คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับดัชนีหุ้น NASDAQ 100, Nikkei 225 และ Dow Jones ช่วงข่าวเศรษฐกิจตอนเช้าและเย็นของวัน คุณอาจสงสัยว่า ดัชนีหุ้นคืออะไร? สำคัญอย่างไร? คุณจะหาประโยชน์จากดัชนีเหล่านี้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบกับคุณ
ดัชนี (Index) คือ ตัววัดที่เกิดจากการคำนวณทางสถิติ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการวัดหรือเป็นเครื่องบ่งชี้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ดัชนีภาคการผลิต, ดัชนีการจ้างงาน, ดัชนีภาคบริการ เป็นต้น
ดัชนีหุ้น (Stock Index) คือ ตัวเลขที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ดัชนีอ้างอิง เช่น ดัชนี SET High Dividend 30 ที่สะท้อนราคาของ 30 บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูง สภาพคล่องสูงและเงินปันผลสูง
เกณฑ์สำคัญของดัชนีหุ้นคือ สามารถลงทุนได้และโปร่งใส มีหลายกองทุนรวมที่อ้างอิงดัชนีต่าง ๆ เช่น SET50 และ SET100 ซึ่งเรียกว่า กองทุนรวมดัชนี โดยที่ความแตกต่างระหว่างผลงานของกองทุนรวมดัชนีและดัชนีที่อ้างอิงเรียกว่า ค่า Tracking Error
ยิ่งค่า Tracking Error ต่ำเท่าไหร่ แสดงว่า กองทุนรวมดัชนีนั้นสามารถลงทุนเลียนแบบดัชนีที่อ้างอิงได้มีประสิทธิภาพมากกว่ากองทุนรวมดัชนีที่มีค่า Tracking Error สูงกว่า
เราสามารถแบ่งการคำนวณดัชนีหุ้นออกเป็น 3 รูปแบบ
▲ ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าตลาด (Capitalization-weighted Index) คือ หุ้นขนาดใหญ่ที่มี Market Cap (มูลค่าตลาด) จะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีสูง ตัวอย่างเช่น S&P 500 (สหรัฐฯ) FTSE 100 (อังกฤษ) และ SET (ไทย)
☆ ตัวอย่าง ดัชนี ก มีหุ้น A ราคา 4 บาท จำนวน 100 หุ้นและหุ้น B ราคา 5 บาทจำนวน 200 หุ้น
Market Cap คำนวณจากราคาหุ้น x จำนวนหุ้นทั้งหมด
หุ้น A = 4*100 = 400
หุ้น B = 5*200 = 1,000
Market Cap ทั้งหมดของดัชนี ก เท่ากับ 400+1,000 = 1,400
สัดส่วนของหุ้น A และ B ต่อดัชนี ก ตามมูลค่าตลาดคำนวณจาก Market Cap ของหุ้นหารด้วย Market Cap ทั้งหมดของดัชนี จากนั้นคูณด้วย 100
หุ้น A = (400/1,400) x 100 = 28.57%
หุ้น B = (1,000/1,400) x 100 = 71.43%
หุ้น B มีสัดส่วนสูงกว่าหุ้น A ในดัชนี ก
▲ ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักด้วยราคาตลาด (Price-weighted Index) คือ หุ้นที่มีราคาสูงจะมีสัดส่วนมากกว่าหุ้นที่มีราคาต่ำ ตัวอย่างเช่น Dow Jones (สหรัฐฯ) และ Nikkei 225 (ญี่ปุ่น)
☆ ตัวอย่าง ดัชนี ก มีหุ้น A ราคา 5 บาท หุ้น B ราคา 10 บาทและหุ้น C ราคา 15 บาท
หุ้น A = [5/(5+10+15)] x 100 = 16.67%
หุ้น B = [10/(5+10+15)] x 100 = 33.33%
หุ้น C = [15/(5+10+15)] x 100 = 50.00%
หุ้น C มีสัดส่วนมากที่สุดในดัชนี ก ตามด้วยหุ้น B และหุ้น A
▲ ดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักเท่ากัน (Equal-weighted Index) พูดง่าย ๆ คือ หุ้นทุกตัวมีจะสัดส่วนเท่ากันหมด ซึ่งกระจายความเสี่ยงดีกว่าดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาด แต่ดัชนีแบบนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกะทันหันกว่า
#ดัชนียอดนิยมของต่างประเทศ#
▲ S&P 500 (Standard & Poor's 500) S&P 500 (Standard & Poor's 500) เป็นดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาด ซึ่งวัดผลการดำเนินงานของหุ้น 500 บริษัทที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา
S&P 500 เป็นหนึ่งในดัชนีที่มีการเทรดมากที่สุดและเป็นหนึ่งตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นสหรัฐฯ และสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยรวม
ตัวอย่างของบริษัทในดัชนี S&P 500 ประกอบด้วย Apple, Microsoft, Amazon, Berkshire Hathaway, Visa เป็นต้น
▲ Dow Jones หรือ Dow Jones Industrial Index
Dow Jones หรือ Dow Jones Industrial Index เป็นดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักตามราคาตลาด ซึ่งวัดผลการดำเนินงานของหุ้น 30 บริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เช่น Microsoft, Coca Cola, Apple, McDonald เป็นต้น
ดัชนี Dow Jones จัดทำโดยบริษัท S&P Dow Jones Indices
▲ NASDAQ 100
NASDAQ 100 จัดทำครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2528 NASDAQ 100 (NDX) คือ ดัชนีหุ้น 100 บริษัทขนาดใหญ่ (ไม่ใช่บริษัทเงินทุน) ที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก ประกอบด้วยบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในประเทศและต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด 100 แห่งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นแนสแด็กตามราคาตลาด NASDAQ 100 เป็นที่ตั้งของ บริษัท สี่แห่งที่ทำรายได้แตะหลักล้านล้านดอลลาร์ในสหรัฐฯ ได้แก่ Apple (AAPL), Amazon (AMZN), Microsoft (MSFT) และ Alphabet (GOOG, GOOGL)
▲ Nikkei 225
นิเคอิ225(Nikkei 225) คือ ดัชนีที่คำนวณรายวันซึ่งวัดผลประกอบการของ 225 บริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวโดยหนังสือพิมพ์นิเคอินับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2493 หรือเมื่อ 70 ปีที่แล้ว
นิเคอิ225 Index ตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกสภาพตลาดหุ้นของญี่ปุ่น และยังเป็นตัวแทนของภาพเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
▲ FTSE 100
FTSE 100 เป็นดัชนีหุ้นของ 100 บริษัทที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด ด้วยหุ้นของบริษัทในดัชนี FTSE 100 เป็น 81% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ทำให้มีการใช้ดัชนีนี้เป็นตัววัดตลาดหุ้นอังกฤษ ดัชนี FTSE 100 จัดทำโดย FTSE Group ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ตัวอย่างของบริษัทในดัชนี FTSE 100 เช่น Tesco, Unilever, Barclays เป็นต้น
▲ DAX 30
DAX 30 เป็นดัชนีหุ้นที่ถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดของ 30 บริษัทกลุ่มบลูชิพของเยอรมันที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตซึ่งเทียบเท่ากับดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ และเนื่องจากปริมาณบริษัทที่น้อย ทำให้ดัชนี DAX 30 ไม่สะท้อนภาพจริงของเศรษฐกิจเยอรมันได้ทั้งหมด ดัชนี DAX 30 เผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ตัวอย่างของบริษัทในดัชนี DAX 30 เช่น BMW, Adidas, Bayer, Deutsch Bank เป็นต้น
#ดัชนียอดนิยมของไทย#
นอกเหนือจากดัชนี SET ที่สะท้อนความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ยังมีดัชนี SET50 และ SET50 ที่กองทุนรวมดัชนีนิยมใช้อ้างอิง
SET50 และ SET100 คือ ดัชนีหุ้นที่แสดงระดับและความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น 50 และ 100 ตัวแรกที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด การซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอและมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
ดัชนี SET50 และ SET100 สามารถคำนวณดังต่อไปนี้
SET50/100 = มูลค่าตลาดรวมวันปัจจุบัน (CMV) หารด้วยมูลค่าตลาดรวมวันฐาน (BMV) คูณด้วย 1,000
วันฐานของ SET50 คือวันที่ 16 สิงหาคม 2538
วันฐานของ SET100 คือวันที่ 30 เมษายน 2548
ค่าดัชนีเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000 จุด
รายชื่อของบริษัทที่อยู่ในดัชนี SET50 และ SET100 จะมีการเปลี่ยนแปลงทุก 6 เดือนในเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคมของทุกปี
มาถึงตรงนี้ คุณอาจจะพอทราบคร่าว ๆ แล้วว่า ดัชนีคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร แต่คุณจะทำเงินจากดัชนีอย่างไร?
CFD(Contract for Difference) หรือ สัญญาซื้อขายส่วนต่าง คือตราสารอนุพันธ์รูปแบบหนึ่งที่นักลงทุนสามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาปัจจุบันและราคาที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตของสินทรัพย์อ้างอิงโดยไม่ต้องซื้อสินทรัพย์อ้างอิงนั้นแต่เป็นสัญญาที่ทำการซื้อขายได้ทันทีเพียงส่งคำสั่งซื้อขาย และเสนอความได้เปรียบด้านอัตราทด (Leverage) ให้กับเทรดเดอร์ ทำให้สามารถวางเงินเพียงจำนวนหนึ่งแต่ก็ยังจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับการซื้อขายสินค้านั้นจริงด้วยเงินเต็มจำนวน ในที่นี่ สินทรัพย์อ้างอิงก็คือ ดัชนี
การเทรดดัชนีหุ้นออนไลน์ด้วย CFD จึงทำให้เทรดเดอร์มีความได้เปรียบกว่าเครื่องมืออื่น ๆ หลายอย่าง เช่น
1. เทรดได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ช่วยเพิ่งโอกาสในการทำกำไร
CFD ทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสสร้างผลกำไรได้ทั้งราคาสินค้าที่เป็นขาขึ้นและขาลง โดยเลือกการเปิดสถานะซื้อ(Long Positoin) เมื่อคาดว่าราคาเป็นขาขึ้น และทำกำไรจากการซื้อถูกขายแพง ขณะที่หากมองว่าราคาเป็นขาลงก็เปิดสถานะขาย (Short Positoin) เพื่อทำกำไรจากการขายแพงไปก่อนแล้วค่อยซื้อกลับในราคาถูก
2. อาศัยอัตราทด (Leverage) เพิ่มสัดส่วนของผลกำไร
ถึงแม้เทรดเดอร์จะใช้เงินทุนจำนวนน้อยด้วยการวางเงินประกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโอกาสทำกำไรจะน้อยลงไปด้วย เพราะเครื่องมืออย่าง CFD มีจุดเด่นที่การใช้อัตราทดทำให้เทรดเดอร์สร้างผลกำไรได้ไม่ต่างจากการซื้อขายสินค้าจริง
☆ ตัวอย่าง
ด้วยเลเวอเรจ 1:200 คุณเพียงฝากเงินมาร์จิ้น $100 USD ไว้ก็สามารถเปิดคำสั่งซื้อขนาด 1 ล็อตที่มีมูลค่า 20,000 USD ได้แล้ว เมื่อราคาเพิ่มขึ้นถึง 20,200 USD คุณปิดคำสั่งแล้วได้กำไร 200 USD อัตราผลตอบแทนคือ 200%
รายการ | เทรดแบบไม่มีเลเวอเรจ | เทรดแบบมีเลเวอเรจ |
เลเวอเรจ | 0 | 1:200 |
ราคาเปิด | 20,000 USD | 20,000 USD |
ราคาปิด | 20,200 USD | 20,200 USD |
ขนาดการซื้อขาย | 1 ล็อต | 1 ล็อต |
เงินทุนเริ่มต้น(มาร์จิ้น) | 20,000 USD | 100 USD(20,000/200) |
กำไรที่ได้(ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น) | 200 USD | 200 USD |
อัตราผลตอบแทน | 1% | 200% |
* เลเวอเรจเป็นดาบคมสองด้าน ไม่ใช่ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะก็สามารถขยายขาดทุนเช่นกัน นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงการใช้เลเวอเรจสูงเกินโดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ และควรจัดความเสี่ยงให้ดีๆ
3. มีช่วงเวลาซื้อขายยืดหยุ่น
CFD เปิดให้เทรดเดอร์ทำการซื้อขายสินค้าเกือบตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และตลอด 5 วันได้ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเทรดเดอร์ด้วยเวลาการเทรดที่ยืดหยุ่น
ในการเทรดดัชนี CFD คุณจำเป็นจะต้องเทรดกับโบรกเกอร์ CFD ที่เชื่อถือได้และตอบโจทย์ความต้องการของคุณ ซึ่ง Mitrade อาจเป็นโบรกเกอร์ที่ใช่สำหรับคุณ
#ขั้นตอนการเทรดดัชนีหุ้นกับ Mitrade#
1.เปิดบัญชี การเปิดบัญชีกับ Mitrade จะง่ายและไวมาก ทำออนไหลน์ได้หมดภายในไม่กี่นาที ขอแค่มีบัตรประชาชน บัตรธนาคารก็พอ สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ MiTrade มีบัญชีเทรดทดลองพร้อมเงินเสมือน 50, 000 USD อยู่ในบัญชีเพื่อให้เทรดเดอร์ฝึกฝนทักษะการเทรดอย่างไม่มีความเสี่ยงใดๆ
2.ฝากเงินเข้าบัญชี ที่ Mitrade เงินฝากขั้นต่ำต่ำถึง $50 USD(ประมาณ 1500 บาท) เทรดเดอร์สามารถฝากเงินเข้าบัญชีผ่านช่องทางหลากหลาย รวมถึงธนาคารไทยออนไลน์โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ
3.คว้าโอกาสในการเทรด เมื่อฝากเงินเรียบร้อยแล้วเราก็คว้าโอกาสการเทรดด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ Mitrade เสนอให้ใช้ฟรี เช่นขาวสด กราฟแบบเรียลไทม์ ปฏิทินทางเศรษฐกิจ, ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม, การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
4.เปิดคำสั่งซื้อขาย เทรดเดอร์สามารถเปิดคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขายตามความคาดการณ์ อย่างที่เรากล่าวไปว่า หากมองว่ากราฟจะเพิ่มขึ้นก็เปิดคำสั่งซื้อ ในตรงกันข้าม หากมองว่ากราฟจะลดลงก็เปิดคำสั่งขาย
5.เฝ้ารอและปิดสถานะรับกำไร/ขาดทุน เมื่อเปิดคำสั่งแล้ว เราก็ต้องติดตามความเครื่อนไหวของกราฟ เมื่อราคาไปถึงที่เราคาดเอาไว้ เราก็ปิดคำสั่งรับกำไร/ขาดทุนได้เลย
▼ เทรดดัชนีหุ้นกับ Mitrade ด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼
���
ทำไมเทรดกับ MiTrade
★ MiTrade เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจาก MiTrade ได้รับการกำกับดูแลจากหลายหน่วยงานที่มีอำนาจ รวมถึง หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA) ด้วยใบอนุญาต SIB เลขที่ 1612446 (เรียนรู้วิธการตรวจสอบ) ทำให้การทำธุรกรรมและการดำเนินงานต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
★ เงินทุนของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ในบัญชีทรัสต์แยกต่างหากจากบัญชีบริษัท หากในกรณีที่ MiTrade ล้มละลาย เงินทุนลูกค้าก็ยังคงถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและถูกส่งกลับคืนได้ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเป็นห่วงความปลอดภัยของเงินทุน
★ ฟรีเครื่องมือการเทรดต่างๆ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม, การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
★ ฟรีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ และระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบ
★ แพลตฟอร์มการเทรดที่พัฒนาขึ้นมาเอง ใช้งานที่เรียบง่าย เหมาะกับเทรดเดอร์มือใหม่อย่างมาก
★ เจ้าหน้าที่คนไทยคอยให้บริการ 24 ชั่วโมง 5 วันทำการเพื่อแก้ปัญหาและให้คำแนะนำ
★ เลเวอเรจสูงสุดถึง 1:200 ถือว่าไม่ต่ำและไม่สูงมากด้วย
★ ค่าคอมมิชชั่น 0 และด้วยการที่มีสเปรดต่ำ จะช่วยประยัดต้นทุนของนักลงทุน
ยังมือใหม่? ไม่เป็นไร! MiTrade ได้จัดบัญชีทดลองเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 USD เพื่อให้ท่านฝึกฝนทักษะการเทรดโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง