CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Web3.0 คืออะไร? มีความสำคัญต่อวงการ Blockchain มากแค่ไหน?

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 01 ก.ย. 2566 06:40 น.

    อินเทอร์เน็ต ถือว่าเป็นปัจจัยหลักสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันของคนทั้งโลกเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะในเรื่องของการติดสื่อสารกันแบบไร้พรมแดน การพัฒนาธุรกิจเข้ามาในแพลตฟอร์มออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย ตลอดจนถึงในเรื่องของการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล เป็นต้น แต่ทุกคนทราบไหมว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เราใช้งานอยู่ในทุกวันนี้คือ Web 2.0 และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่การใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตด้วย Web3.0 ดังนั้นเนื้อหาในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาศึกษาว่า Web3.0 คืออะไร มีความน่าสนใจมากกว่าตอนนี้แค่ไหน ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้เลย

    Web3.0 คืออะไร ที่มาและความสำคัญของ Web3.0

    จากที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าระบบอินเทอร์เน็ตที่เรากำลังใช้งานในปัจจุบันนี้รูปแบบ Web2.0 และในอนาคตอันใกล้จะมีใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ Web3.0 อย่างเต็มตัว ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักเกี่ยวกับเว็บ3.0 เรามาศึกษาความเป็นมาของการพัฒนา “World Wide Web” ตั้งแต่ยุคแรกมาจนถึงยุคปัจจุบันและกำลังจะพัฒนาในอนาคตว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร โดยมีรายละเอียดดังนี้


    WEB 1.0 vs WEB 2.0 vs WEB 3.0


    1. Web1.0 คืออะไร

    Web1.0 ถูกสร้างขึ้นมาโดย “Tim Berners-Lee“ นักวิศกรคอมพิวเตอร์ชาวออังกฤษ เป็นผู้คิดค้นการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาในช่วงปี 1990 ด้วยแนวคิดที่ต้องการจะสร้าง “Hypertext” ขึ้นมา หรือ ระบบการแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นที่มาของ World Wide Web ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ โดยเขาได้ทำการออกแบบเทคโนโลยีที่เป็นหัวใจหลัก 3 อย่าง ที่ถือว่าเป็นรากฐานของการสร้างเว็บไซต์ นั่นก็คือ HTML, URL และ HTTP


    สำหรับ Web1.0 จะเป็นเว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) กล่าวคือ ผู้สร้างเว็บไซต์ จะเป็นบุคคลที่ทำการเผยแพร่เนื้อหาลงสู่อินเทอร์เน็ตได้เพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์มีสิทธิ์เพียงแค่อ่านเนื้อหา ไม่สามารถทำการตอบโต้ใดๆได้ ด้วยจุดบกพร่องตรงนี้จึงทำให้เกิดพัฒนาอินเทอร์เน็ตมาเป็น Web2.0 ขึ้นมานั่นเอง


    2. Web2.0 คืออะไร

    สำหรับ Web2.0 ก็เป็นการพัฒนาต่อจาก Web1.0 โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2005 จนมาถึงปัจจุบัน โดยรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของ “Socail Network” เลยก็ว่าได้ เนื่องจากว่าผู้ใช้งานทุกคนสามารถทำการนำเสนอข่าวสารและแชร์ข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีการอัปเดตข้อมูลตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้เข้าชมหรือผู้อ่านสามารถทำการเสนอความคิดเห็นและสามารถรับสารได้ง่ายขึ้นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Intragram, Youtube เป็นต้น


    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการใช้งาน Web2.0 นั่นก็คือ การสื่อสารกันแบบไร้พรมแดนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น และการสร้างแพลตฟอร์ม E-commerce ขึ้นมาเพื่อให้ทำการซื้อ-ขายกันได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเดินทางไปห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึงในเรื่องของการชำระเงินและการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำการโอนได้ในประเทศและต่างประเทศโดยผ่านแอปพลิเคชั่น


    แม้ว่า Web2.0 จะฟังดูมีข้อดีหลายประการก็จริง แต่ก็ยังมีปัญหาจุดโหว่ใหญ่ คือ เรื่องของความปลอดภัยในเรื่องส่วนของการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนตัว ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเป็นมีการพัฒนามาสู่ Web3.0 ที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้นี่เอง


    3. Web3.0 คืออะไร

    Web3.0 คือ เครือข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 3 ที่มีการมุ่งเน้นไปในเรื่องของการเชื่อมต่อข้อมูลเป็นหลัก โดยมีการพัฒนาต่อจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 1 และ 2 ที่ยังมีปัญหาในบางจุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเก็บข้อมูล ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่รวดเร็วขึ้น ระบบมีความเสถียรภาพมากขึ้นกว่ารุ่นก่อน ตลอดจนถึงของความปลอดภัยในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งาน เป็นต้น


    สำหรับ Web3.0 หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้ใช้งานเป็นทั้งผู้อ่านผู้เขียนและเป็นเจ้าของนั่นเอง ทั้งนี้บริการอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 3 ยังให้บริการในส่วนของเว็บไซต์แอพพลิเคชั่นที่มีการ Setting ด้วยระบบ AI ตลอดจนถึงแอพพลิเคชั่นแบบ (P2P) เช่นเครือข่าย Blockchain เพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความเร็ว การเข้าถึงการใช้งานได้อย่างสะดวก


    ทั้งนี้ Web3.0 ก็จะมีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารแบบกระจายศูนย์ ภายใต้การนำเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาพัฒนาร่วมด้วย เช่น Machine Learning, Big Data หรือ Artificial Intelligence เป็นต้น โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยทำให้อินเทอร์เน็ตสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพในการประมวลภาพได้อย่างชัดเจน


    WEB 1.0 vs WEB 2.0 vs WEB 3.0


    ขอขอบคุณภาพจาก newplayerjino.com


    เทคโนโลยีการทำงานของ Web3.0 มีอะไรบ้าง

    สำหรับการทำงาน Web3.0 นั้นมีการขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่สี่ชั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ 


    1. Edge Computing 

    Edge Computing คือ Web3.0 จะมีการประมวลผลในรูปแบบของ Edge ที่เป็นกระบวนการในการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลมาใกล้เคียงอุปกรณ์ที่สร้างข้อมูลนั้นได้ตามปกติ โดยรูปแบบการทำงานดังกล่าวจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาความซับซ้อนและขนาดของข้อมูลให้มีการแสดงผลอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผลักดันให้มีการแสดงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ที่เร็วกว่าเครือข่าย Web2.0 ที่เรากำลังใช้งานในปัจจุบัน


    2. Decentralized Data Network

    Decentralized Data Network คือ จะเป็นเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายทุกคนนั้นสามารถเป็นเจ้าของข้อมูลของตนเองบนเว็บ 3.0 ได้อย่างเสรี เนื่องจากข้อมูลมีการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นแหล่งรวมข้อมูลที่มีความหลากหลาย โดยผู้งานสามารถทำการขายหรือแบ่งปันข้อมูลของตนได้โดยไม่สูญเสียความเป็นเจ้าของนั่นเอง


    3. Artificial Intelligence and Machine Learning

    Artificial Intelligence and Machine Learning คือ เทคโนโลยีดังกล่าว จะทำให้เกิดการพัฒนาในเรื่องของการประมวลผลของอินเทอรืเน็ตที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ การนำเทคโนโลยีมาใช้งานจะช่วยลดการทำงานของผู้คนนั่นเอง 


    4. Blockchain 

    Blockchain เป็นเทคโนโลยีการกระจายอำนาจที่ใช้สัญญาอัจฉริยะในการทำธุรกรรม สัญญาอัจฉริยะเหล่านี้กำหนดความหมายของแอปพลิเคชัน ด้วยจุดประสงค์หลักของ Web 3.0 เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันบล็อคเชนจะต้องใช้เครื่องสถานะที่ใช้ร่วมกัน


    คุณสมบัติของ Web 3.0

    แม้ว่า Web3.0 ในทุกวันนี้ยังไม่มีการใช้งานอย่างเป็นทางการ แต่ก็ประกอบไปด้วยคุณสมบัติเด่นๆ ได้แก่ Ubiquity, Decentralization, Artificial Intelligence, และ Semantic web interactivity เป็นต้น เรามาดูว่าแต่ละข้อนั้นมีความน่าสนใจอย่างไร ไปพร้อมๆกันเลย


    1. Ubiquity 

    Ubiquity หมายถึง การปรากฏทุกหนทุกแห่ง โดยคุณสมบัติข้อนี้ดูเหมือนจะมีความคล้ายกับ Web2.0 ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่นการอัปโหลดรูปภาพหรือข้อความต่างๆลงใน Socail Media อย่าง Instragram ได้ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม Instragram ก็จะสามารถเข้าไปเนื้อหานั้นๆ ได้ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนไหน


    แต่จุดที่ทำให้ Web3.0 ต่างจาก Web2.0 ในคุณสมบัติข้อนี้ก็คือ Web3.0 มีแนวคิดที่ว่าอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้ทุกเวลา และสามารถรับรู้ข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใดๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ หรือ สมาร์ทโฟน เนื่องจากว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยี iot (Internet of Things) ขึ้นมา เพื่อที่จะนำไปทำการต่อยอดไป Smart device รูปแบบใหม่ๆ ให้พวกเราได้ชมกันในอนาคต


    2. Decentralization

    ใน Web 3.0 นำเสนออินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง โดยที่การเชื่อมต่อจะขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Peer to Peer อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากส่วนกลางหรือใช้บริการตั้งกลางเพื่อตอบโต้หรือสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ การสร้างอิสระเสรีภาพในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตนั่นเอง


    3. Artificial Intelligence

    คุณสมบัติในข้อนี้ หมายถึง การนำเทคโนโลยีทางด้าน AI เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอ่าน การแปลความหมายจากเนื้อหา ตลอดจนถึงการแปลความหมายจากความซับซ้อนที่ได้จากป้อนชุดข้อมูลเข้าไปในระบบ โดยเทคโนโลยีตัวนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับความคิดที่เกิดจากสมองมนุษย์อย่างชาญฉลาด


    โดยการผลักการพัฒนาเทคโนโลยี AI ใน Web3.0 ก็คือต้องการนำเสนอให้ผู้คนได้รับสารอย่างแท้จริงแบบ 100% 


    4. Semantic web interactivity

    Semantic ก็คือ หมายถึง "เกี่ยวข้องกับความหมายในภาษาหรือตรรกะ" Semantic Web ปรับปรุงความสามารถของเทคโนโลยีเว็บในการสร้าง แบ่งปัน และเชื่อมต่อเนื้อหาผ่านการค้นหาและการวิเคราะห์โดยการทำความเข้าใจความหมายของภาษานอกเหนือจากคำหลักง่ายๆ


    เนื่องจากว่าเว็บไซต์ในยุค 2.0 ในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานเน้นการอ่านเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความเข้าใจในเครื่องมือค้นหามากขึ้น ดังนั้น Web 3.0 จึงได้มีการนำแนวคิดของ Semantic Web มาใช้ เพื่อที่จะยกระดับความสามารถในการอ่าน ความคิดสร้างสรรค์ และการโต้ตอบไปอีกระดับหนึ่ง ภายใต้ความสามารถในการค้นหาผ่านแพลตฟอร์มให้ต่างจากยุคนี้นั่นเอง 


    ข้อดีและข้อเสียของ Web3.0

    การที่โลกของเรามีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมา ก็เปรียบเสมือนเป็นดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นก่อนที่เราจะเข้าสู่ยุค Web3.0 มาดูข้อดีและข้อเสียของ Web3.0 กันว่ามีอะไรบ้าง 


    ◆ ข้อดีของ Web3.0 

    • เกิดความปลอดภัยขึ้นกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ไม่มีการโจมตี หรือการถูกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานนั่นเอง


    • เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในทุกทุกที่ทุเวลา ทั้งนี้ผู้ใช้งานจะได้รับการสำรองข้อมูลหลายชุดเพื่อป้องกันที่ระบบเซิร์ฟเวอร์เกิดความขัดข้องเกิดขึ้น


    • ระบบบล็อกเชนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาโดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบโอเพ่นซอร์สที่ช่วยให้สามารถออกแบบและพัฒนาร่วมกันได้อย่างเสรี


    • ข้อมูลจะถูกจัดเตรียมจากทุกที่และบนอุปกรณ์ใดก็ได้ 


    ◆ ข้อเสียของ Web3.0

    • เนื่องจากว่า Web3.0 เป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ทำให้ผู้ใช้งานบางกลุ่มเข้าถึงการใช้งานได้ยากกว่าเว็บไซต์ในยุคปัจจุบัน


    • Web3.0 ยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของความ Scalability ที่ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างๆมีความล่าช้า 


    • ปัจจุบันเทคโนโลยีที่มีสนับสนุนการสร้างเว็บWeb3.0 ยังมีไม่มาก รวมถึงในเรื่องของงบประมาณในการพัฒนาด้วยเช่นกัน


    Web 3.0 จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันเราอย่างไร

    อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Web3.0 หากมีการนำมาใช้งานอย่างสมบูรณ์ เทคโนโลยีตัวนี้จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง ทางผู้เขียนได้ทำการยกตัวอย่างมา 2 ประเด็นหลักๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจง่ายขึ้นโดยมีรายละเอียดดังนี้


    1.องค์กร และ แพลตฟอร์ม ที่มีการนำ Web3.0 มาใช้

    พิจารณาในมุมของการนำ Web3.0 มาประยุกต์ใช้กับองค์กรการทำงาน แน่นอนว่าเป็นประโยชน์ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นไฟล์ขนาดใหญ่ได้อย่างไม่จำกัด รวมถึงในเรื่องของความปลอดภัยที่จะไม่โดนแฮ็กข้อมูลที่สำคัญ และที่โดดเด่นไปมากกว่านั้น Web3.0 มีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการสำรองข้อมูลหากเกิดสัญญาณหรือระบบเวฺร์ฟเวอร์ขัดข้องซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากในปัจจุบันนี้


    สำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆที่มีการนำ Web3.0 มาใช้งานนั้น ก็ทำให้ผู้คนถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอุปกรณ์ใดๆ ทั้งยังทำให้การนำเสนอข่าวสารมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน


    2. Web 3.0 บน Blockchain

    ในช่วงปี 2010 ที่ผ่านมา Web 3.0 เริ่มเป็นที่รู้จักในชื่อ Decentralized Web ซึ่งเป็นตัวแทนของแอปพลิเคชั่นและบริการอินเทอร์เน็ตรุ่นล่าสุดที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ โดยมีการนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้ร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิในการใช้งาน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า “Blockchain” เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง สามารถตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมได้อย่างโปร่งใส ยิ่งเป็นกว่านั้นคือเอื้อประโยชน์ในเรื่องการใช้งานให้ทุกองค์กรและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน รัฐบาล ตลอดจนถึงบุคคลธรรมดาก็สามารถเข้าถึงการใช้งานบนเครือข่ายนี้ได้เช่นกัน


    เนื่องจากว่าตัวของแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ต่าง ๆ จะมีการสร้างโทเค็นหรือสกุลเงินดิจิทัลขึ้นมาเป็นของตัวเอง โดยที่โทเค็นหรือสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้จะทำงานอยู่บนเครือข่ายบล็อกเชนที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งผู้ที่ใช้งานนั้นจะต้องถือโทเค็นของแพลตฟอร์มเพื่อที่จะลงคะแนนหรือโหวตในข้อเสนอต่าง ๆ สำหรับแนวทางการพัฒนาและอนาคตของโปรโตคอลนั่นเอง ก็จะเห็นได้ว่า Web 3.0 เป็นระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่คืนความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์มให้กับผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง


    ตัวอย่างของ Web 3.0 ที่มีความโดดเด่น ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานที่ชัดเจนของ Blockchain คือ Follow องค์กรอิสระที่มีการกระจายอำนาจ ได้มีการนำเสนอโปรโตคอลทางสังคมแบบ Decentralized แบบทันสมัยสำหรับบริการ Web ในรุ่นต่อๆไป ซึ่งโปรโตคอลโซเชียลที่ใช้ Blockchain ของ Follow สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะให้การควบคุมตัวตนทางสังคมและข้อมูลของผู้ใช้งานได้ครบอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้การพัฒนา Web 3.0 ยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนหลักของ Blockchain เนื่องจากว่า Blockchain เป็นกำลังสำคัญในการเปิดโอกาสทางอินเทอร์เน็ตด้วยการกระจายอำนาจที่ดีขึ้นแบบตามที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง


    Web3.0 จะส่งผลอย่างไรในอนาคต

    สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหาก Web3.0 ได้พัฒนาสำเร็จและมีการใช้งานจริงในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือ “ความยุติธรรมจากการใช้งาน การได้รับคุ้มครองจากปกป้องข้อมูลส่วนตัว ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ทั้งนี้ทางผู้เขียนเองก้ได้ยกตัวอย่างสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งในโลกแห้งความเป็นจริงและโลกแห่งการลงทุนในรูปแบบสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีรายละเอียดดังนี้


    1. ผู้ใช้งานมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นหรือคัดค้านเกี่ยวกับนโยบายของแพลตฟอร์มหรือเว็บไซต์ที่ตนใช้งาน 


    เนื่องจากว่า Web 3.0 ได้ทำการ Present เกี่ยวกับรูปแบบจัดการแบบใหม่จำนวนมากให้กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมเกม ที่ผู้เล่นมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อบกพร่องที่นักพัฒนาได้ทิ้งไว้ เช่นระบบเกมไม่มีความเสถียรภาพ รวมถึงการบังคับให้อัปเดตเกมแต่มักทำลายประสิทธิภาพของของอาวุธในเกมตามมาภายหลัง  ดังนั้นวัตกรรมของ Web 3.0 จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เหล่า Gammer สามารถลงทุนในตัวเกมและเข้าร่วมโหวตว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไปกับเกม ๆ นั้น ซึ่งส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้เล่นกับผู้พัฒนาเกมนั่นเอง


    2. Decentralization Financial เทคโนโลยีการทางคลังแบบกระจายอำนาจ 


    สำหรับคุณสมบัติเด่นของ Web 3.0 ก็คือจะช่วยทำให้ระบบการเงินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เมื่อปีที่แล้วเราคงคุ้นหูกันดีกับคำว่า “DeFi” ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นรูปแบบแพลตฟอร์มที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับด้านการปล่อยกู้, กู้ยืมหรือเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ยุ่งยากเหมือนชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เราสามารถนำเงินออกมาลงทุนหรือใช้ในกรณีต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง 


    บทสรุป

    ณ ปัจจุบันนี้การพัฒนา Web3.0 ยังถือว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ 100% มากหนัก ยังมีการใช้งานเพียงบางแพลตฟอร์ม การเข้าถึงโดยรวมยังคงเป็นเรื่องยังยากอยู่ จากที่ทำการนำเสนอเนื้อหามาก็เริ่มเห็นแนวทางของความเป็นไปได้สูง แม้ว่าบางครั้งการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยีจะฟังดูเป็นเรื่องที่ยาก และดูเหมือนเป็นดาบสองคม แต่ในขฯะเดียวกันก็ประโยชน์ในอนาคตเสมอ ทั้งนี้การพัฒนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในเรื่องระบบอินเทอร์เน็ตค่อนข้างที่จะใช้เงินลงทุนสูงและทีมผู้พัฒนาเฉพาะทางบวกกับอาจจะมีการใช้เวลาในการพัฒนานาน เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆ เพราะชีวิตมนุษย์ทั่วทุกมุมโลกก็ล้วนแต่ขับเคลื่อนกันด้วยระบบอินเทอร์เน็ตทั้งนั้น

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    placeholder
    อินดิเคเตอร์หุ้นคืออะไร? อินดิเคเตอร์หุ้น 3 ประเภทที่มีประโยชน์สำหรับการซื้อขายสิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    placeholder
    10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2566ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    placeholder
    กองทุน ETF คืออะไร? ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์