Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    วิธีดูกราฟหุ้นสำหรับมือใหม่

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 27 ก.ค. 2566 09:19 น.
    Lloyd Luo

    เป็นความจริงที่การลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีวิธีการที่หลากหลายมาก ซึ่งแต่ละวิธีการนั้นก็เรียกร้องเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์แตกต่างกัน เช่น หากคุณต้องการลงทุนระยะยาวแบบเน้นคุณค่า สิ่งที่จะเป็นเครื่องมืออย่างดีสำหรับการวิเคราะห์ก็คืองบการเงิน แต่หากคุณต้องการเทรดระยะสั้นหรือเทรดตามโมเมนตัม กราฟหุ้น ก็คือเครื่องมือที่ขาดไม่ได้ จนกล่าวกันว่าหากนักเทรดไม่ดูกราฟก็เหมือนการลงสนามรบแบบไม่ติดอาวุธเลยทีเดียว


    ถึงจุดนี้หลายท่านอาจเริ่มสงสัยว่า กราฟหุ้นสำคัญขนาดนั้นได้อย่างไร? สำหรับมือใหม่จะมีวิธีดูกราฟหุ้นแบบไหนได้บ้าง? และหากต้องการเริ่มต้นดูกราฟหุ้นจะมีสิ่งที่ต้องรู้เป็นเบื้องต้นอย่างไร คราวนี้เราจะชวนคุยถึงเรื่องนี้กัน

    1. องค์ประกอบของกราฟหุ้น

    ก่อนที่เราจะไปถึงวิธีดูกราฟหุ้น สิ่งที่จำเป็นที่สุดอย่างหนึ่งก็คือการทำความรู้จักฟังก์ชั่นต่างๆ บนหน้าต่างกราฟหุ้นว่ามีเครื่องมืออะไรให้ใช้งานได้บ้าง หรือมีวิธีปรับแต่งกราฟอย่างไรให้เข้ากับสไตล์การเทรดของเรา รวมถึงการแสดงค่าต่าง ๆ บนหน้าจอนี้สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง


    รูปภาพที่แสดง ฟังก์ชั่นต่างๆ บนหน้าต่างกราฟหุ้น

    โดยปกติแล้วกราฟหุ้นจะมีหน้าตาไม่แตกต่างกันมากนัก นั่นคือจะประกอบด้วย


    ด้านซ้ายบน (กรอบสีฟ้า) จะบอกชื่อหุ้น และ กรอบถัดมาทางขวาจะบอกการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเมื่อเทียบกับราคาปิดของเมื่อวาน

     

    ถัดลงมาในกรอบสีชมพู จะเป็นแถบเครื่องมือปรับแต่งกราฟราคา ตั้งแต่การปรับ Time frame เป็น 1M, 5M, 15M, 30M, 1H, 2H, D, W และ M ถัดมาเป็นการปรับแต่งรูปแลลการแสดงผล ซึ่งมีให้เลือกแบบบาร์, กราฟแท่งเทียน, หรือกราฟเส้น ฯลฯ ถัดไปอีกจะเป็นการปรับแต่งการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ว่าต้องการเพิ่มอินดิเคเตอร์ตัวใดลงในกราฟบ้าง


    ส่วนกรอบในบรรทัดที่ 3 เป็นการแสดงข้อมูลกราฟที่กำลังเปิดอยู่ โดยกรอบสีฟ้ากรอบแรกจะแสดงชื่อย่อของหุ้นและ Time frame ที่กำลังแสดงผล และในกรอบถัดไปจะเป็นการแสดงข้อมูลใน Time frame นั้น ๆ ว่าทำราคาเปิด/ปิด/สูงสุด/ต่ำสุด เอาไว้ที่เท่าไหร่


    ด้านซ้ายสุดในกรอบสีม่วงจะเป็นฟังก์ชั่นการเพิ่มวัตถุลงในกราฟ เช่น การเพิ่มเส้น เพิ่มเส้นคู่ขนาน เพิ่มรูปวาดหรือเพิ่มตัวอักษร เป็นตัวช่วยในการวัดและวิเคราะห์กราฟอีกทีหนึ่ง


    และในพื้นที่ใหญ่สุดของหน้าจอจะแสดงรูปแบบกราฟราคา โดยที่แกนตั้งแสดงราคา และแกนนอนแสดงช่วงเวลา ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่ที่นักเทรดมักให้ความสำคัญมากที่สุด


    หลังจากที่เราทำความรู้จักกับหน้าตาของกราฟหุ้นกันมาแล้ว พาร์ทต่อไปเราจะเริ่มนำองค์ประกอบเหล่านี้มาปรับแต่งกราฟหุ้นให้สามารถนำไปใช้ในการคาดการณ์แนวโน้ม ดูแนวรับแนวต้าน และเพิ่มอินดิเคเตอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจกัน

    2. วิธีดูกราฟหุ้นด้วยการคาดการณ์แนวโน้ม

    การดูแนวโน้มนับเป็นสิ่งแรกที่นักเทรดควรรู้ก่อนที่จะเริ่มเทรดหุ้นตัวใดก็ตาม อย่างที่กล่าวเอาไว้ว่า ‘Trend is King’ การรู้เทรนราคาจะทำให้นักเทรดสามารถ กำหนดกลยุทธ์ การเทรดที่ได้เปรียบที่สุดได้ และการคาดการณ์แนวโน้มราคาก็ทำได้ด้วยวิธีดูกราฟหุ้นนี้เอง ซึ่งแนวโน้มหุ้นที่เราควรรู้จักมีด้วยกัน 3 แบบคือ


    1) แนวโน้มขาขึ้น (Up Trend) 

    คอนเซปต์ของแนวโน้มนี้คือราคาหุ้นจะทำจุดสูงสุดใหม่เสมอ (Higher High) และทำจุดต่ำยกสูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher Low) ทำให้เราเห็นรูปแบบราคาแกว่งตัวขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับรูปแบบตลาดนี้คือ การซื้อ หรือ เปิดสถานะ Long


    2) แนวโน้มขาลง (Down Trend) 

    คอนเซปต์ของหุ้นที่มีแนวโน้มเป็นขาลงคือจะทำจุดต่ำสุดใหม่เสมอ (Lower Low) และมีจุดสูงสุดต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower High) ทำให้เราเห็นรูปแบบราคาหุ้นแบบนี้จะแกว่งตัวลงเรื่อย ๆ และกลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ การขาย หรือ เปิดสถานะ Short


    3) ไม่มีแนวโน้ม (Sideway) 

    แนวโน้มราคาหุ้นแบบนี้คือไม่มีการทำจุดสูงสุดใหม่หรือจุดต่ำสุดใหม่ แต่เป็นการแกว่งในกรอบแบบไม่สามารถระบุแนวโน้มได้ ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะกับแนวโน้มนี้คือการซื้อขายในกรอบราคา


    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่าง แนวโน้มขาลง แนวโน้มราคาขาขึ้นและไม่มีขาลง


    สำหรับการดูแนวโน้มเราสามารถใช้วิธีดูกราฟหุ้นแบบง่าย ๆ ด้วยการปรับรูปแบบการแสดงผลของกราฟให้เป็นแบบเส้น จะช่วยให้เห็นแนวโน้มของราคาได้ชัดเจนขึ้น แต่การคาดการณ์แนวโน้มก็ทำให้นักเทรดเห็นหน้าเทรดหรือกำหนดกลยุทธ์ได้เท่านั้น โดยที่มองไม่เห็นจุดซื้อจุดขาย ซึ่งในส่วนนี้ยังมีวิธีดูกราฟที่ให้ผลแม่นยำได้อีกคือวิธีดูกราฟเพื่อให้เห็นแนวรับแนวต้านสำหรับเข้าทำรายการ

    3. วิธีดูกราฟหุ้นด้วยการดูแนวรับแนวต้าน

    การนำกราฟหุ้นมาประยุกต์ใช้เพื่อดูแนวรับแนวต้านเป็นอีกหนึ่งการใช้งานที่สำคัญสำหรับวิธีดูกราฟหุ้นเลยก็ว่าได้ เนื่องจากแนวรับและแนวต้านเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการเข้าทำรายการ ทำให้การกำหนดจุดเข้าซื้อขายเป็นไปอย่างแม่นยำมากกว่าการดูแค่เพียงแนวโน้มอย่างเดียว 


    - แนวต้าน (Resistance) หมายถึง จุดที่เมื่อราคาวิ่งขึ้นมาชนแล้วมีโอกาสย่อตัว และในบางครั้งก็มีโอกาสเป็นจุดกลับตัวในระยะสั้นได้ด้วย จึงเป็นจุดที่ควรขาย


    - แนวรับ (Support) หมายถึง จุดที่เมื่อราคาตกลงมาชนแล้วมีโอกาสรีบาวน์ และในหลายครั้งก็มีโอกาสเป็นจุดกลับตัวได้เช่นกัน ดังนั้นจุดนี้จึงเป็นจุดที่ดีสำหรับการซื้อ


    เราสามารถประยุกต์ใช้กราฟหุ้นเพื่อดูแนวรับแนวต้านได้โดย การนำวัตถุบนกราฟอย่าง เส้นแนวโน้ม หรือ เส้นคู่ขนาน เข้ามาใช้ เช่นการหาแนวรับแนวต้านของหุ้นที่ไม่มีแนวโน้มและเคลื่อนที่ในกรอบ ซึ่งมักย่อตัวเมื่อชนแนวต้าน และรีบาวน์เมื่อชนแนวรับ จึงเป็นจุดที่ดีสำหรับการเทรดในระยะสั้นด้วยวิธีดูกราฟหุ้นอย่างง่าย

    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่างของแนวต้านและแนวรับ


    หรือนักเทรดอาจใช้ เส้นคู่ขนานสำหรับการตีช่องแนวโน้ม โดยกะประมาณแนวรับจากแนวราคาที่มักลงมาชนแล้วรีบาวน์กลับ (เส้นล่าง) และแนวต้านจากแนวราคาที่เมื่อชนแล้วมักมีการย่อตัว (เส้นบน) ซึ่งจะทำให้เห็นแนวรับและแนวต้านของหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถกำหนดจุดเข้าซื้อ-ขายได้อย่างเหมาะสมแม่นยำมากขึ้นได้


    รูปภาพที่แสดง กำหนดจุดเข้าซื้อ-ขาย


    4. วิธีดูกราฟหุ้นด้วยการเพิ่มอินดิเคเตอร์

    หลังจากที่เราใช้วิธีดูกราฟหุ้นเพื่อหาแนวโน้มเพื่อกำหนดกลยุทธ์ และวิธีดูกราฟหุ้นด้วยการดูแนวรับแนวต้านเพื่อกำหนดจุดเข้าซื้อขายแล้ว หน้าจอแสดงผลกราฟหุ้นยังสามารถเลือกนำอินดิเคเตอร์เข้ามาติดตั้งเพื่อเข้ามาช่วยยืนยันการตัดสินใจเข้าซื้อขายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เช่น 


    - การเพิ่มอินดิเคเตอร์ MA หรือ Moving Average ที่เป็นอินดิเคเตอร์สายแนวโน้ม ที่ทำให้นอกจากเราไม่ต้องมานั่งดูจุดสูงสุดต่ำสุดสำหรับการคาดการณ์แนวโน้ม เรายังสามารถใช้อินดิเคเตอร์ตัวนี้สร้างระบบบอกจุดเข้าทำการซื้อขายหุ้นได้ด้วย ซึ่งวิธีดูกราฟหุ้นแบบนี้ทำได้โดยคลิกเลือกเพิ่มอินดิเคเตอร์ เลื่อนหาหรือกรอกข้อความค้นหาอินดิเคเตอร์ Moving Average หลังจากนั้นก็คลิกเพิ่มอินดิเคเตอร์ตัวนี้เข้ามาในกราฟ


    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่าง:เพิ่มอินดิเคเตอร์ MA หรือ Moving Average ได้อย่างไร


    หลังจากอินดิเคเตอร์ MA ถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว ก็ถึงเวลาปรับแต่งค่าของอินดิเคเตอร์เพื่อให้สามารถนำมาบ่งชี้ค่าได้ เช่น การปรับค่า MA = 10 ใน Time freame รายวัน หมายถึงค่าเฉลี่ย 10 วันซึ่งเป็นตัวบอกระดับราคาเฉลี่ยในระยะสั้น แต่หากปรับค่า MA = 200 ก็หมายถึงค่าเฉลี่ย 200 วันที่บอกระดับราคาเฉลี่ยในระยะยาว และหากค่าเฉลี่ยระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว นั่นหมายถึงแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นอยู่ต่ำกว่าระยะยาว นั่นหมายถึงแนวโน้มราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาลง เป็นต้น



    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่าง:ปรับค่าอินเตอร์อินดิเคเตอร์ได้อย่างไร


    รูปภาพที่แสดง แนวโน้มขาลงและแนวโน้มราคาขาขึ้น


    - การเพิ่มอินดิเคเตอร์ RSI หรือ Relative Strength Index เป็นอินดิเคเตอร์ในกลุ่มโมเมนตัมที่ช่วยบอกจุด Overbought หรือจุดที่มีการซื้อมากเกินไป และจุด Oversold ที่มีการขายมากเกินไป ซึ่งบางจุดอาจกลายเป็นสัญญาณขัดแย้งที่เป็นจุดกลับตัวของราคาในแนวโน้มนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งวิธีดูกราฟหุ้นแบบนี้ทำได้โดยคลิกเลือกเพิ่มอินดิเคเตอร์ เลื่อนหาหรือกรอกข้อความค้นหาอินดิเคเตอร์ Relative Strength Index หลังจากนั้นก็คลิกเพิ่มอินดิเคเตอร์ตัวนี้เข้ามาในกราฟ


    รูปภาพที่แสดง อินดิเคเตอร์ :Relative Strength Index


    เมื่อ RSI ถูกเพิ่มลงในกราฟ จะมีการนำราคาเปิดและปิดของแต่ละแท่งเทียนมาเข้าสูตรคำนวณเป็นค่า RSI ออกมา และเรามีวิธีดูกราฟหุ้นแบบนี้โดยดูจาก


    ถ้า RSI มากกว่า 50 หมายถึงหุ้นยังเป็นขาขึ้น และหาก RSI ยิ่งชันขึ้นเรื่อย ๆ ก็ยิ่งยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาขึ้น

    ถ้า RSI มากกว่า 50 หมายถึงหุ้นยังเป็นขาขึ้น แต่หากเริ่มอ่อนแรงลงนั่นหมายถึงแนวโน้มเริ่มอ่อนแรงลง

    ถ้า RSI น้อยกว่า 50 หมายถึงแนวโน้มราคาเป็นขาลง ยิ่งกดลงมากเท่าไหร่ยิ่งหมายถึงการลงมีความแข็งแกร่งมากเท่านั้น

    ถ้า RSI น้อยกว่า 50 หมายถึงแนวโน้มราคาเป็นขาลง แต่หากเริ่มหักหัวขึ้นนั่นหมายถึงแนวโน้มการลงเริ่มอ่อนแรงลง


    นอกจากนี้เรายังสามารถนำ RSI มาใช้ควบคู่กับการดูจุดเข้าซื้อด้วยการพิจารณาจุด Overbought และ Oversold


    - เมื่อราคาปรับตัวลงและ RSI อยู่ในเขต Oversold นั่นหมายถึงมีการขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะรีบาวน์ จุดนี้จึงควรเป็นจุดที่นักเทรดพิจารณาซื้อ หรืออย่างน้อยก็ไม่ขาย


    - เมื่อราคาปรับตัวขึ้นและ RSI เข้าเขต Overbought นั่นหมายถึงภาวะที่มีการซื้อมากเกินไป และราคามีแนวโน้มดึงตัวกลับ จุดนี้จึงเป็นจุดที่นักเทรดควรพิจารณาขาย หรืออย่างน้อยก็ไม่ซื้อ


    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่างของ overbought และ oversold


    จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นเราจะพบว่ามีวิธีดูกราฟหุ้นหลากหลายวิธีมาก ทั้งวิธีดูกราฟหุ้นแบบดูแนวโน้ม วิธีดูกราฟหุ้นแบบดูแนวรับแนวต้าน และการดูกราฟหุ้นประกอบกับการใส่อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ เข้าไปเพื่อช่วยให้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งแม้การดูกราฟแต่ละวิธีจะมีความแตกต่างกัน แต่การใช้วิธีดูกราฟหุ้นหลาย ๆ แบบจะช่วยสร้างระบบเทรดและช่วยให้นักเทรดจับจังหวะและมองภาพรวมของตลาดได้ดีขึ้น

    ทั้งนี้วิธีดูกราฟหุ้นแต่ละวิธีนั้นดูเหมือนไม่ยาก แต่ยังคงมีรายละเอียดที่นักเทรดจำเป็นต้องเรียนรู้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปพร้อมกับการลงมือเทรดจริง ๆ และการลองเทรดจริงลงสนามจริงนี้จะช่วยให้นักเทรดมือใหม่ใช่เครื่องมือต่าง ๆ ในกราฟได้แคล่วคล่องมากขึ้น และเชี่ยวชาญในการใช้และปรับแต่งกราฟหุ้นขึ้นได้เอง จนกลายเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่ช่วยนักเทรดมือใหม่สำหรับการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพในที่สุด


    แพลตฟอร์ม Mitrade มีอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายสำหรับผู้เริ่มต้นในการฝึกฝน ฝึกฝนการเทรดเงินเสมือนจริงฟรี $50,000 คุณสามารถสมัครใช้งานได้ง่าย ๆ ผ่านทางหน้าเว็ปไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ทดลองเทรดโดยปราศจากความเสี่ยงและทำคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มของ Mitrade


    illustration พิเศษ ลูกค้าใหม่! รับโบนัส $100 ดอลลาร์กำกับดูแลโดย ASIC/CIMA/FSC ฝากถอนเงินผ่านธนาคารไทย ค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ฟรีเงินเสมือนจริง $50,000 ดอลล่าร์

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง