เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

ซื้อหุ้น APPLE ยังไง? สเต็ปการซื้อหุ้นแอปเปิ้ลแบบละเอียด

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 24 มี.ค. 2566 06:20 น.
9848

ถ้าพูดถึงหุ้น APPLE น่าจะเป็นหุ้นในฝันตัวหนึ่งของนักลงทุนที่ยังคงสามารถเติบโตได้ในทุกสภาวะการณ์ของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสาวก APPLE ด้วยแล้วก็คงยิ่งไม่อยากพลาดโอกาสที่จะมีหุ้นตัวนี้ติดพอร์ตเอาไว้บ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดีการซื้อหุ้น APPLE ที่เทรดในตลาดหุ้นอเมริกานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับนักลงทุนไทย แต่เราก็ยังพอจะมีวิธีให้สามารถทำกำไรจากหุ้นตัวนี้ได้ในวิธีที่ไม่ซับซ้อนอยู่บ้างเหมือนกัน และคราวนี้เราจะมาชวนคุยกับประเด็นจะซื้อหุ้น APPLE ยังไงให้ทำกำไรได้ด้วยวิธีการเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนกัน

1. ทำความรู้จักบริษัท APPLE

หุ้น APPLE


บริษัท APPLE - Apple Inc. (AAPL) เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1976 โดยสองผู้ก่อตั้งอย่าง Stephen Wozniak และ Steve Jobs ที่ภายหลังกลายเป็นตำนานให้คนกล่าวถึงไม่รู้จบ และในปี 2018 บริษัทนี้ก็ได้กลายมาเป็นบริษัทแรกที่มีมูลค่าตามราคาตลาดสูงกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และปัจจุบันมูลค่าตามราคาตลาดของ APPLE ก็พุ่งทยานเกิน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว


แรกเริ่มเดิมทีผลิตภัณฑ์หลักของ APPLE มาจากการขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Mac ที่รันบนระบบปฏิบัติการ Macintosh โดยมีคู่แข่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในตลาดอย่าง Intel, IBM, Microsoft 


แม้ในช่วงเริ่มแรกและถัดมาในอีกเป็นสิบปี APPLE จะเผชิญภาวะการแข่งขันและการเติบโตแบบลุ่ม ๆ ดอน ๆ แต่การกลับมาของสตีฟ จอบส์ในปลายทศวรรษที่ 1990s ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันในตลาดของ APPLE ให้เข้าถึงผู้ใช้มากขึ้น โดยปรับดีไซน์ของผลิตภัณฑ์หลักอย่าง Mac เสียใหม่ และนำระบบ Mac OS มาใช้จนได้เป็น iMac ในปี 1998 และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนโฉมหน้าของบริษัทนี้ไปอย่างก้าวกระโดด


ปี 2001 APPLE เริ่มออกผลิตภัณฑ์ตัวอื่นที่นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล iPod เป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เข้ามาตีตลาด Sony Walkman จากนั้นก็ปิดตัว iTune Store, Macbook Pro, ตามมาด้วย iPhone ในปี 2007 ซึ่งสร้างปรากฏการณ์เปลี่ยนโฉมหน้าวงการโทรศัพท์มือถือไปอย่างสิ้นเชิง


การเติบโตของรายได้ APPLE ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกนั้นอ้างอิงจากการขายอุปกรณ์อย่าง iPhone เป็นหลัก อย่างไรก็ดีในช่วงหลังยอดขายทั้ง iPhone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ นั้นเริ่มตกลง ทางบริษัทจึงเริ่มมองหาแหล่งรายได้ใหม่ที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของผลกำไรให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะกลายเป็นยักษ์ใหญ่ทางเทคโนโลยีของโลกต่อไป และการให้บริการทางดิจิทัลก็กลายมาเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่สำคัญ


ในปี 2019 แม้บริษัทจะเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย แต่โดยรวมแล้วบริษัทก็ยังประสบความสำเร็จในการกระตุ้นการเติบโตของกำไรจากการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากบริการ ในขณะที่ช่วงปีก่อนหน้ายอดขายทั้ง iPhone และ Macbook ต่างก็ไม่ได้เป็นไปตามคาด


ในไตรมาสแรกของปี 2020 APPLE กลายเป็นบริษัทที่ได้ชื่อว่าสามารถสร้างรายได้และผลกำไรได้สูงที่สุด นั่นคือ $91.8 พันล้านดอลลาร์ และ $22.2 พันล้านดอลลาร์ ทั้งยังสามารถปิดผลงานสิ้นปีได้ด้วยผลกำไร $274.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 และตามด้วยผลกำไร $365.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021

2. การวิเคราะห์หุ้น APPLE


ราคา  ราคาหุ้น AAPL เรียลไทม์ ( ที่มา: MiTrade)    


   สำหรับการเลือกซื้อหุ้นสักตัวนั้นลำพังแค่ความชอบและอาศัยการทำความรู้จักหุ้นเพียงผิวเผินนั้นไม่พอ เพราะนั่นอาจทำให้เราถูกหลอกจากภาพลักษณ์ที่ดูดีได้ แต่การนำเครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นเข้ามาจับและประเมินความเป็นไปได้นั้นจะช่วยลดความผิดพลาดตรงนี้ลงไปได้ และเครื่องมือด้านการวิเคราะห์หุ้นที่เรานิยมใช้ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ นั่นคือ การวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน (Fundamental Analysis) และการวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) 


2.1 การวิเคราะห์เชิงพื้นฐาน (Fundamental Analysis) 

เป็นการพิจารณาพื้นฐานของบริษัทเพื่อให้เห็นถึงโครงสร้างรายได้ ความสามารถในการทำกำไร รวมถึงสถานะความมั่นคงทางการเงินของบริษัท ซึ่งสำหรับ APPLE นั้นมีจุดน่าสนใจสำหรับการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานหลายส่วน ได้แก่


1) การวิเคราะห์กิจการและโครงสร้างรายได้

การวิเคราะห์กิจการและโครงสร้างรายได้จะช่วยให้เราเห็นที่มาของรายได้จนสามารถคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของรายได้บริษัทต่อไปได้ในอนาคต สำหรับรายได้ของ APPLE เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดนับตั้งแต่ออกวางขาย iPhone ซึ่งทำให้ในปี 2008 ฉุดรายได้ของ APPLE ให้พุ่งทยานขึ้นจาก $37.4 พันล้านดอลลาร์ เป็น $65 พันล้านดอลลาร์ในปี 2010 หรือ 2 เท่าในเวลาเพียง 2 ปี จากนั้นเริ่มเปิดตัว iPad ในปี 2010, เปิดตัว Apple Watch และ Apple Pencil ในปี 2015 และยังเข้าสู่ตลาดหูฟังไร้สายด้วย AirPods ในปีต่อมา 


ปัจจุบันช่องทางรายได้ของ APPLE สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ iPhone, iPad, Mac, อุปกรณ์อื่น ๆ และบริการต่าง ๆ ซึ่งทั้ง 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ทำส่วนแบ่งรายได้ในไตรมาส 3/2021 ให้กับบริษัทเป็นสัดส่วน 48.6%, 9.0%, 10.1% 10.8% และ  21.5% ตามลำดับ


และทั้งปี 2021 (ปิดงบสิ้นปีในเดือนกันยาของทุกปี) APPLE ยังสามารถทำกำไรได้กว่า $365.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน และเป็นผลกำไรสูงที่สุดเท่าที่บริษัทเคยทำได้ อันเนื่องมาจากการตอบรับและยอดขาย iPhone 13 ที่เพิ่งเปิดตัวไปในเดือนกันยายนที่กลับมาดึงให้ APPLE กลับมาทวงอันดับสองจาก Xiaomi ในฐานะผู้ครองตลาดโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับสองรองจาก Samsung 


รายได้ของ APPLE หากคิดจากกลุ่มประเทศ APPLE จะมีสัดส่วนรายได้ที่มาจากอเมริกาสูงที่สุดคิดเป็นกว่า 45% ของรายได้ทั้งหมด ตามมาด้วย ยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเอเชียแปซิฟิกตามลำดับ ซึ่งแม้ในช่วง 3 – 4 ปีหลังมานี้รายได้ของ APPLE ในประเทศจีนจะมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แต่กลับเพิ่มขึ้นได้ในอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิกที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


2) การวิเคราะห์สัดส่วนทางการเงินและความแข้มแข็งของสถานะการเงิน

สำหรับการวิเคราะห์ตัวเลขและสัดส่วนการเงินจะทำให้เราได้เห็นภาพสถานะและความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และในอีกส่วนหนึ่งก็ยังสามารถใช้สัดส่วนเหล่านี้ประเมินมูลค่าหาความถูกแพงของราคาหุ้นที่เราจะเข้าซื้อได้อีกด้วย


ปัจจุบันหุ้น APPLE มีมูลค่าตามราคาตลาด $2.48 ล้านล้านดอลลาร์


-กำไรปี 2021 รายงานที่ $365.82 พันล้านดอลลาร์ เป็นสัดส่วนที่เติบโตสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีการเติบโตของรายได้ในไตรมาสล่าสุดเพิ่มขึ้นกว่า 62.20% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว


-ส่วนแบ่งรายได้ (Profit Margin) ปี 2021 ที่ 25.88% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง แสดงว่าในยอดขายที่ทำได้มีส่วนแบ่งรายได้เป็นสัดส่วนที่สูงพอสมควร


-เงินสด (Total Cash) APPLE มีกระแสเงินสดในมือ $62.64 พันล้านดอลาร์


-สินทรัพย์ (Asset) APPLE มีสินทรัพย์รวม $329 พันล้านดอลลาร์


-หนี้สินรวม (Total Debt) APPLE มีหนี้สินรวม $136.52 พันล้านดอลลาร์


-อัตราส่วนสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Ratio) 1.08 เป็นสัดส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งหมายความว่าในระยะสั้น APPLE มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินและไม่มีความเปราะบางทางการเงินในระยะสั้น


ที่ราคา $151.59 ต่อหุ้น APPLE เราสมารถประเมินมูลค่าหุ้น APPLE ได้แบบคร่าว ๆ ด้วยสัดส่วนทางการเงินจาก


-ราคาต่อกำไรสุทธิ (Price per Earning – PE) รายงานที่ 26.74 นั่นหมายความว่าการถือหุ้น APPLE 26.74 ปีจะทำให้นักลงทุนเริ่มคุ้มทุนและทำกำไรจากการถือหุ้นนี้ได้ ซึ่งนับเป็นมูลค่าที่ไม่สูงสำหรับหุ้นนวัตกรรมและเติบโตอย่าง APPLE


-กำไรต่อหุ้น (EPS – Earning per Share) รายงานที่ $5.61 หมายความว่าในการถือหุ้น APPLE หุ้น สามารถสร้างผลกำไรได้ $5.61 ดอลลาร์สหรัฐ


-ราคาต่อกำไรสุทธิเทียบการเติบโต (Price/Earning to Growht -PEG Ratio) เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีรายงานที่  2.04 ซึ่งสัดส่วนทางการเงินตัวนี้หมายความว่าความคุ้มค่าในการถือหุ้นจาก PE เมื่อเทียบกับการเติบโตของรายได้แล้วเพียงพอจะชดเชยความแพงของ PE นั้นได้หรือเปล่า ซึ่งแม้ค่า PE มีค่ามาก แต่ การเติบโตของรายได้สูงเช่นกัน ค่า PEG จะไม่สูง และยังคุ้มค่ากับการลงทุนอยู่


-อัตราเงินปันผล (Dividend Yield) รายงานที่ 0.59% นั่นหมายความว่าการถือหุ้น APPLE ด้วยเงิน $100 จะมีการจ่ายปันผลกลับมา $0.59 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งสำหรับหุ้น APPLE ราคา $151.59 ก็จะมีการจ่ายปันผลโดยประมาณต่อหุ้นราว $0.89 ดอลลาร์ต่อหุ้น

2.2 การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) 

เป็นการวิเคราะห์โดยการพิจารณาจากการเคลื่อนไหวของราคาเป็นหลัก เครื่องมือพื้นฐานที่นักวิเคราะห์เชิงเทคนิคจำเป็นต้องรู้จักและทำความคุ้นเคยเอาไว้ก็คงหนีไม่พ้นกราฟราคา ซึ่งแม้จะมีอยู่หลากหลายประเภท เช่น กราฟแท่งเทียน กราฟเส้น บาร์ชาร์ท ก็สามารถใช้ได้ทั้งหมดตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน


การวิเคราะห์เชิงเทคนิคนี้จะเป็นการใช้ข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตเพื่อประเมินและคาดการณ์การแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต โดยอาศัยการประเมินแรงซื้อแรงขายที่ก่อให้เกิดเป็นทิศทางราคาที่แสดงออกมาผ่านกราฟราคา ซึ่งมีวิธีการหลากหลายให้เลือกใช้เช่นกัน นั่นคือ


1) วิเคราะห์จากรูปแบบกราฟราคา (Price Pattern)

เป็นการใช้รูปแบบราคาที่มีการเรียงตัวแบบเป็นแบบแผน เพื่อพิจารณาและคาดการณ์แนวโน้มของราคาที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้สำหรับการวิเคราะห์ประเภทนี้คือกราฟแท่งเทียน โดยที่จะมีรูปแบบที่ใช้คาดการณ์การกลับตัวของราคาที่ใช้กราฟแท่งเทียน 1 แท่ง เช่น Morning Star/ Shooting Star, การใช้แท่งเทียน 3 แท่ง เช่น Three Black Crows, และใช้การเรียงตัวของกลุ่มแท่งเทียนเป็นรูปแบบราคา เช่น รูปแบบชายธง (Flag) ที่สามารถแสดงถึงการกลับตัวของราคาได้เช่นกัน


2) วิเคราะห์จากอินดิเคเตอร์ (Chart Indicator) 

เป็นการนำข้อมูลการซื้อขายในอดีตทั้งราคาปิด ปริมาณการซื้อขาย และระยะเวลามาคำนวณเป็นอินดิเคเตอร์หรือเครื่องชี้วัดประเภทต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกข้อมูลบางอย่างให้กับผู้วิเคราะห์ ตัวอินดิเคเตอร์ที่สามารถนำมาใช้นั้นแบ่งได้ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ นั่นคือ


-อินดิเคเตอร์บอกแนวโน้ม (Trend Indicator) เช่น Moving Average, ADX, MACD

-อินดิเคเตอร์โมเมนตัม (Momentum Indicator) เช่น RSI, Stochastic Oscillator

-อินดิเคเตอร์วัดความผันผวน (Volatility Indicator) เช่น ATR, Bollinger Band

-อินดิเคเตอร์วัดปริมาณการซื้อขาย (Volume Indicator) เช่น OBV


วิเคราะห์หุ้น Apple จากอินดิเคเตอร์ (Chart Indicator)


สำหรับกราฟราคา Apple สำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค เราอาจใช้รูปแบบของราคา (Price Pattern) จับได้ไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม จึงเป็นเพียงการทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อย ๆ (Higher High) ขณะที่ยกจุดต่ำขึ้นเรื่อย ๆ (Higher Low) อันเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้น (Bullish) เท่านั้น 


ในด้านของการใช้อินดิเคเตอร์เข้ามาพิจารณาร่วมกับกราฟราคาในระดับวันด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) 5, 10, 20, 200 ร่วมกับ RSI จะพบว่าแม้การปรับตัวขึ้นของราคาจะมีการปรับฐานบ้าง แต่ก็สามารถรีบาวน์กลับได้ทุกครั้งที่ราคาปรับลงมาถึงเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (สีแดง) และยังคงแนวโน้มเป็นขาขึ้นอยู่ ขณะที่ RSI แกว่งตัวในที่สูง แต่ยังไม่ได้เข้าเขตซื้อมากเกินไป (Overbought) อย่างไรก็ดี เนื่องจากทิศทางของกราฟราคามีการทำจุดสูงสุดใหม่ตลอด ขณะที่ RSI ไม่ได้ยืนยันในทิศทางเดียวกัน โซนนี้จึงเป็นโซนที่ควรระวังในการซื้อเพราะอาจเกิด RSI Bearish Divergence ได้

3. แนวทางในการซื้อหุ้น Apple

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อหุ้น Apple เรายังมีวิธีซื้อขายหุ้นตัวนี้หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการและข้อจำกัดที่หลากหลายของนักลงทุนแต่ละคน ซึ่งเราสามารถแนวทางในการซื้อหุ้น Apple ออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่


1) การซื้อแบบไม่ใช้เลเวอเรจ 

เป็นการซื้อขายแบบวางเงินเต็มจำนวน ทำให้มีโอกาสทำกำไรเท่ากับราคาหุ้น Apple ที่เปลี่ยนแปลงไปแบบ 1:1 ซึ่งแม้วิธีนี้จะทำให้โอกาสได้กำไรเท่ากับปกติหรือไม่มากนัก แต่ก็เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการซื้อขายวิธีอื่น ๆ เนื่องจากจะมีเพียงความเสี่ยงด้านราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น การซื้อขายแบบไม่ใช้เลเวอเรจนี้ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ


การซื้อหุ้น Apple จริง ๆ ในตลาดหุ้นสหรัฐ วิธีนี้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหุ้นจริง ๆ มีสิทธิในความเป็นเจ้าของ มีสิทธิได้รับปันผลและได้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่ที่มีขั้นตอนการซื้อขายซับซ้อนและยุ่งยาก ทั้งยังไม่เหมาะกับผู้มีทุนทรัพย์สำหรับการลงทุนน้อย เพราะแม้แต่โบรกเกอร์ไทยที่ให้บริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศก็ยังมีการกำหนดขั้นต่ำสำหรับการซื้อขาย หรือมีการคิดค่าธรรมเนียมสูงจนทำให้การซื้อขายจำนวนน้อยนั้นไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน


การซื้อหุ้น Apple ด้วย CFD หรือ Contract for Difference เป็นการซื้อขายตราสารที่อ้างอิงราคาอยู่กับหุ้น Apple ด้วยเลเวอเรจ 1 เท่า (คือไม่ใช้เลเวอเรจ) ทำให้นักลงทุนไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้นจริง ๆ แต่ก็มีโอกาสทำกำไรบนราคาหุ้น Apple ได้ไม่ต่างกับการถือหุ้น Apple ในวิธีแรก ซึ่งแม้นักลงทุนจะไม่ได้เป็นเจ้าของหุ้น แต่วิธีนี้ก็มีต้นทุนในการซื้อขายต่ำ สามารถเปิดบัญชีซื้อขายได้ง่าย และรองรับการลงทุนที่เริ่มต้นด้วยทุนทรัพย์ไม่มากได้ดี (มีเพียงบางโบรกเกอร์ CFD ที่อนุญาตให้ปรับค่าเลเวอเรจให้เป็น 1 ได้)


2) การซื้อแบบใช้เลเวอเรจ 

เป็นการซื้อขายหุ้นด้วยตราสารอนุพันเช่น สัญญาซื้อขายส่วนต่าง CFD ที่อนุญาตให้นักลงทุนสามารถนำเลเวอเรจมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไรได้ เช่น สำหรับการใช้ลเวอเรจ 1:5 นั่นหมายความว่าในจำนวนเงินลงทุนเท่ากัน การใช้เลเวอเรจจะทำให้นักลงทุนได้กำไรเพิ่มเป็น 5 เท่าของกำไรปกติที่ได้จากการซื้อขาย Apple ด้วยเงินเต็มจำนวน ซึ่งแม้วิธีนี้จะไม่ได้ทำให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของหุ้นและมีความเสี่ยงสูง แต่ก็สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไร ทั้งยังมีต้นทุนการซื้อขายต่ำ เปิดบัญชีได้ง่าย จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ในการลงทุนมาพอสมควร


5. วิธีลดความเสี่ยงในการซื้อหุ้น Apple

สำหรับความเสี่ยงในการซื้อขายหุ้น Apple ความเสี่ยงที่นักลงทุนจะต้องเผชิญในตลาดแน่ ๆ ก็คือความเสี่ยงในเชิงระบบที่หุ้นทุกตัวในตลาดต้องเผชิญเหมือนกัน, ความเสี่ยงด้านราคาที่เป็นการเปลี่ยนแปลงราคาเฉพาะตัวของหุ้นแต่ละตัว, และความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือเช่นเลเวอเรจ ซึ่งหากนักลงทุนต้องการปรับลดความเสี่ยงเหล่านี้ลง จำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้โดย


- กระจายเงินลงทุนไปยังหุ้นหลาย ๆ ตัว เพราะการลงทุนในหุ้นเพียงตัวเดียวเป็นเหมือนการวางไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว ที่หากตะกร้านั้นตกหรือเกิดอุบัติเหตุ เราก็จะสูญเสียไข่ทั้งหมดไปได้ แต่การกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังหุ้นหลาย ๆ ตัวจะเป็นเหมือนการกระจายไข่ลงไปในตะกร้าหลาย ๆ ใบ ที่หากใบหนึ่งเกิดอุบัติเหตุทำให้สูญเสียไข่ไป เราก็ยังมีไข่ในตะกร้าใบอื่น ๆ อยู่ ดังนั้นแม้หุ้น Apple จะมีโปรไฟล์ที่ดีมากและน่าลงทุนแค่ไหนก็ไม่ควรทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดไว้ในหุ้นตัวเดียว


- เลือกหุ้นหรือสินทรัพย์ในพอร์ตที่ไม่มีความสัมพันธ์ของราคาแบบมีนัยสำคัญต่อกัน เพราะการลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาแบบมีนัยสำคัญต่อกันไม่มีผลในการลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน เช่น การเลือกซื้อหุ้นหลายตัว แต่ทุกตัวเป็นหุ้นกลุ่มน้ำมันและพลังงาน ก็อาจเกิดความที่เพิ่มขึ้นในพอร์ตการลงทุนได้ ดังนั้นแม้จะมีการกระจายพอร์ตก็ควรเลือกหุ้นที่มี Corelation ต่อกันต่ำ ซึ่งจะสามารถช่วยลดความผันผวนของมูลค่าเงินในพอร์ตการลงทุน และช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับพอร์ตการลงทุนได้


- ใช้เลเวอเรจต่ำ แม้การใช้เลเวอเรจจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำกำไร แต่การใช้เลเวอเรจที่สูงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับการลงทุนที่นอกจากจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านตลาดและราคาแล้ว ก็ยังต้องเผชิญความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการเงินลงทุน (Money Management) และความเสี่ยงของการถูกบังคับขาย (Force Sell) ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงทำได้โดยการปรับค่าเลเวอเรจให้เหมาะกับความผันผวนของราคาและตลาด และหากปรับให้ค่าเลเวอเรจเป็น 1 ก็จะขจัดความเสี่ยงของการใช้เลเวอเรจออกไปได้ทั้งหมด


Ad

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Mitrade
มุมมองการลงทุนเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลทางด้านการเงินภายใต้ Mitrade ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงินที่สมบูรณ์ สภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ ข่าวที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึก
บทความยอดนิยม
อ่านมากที่สุด
ข่าวล่าสุด
  • ต้นฉบับ
  • กลยุทธ์การเทรด
  • อ่านมากที่สุด
    ข่าวล่าสุด
ไม่พบข้อมูล
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย