ล้านล้าน

โครงสร้างธุรกิจและแนวโน้มผลประกอบการของ Microsoft

โครงสร้างธุรกิจของ Microsoft


ปัจจุบัน Microsoft มีที่มาของรายได้จาก 7 ช่องทาง ได้แก่

●   ให้บริการเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ เฉพาะช่องทางนี้เป็นช่องทางที่สร้างรายได้ให้ Microsoft กว่า 55% ในปี 2021 โดยเป็นการให้บริการคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์ทั้งแบบสาธารณะ (Public) ส่วนตัว (Private) รวมทั้งแบบผสม (Hybrid) ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์กรและนักพัฒนารุ่นใหม่ ซึ่งโปรดักส์ที่อยู่ในส่วนนี้ ได้แก่ Azure, SQL Server, Windows Server, Visual Studio, System Center, Client Access Licenses (CALs) และ GitHub ทั้งยังให้บริการที่ปรึกษาสำหรับธุรกิจที่ต้องการนำบริการนี้ไปใช้ด้วย ซึ่งในปี 2021 ที่ผ่านมา ช่องทางนี้มีการเติบโตของรายได้กว่า 20% นำโดยรายได้จากการให้บริการ Microsoft Azure


●   วินโดวส์ นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่คู่กับ Microsoft มายาวนานและสร้างชื่อให้กับบริษัทนี้ แต่รายได้ที่ Windows สร้างหกับ Microsoft นั้นคิดเป็นสัดส่วนไม่มาก สำหรับปี 2021 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 4% ของรายได้ทั้งหมดเท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้กลับเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะเชื่อมต่อผู้ใช้งาน Windows ไปยังผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ในช่องทางอื่นให้กับ Microsoft ได้เป็นอย่างดี


●   เกม หลังจากการเข้าซื้อ ZeniMax และ Blizzard ค่ายเกมยักษ์ใหญ่ของโลก Microsoft ก็พัฒนา Xbox Gama Studio เป็นของตัวเอง โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงเนื้อเรื่อง คอมมูนิตี้ และระบบคลาวด์ที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้วเพื่อมาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักเล่นเกมทั่วโลก และรายได้จากส่วนนี้คิดเป็น 33% ของรายได้ในปี 2021 ของ Microsoft


●   LinkedIn นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่แรงงานในสาย IT คุ้นเคยกันดีและเป็นแพลตฟอร์มที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าตลาดแรงงานที่ผู้จ้างและลูกจ้างสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งในปี 2021 สร้างรายได้ให้ Microsoft เป็นสัดส่วนถึง 27%


●   เสิร์ชและโฆษณา บริการส่วนนี้ของ Microsoft ประกอบด้วย Bing และ Microsoft Advertising ที่จะเป็นคนนำเสนอและสนับสนุนโฆษณาบนเสิร์ชเอนจิ้นของตัวเอง ในส่วนนี้ Microsoft ยังมีพันธมิตรกับอีกหลายบริษัท เช่น Verizon Media Group บริษัทสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่จากอเมริกา และในปี 2021 ธุรกิจส่วนนี้ก็สร้างรายได้ให้กับ Microsoft เป็นเงิน $ 8,528 ล้าน คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท


●   บริการธุรกิจ รายได้จากส่วนนี้คิดเป็น 4.1% ของรายได้ทั้งหมดของ Microsoft ในปี 2021 ซึ่งรวมการให้บริการทางธุรกิจได้แก่ Premier Support Services และ Microsoft Consulting Services ที่จะให้คำแนะนำกับลูกค้าในการนำผลิตภัณฑ์ไปพัฒนา ปรับใช้ รวมถึงการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์ และยังให้บริการฝึกสอนกับนักพัฒนา/ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ด้วย


●   อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Microsoft ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในชื่อ Surface และมีอุปกรณ์เสริมสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการใช้งาน Windows ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในปี 2021 รายได้จากส่วนนี้คิดเป็น 5% ของรายได้ทั้งหมด

วิเคราะห์หุ้น Microsoft และปัจจัยที่ผลักดันรายได้/ผลกำไร

จากโครงสร้างรายได้ของ Microsoft เราจะพบว่าจริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทอย่าง Windows และ Microsoft Office นั้นดูจะไม่ใช่แหล่งรายได้หลักของบริษัทอีกต่อไปแล้ว ดังที่ Satya Nadella CEO คนปัจจุบันของ Microsoft กล่าวไว้ตั้งแต่ปี 2021 ว่า


“จากนี้ไป ทุก ๆ ธุรกิจจะร่วมมือกันโดยมีข้อมูล (data) และ AI เข้ามาช่วยเสริมกำลัง ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างการทำงานแบบดิจิทัลและโลกจริง (physical)”


และผลิตภัณฑ์ของ Microsft จะเข้ามาช่วยเสริมช่องว่างนี้ด้วยการเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI คลาวด์ ระบบรักษาความปลอดภัย และแอปพลิเคชั่นช่วยเสริมการทำงาน (productivity) รวมทั้งแอปพลิเคชั่น AI แบบ No Code หรือ Low Code เพื่อให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นก็สามารถใช้งานได้ง่าย และเหล่านี้คือจุดมุ่งหมายใหม่ของ Microsoft จากนี้ไป


Phil Winslow นักวิเคราะห์จาก Credit Suisse ที่มองว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดครั้งต่อไปของ Micosoft จะมี Azure เป็นตัวขับเคลื่อน โดยมองว่า “การเติบโตของ Azure จะรวดเร็วและยิ่งใหญ่กว่าที่ใครคาดคิด” และมองว่าการเปลี่ยนแนวธุรกิจรอบนี้จะสร้างจุดแข็งให้กับ Micosoft และนับเป็นการพลิกโฉมหน้าใหม่ของวงการไอที ด้วยการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) แทนที่จะไปนั่งสร้างแอปพลิเคชั่นเฉพาะเป็นรายตัวไป และมองว่านักลงทุนค่อนข้างมอง “เป็นบวกมาก ๆ” สำหรับการเปลี่ยนแปลงของบริษัทในรอบนี้


ปัจจัยหลักที่นักวิเคราะห์หลายสำนักมองว่าเป็นจุดแข็งของ Microsoft คือ การปรับเปลี่ยนธุรกิจอย่างถูกทาง และอยู่ในธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ แม้ในภาวะยากลำบากของเศรษฐกิจสหรัฐและแรงกดดันจากเศรษฐกิจมหภาค เช่น การแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ที่ทำให้การรับรู้รายได้ของบริษัทจากต่างประเทศลดลง นักวิเคราะห์ยังคงมอง “บวก” กับหุ้นตัวนี้และแนะนำให้ถือติดพอร์ตแม้ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น


ล่าสุด Microsoft รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2022 (สิ้นสุดมีนา 2022) รายได้ของบริษัทเติบโตนำโดยผลิตภัณฑ์ด้านเซิร์ฟเวอร์ (คลาวด์, Azure) ที่ทั้งช่องทางมีการเติบโตของรายได้ 29% โดยเฉพาะ Azure อย่างเดียวเทียบกับปีที่แล้วมีการเติบโตสูงถึง 46% ส่งผลให้ไตรมาสนี้ Microsoft รายงานรายได้รวมที่ $49,360 ล้าน เติบโตขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า คิดเป็นรายได้ต่อหุ้นที่ $2.22 (+9% YoY) โดยนักวิเคราะห์ยังให้ช่วงราคาเป้าหมายของ Microsoft ไว้ระหว่าง $320 - $400


วันที่

โบรก

ราคาเป้าหมาย

คำแนะนำ

6/13/2022

Jefferies

$325 → $320

Buy -> Maintains

6/10/2022

Barclays

$363 → $335

Overweight -> Maintains

4/27/2022

Wedbush

$375 → $340

Outperform -> Maintains

4/27/2022

Deutsche Bank

$390 → $350

Buy -> Maintains

4/19/2022

Citigroup

$386 → $355

Buy -> Maintains

4/19/2022

Wells Fargo

$425 → $400

Overweight -> Maintains


การเคลื่อนไหวของราคาและการวิเคราะห์ทางเทคนิคของหุ้น Microsoft

16564917979104

ลองมาดูทางฝั่งเทคนิคของหุ้นตัวนี้กันบ้าง สำหรับหุ้น Microsoft ในกราฟรายสัปดาห์จะพบว่าแม้ราคาหุ้นจะปรับฐานลงมาแล้วกว่า 27% จากจุดสูงสุดที่ทำไว้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกา 2021 และเกิด Dead Cross ของเส้น Moving Average มาแล้วแต่ยังมีมีการเทขายแบบรุนแรงจนราคาหลุดแนวรับสำคัญ (NeckLine) บวกกับอินดิเคเตอร์ RSI ก็ยังลงมาแกว่งตัวในระดับต่ำแล้ว ทำให้เรามองว่าการปรับตัวลงมารอบนี้เป็นการปรับฐานตามปกติที่จะไม่ตามมาด้วยการตกใจขาย และยังสามารถยืนระยะเพื่อปรับตัวขึ้นต่อในอนาคตได้


16564918044109

เช่นเดียวกับภาพราคาในกรอบรายวันที่อินดิเคเตอร์ RSI อยู่ในช่วงต่ำใกล้เข้าเขต Oversold ก็จะมีแรงซื้อกลับทำให้มองว่าเป็นโซนที่ไม่ควรขายแต่มองเป็นจุดรอซื้อเพื่อทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวกลับขึ้นไปมากกว่า โดยมีแนวรับอยู่ที่ $245.7 / $228.5

ความเสี่ยงด้านลบต่อราคาหุ้น Microsoft

จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งและแนวโน้มทางธุรกิจที่สดใส ทำให้หุ้นอย่าง Microsoft กลายเป็นเหมือนหุ้นผลิตเงิน (Cash Cow) ในตลาดหุ้น แต่แท้ที่จริงแล้ว Microsoft ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนควรต้องคำนึงถึงอยู่บ้าง


การแข็งค่าของดอลลาร์ ปัจจัยนี้นับเป็นความเสี่ยงชั่วคราว แต่สามารถกระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัทจนมีผลกำไรน้อยกว่าที่ควรเป็นได้นั่นคือปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคอย่างการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งทำให้รายได้ของ Microsoft ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อเปลี่ยนกลับมาในรูปของค่าเงินดอลลาร์จะมีมูลค่าลดลงกว่าที่เคยเป็น เช่น จากเดิมปี 2021 ดัชนีดอลลาร์เคลื่อนไหวราว 93+/- แต่ปัจจุบันดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมาที่ 104 เท่ากับว่าเงินดอลลาร์แข็งค่าแล้วกว่า 11.8% และทำให้รายได้ในต่างประเทศเปลี่ยนกลับเป็นรูปเงินดอลลาร์แล้วลดลงราว 11.8% โดยประมาณ


การฟ้องร้อง นับเป็นเรื่องปกติของบริษัทเทคโนโลยีที่อาจมีการฟ้องร้องเรื่องทรัพย์สินทางปัญญากันบ้าง แต่สำหรับยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง Microsoft นั้นมักมีความเสี่ยงอื่นเพิ่มขึ้นมา นั่นคือการฟ้องร้องในเชิงผูกขาดธุรกิจที่มักกลายเป็นประเด็นให้ต้องเสียค่าปรับให้กับทางการมาตั้งแต่สมัยยุคเริ่มแรก แม้จนปัจจุบันก็ยังมีการฟ้องร้องเช่นนี้ประปรายทั้งจากรัฐบาลสหรัฐเองและจากสหภาพยุโรป ตัวอย่างล่าสุดในปี 2013 คณะกรรมการสหภาพยุโรปปรับ Microsoft เป็นเงิน €561 ล้าน โทษฐานขัดขวางการปฏิเสธสัญญาชำระเงิน หรือคิดเป็นเงินกว่า $732 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และทั้งหมดนี้ก็คือการวิเคราะห์หุ้น Microsoft และราคาที่ควรเป็นในปี 2022 ซึ่งหวังว่าหุ้น Microsoft น่าจะเป็นที่จับตามองและอยู่ในลิสต์ที่นักลงทุนกำลังสนใจนำเงินไปลงทุนในช่วงตลาดปรับฐานให้เกิดส่วนลดในการซื้อหุ้นนี้

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Mitrade
มุมมองการลงทุนเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลทางด้านการเงินภายใต้ Mitrade ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงินที่สมบูรณ์ สภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ ข่าวที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึก
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย