เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

Blockchain(บล็อกเชน)คืออะไร?วิธีการลงทุนใน Blockchain มีอะไรบ้าง?

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 22 ก.พ. 2566 09:42 น.
24395

Blockchain(บล็อกเชน) น่าจะเป็นชื่อที่นักลงทุนสายคริปโตคุ้นเคยกันดี แต่เคยสงสัยไหมว่า Blockchain(บล็อกเชน) คืออะไร มีระบบการทำงานอย่างไร มีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Blockchain มีอะไรบ้างและสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้น คือ เราจะลงทุนใน Blockchain ได้อย่างไร มาหาไปพร้อมกับเราได้ที่บทความนี้เลย

Blockchain(บล็อกเชน) คืออะไร

Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถทำการส่งข้อมูลโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางด้วยความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือสูง


หลาย ๆ ครั้งที่เราได้ยินคำนี้ แต่สำหรับตัว Blockchain แล้วมันคือบล็อก(Block) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้ แต่ละบล็อกจะเรียงร้อยเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว(Chain) อย่างมีลำดับเฉพาะเจาะจงจนกลายเป็นเครือข่ายข้อมูลบล็อกที่นำมาเรียงต่อกันเหมือนกับชื่อที่เราเรียก Blockchain

Blockchain(บล็อกเชน) ทำงานอย่างไร

Blockchain มีคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ Blockchain จะถูกแทรกแซง ถูกปรับเปลี่ยน หรือโดนแฮ็กข้อมูลในเครือข่ายเป็นไปได้ยากมาก ด้วยกระบวนการทำงานของบล็อกเชนที่ค่อนข้างซับซ้อน และเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ จึงทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้ยากขึ้นนั่นเอง สำหรับการทำงานของ Blockchain สามารถแบ่งออกมาเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1.รหัสแฮช

อย่างแรก แต่ละบล็อกที่สร้างขึ้นจะมีรหัสประจำบล็อกที่เรียกว่ารหัสแฮช ซึ่ง Blockchain ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ

 

ส่วนประกอบของ Blockchain


1)ข้อมูล (Data) ที่เก็บรักษาอยู่ในแต่ละบล็อก เช่น Blockchain ของ Bitcoin จะเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้น ได้แก่ ผู้ส่ง ผู้รับ และจำนวนเหรียญที่โอน


2)รหัสแฮช (Hash) ซึ่งเป็นรหัสบ่งบอกตัวบล็อกเป็นการเฉพาะ โดยที่จะไม่มีการซ้ำกันเหมือนลายนิ้วมือหรือเลขบัตรประชาชนของเรา หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในบล็อก รหัสแฮชก็จะถูกเปลี่ยนตามไปด้วย และถ้าลายนิ้วมือของบล็อกเปลี่ยนไป มันก็ไม่ใช่บล็อกเดิมอีกต่อไป


3)รหัสแฮชของบล็อกก่อนหน้า (Previous Hash)


แต่ละบล็อกจะร้อยเรียงต่อกันด้วยข้อมูลเหล่านี้ 


ตอนนี้เราขอยกตัวอย่างการทำงานของ Blockchain ของ Bitcoin เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น


ที่นี่มีบล็อก 3 บล็อก


ตัวอย่างการทำงานของ Blockchain


 ● บล็อกที่ 1 มีรหัสแฮช A24 บรรจุข้อมูล 5 BTC จากคุณกอล์ฟ โอนให้คุณปู โดยมีรหัสบล็อกก่อนหน้า 000

 ● บล็อกที่ 2 มีรหัสแฮช 12B บรรจุข้อมูล 3 BTC จากคุณปู โอนให้คุณมาลี โดยมีรหัสบล็อกก่อนหน้า A24 

 ● บล็อกที่ 3 มีรหัสแฮช 5C3 บรรจุขอ้มูล 2 BTC จากคุณมาลี โอนให้คุณฟ้า โดยมีรหัสบล็อกก่อนหน้า 12B 


ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าการเก็บข้อมูลของเครือข่ายนี้จะมีการเรียงเป็นลำดับ เชื่อมร้อยเข้าหากันด้วยรหัสแฮช จนกลายเป็นเครือข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ และข้อมูลชุดนี้จะถูกเก็บอยู่ในทุก ๆ บล็อกที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย การเข้าไปวุ่นวายกับข้อมูลในบล็อกจะทำให้รหัสแฮชเปลี่ยนซึ่งจะส่งผลต่อการยืนยันบล็อกถัดไป ส่งผลให้บล็อกทีเหลือในสายจะไม่สามารถยืนยันได้และกลายเป็นโมฆะใช้ไม่ได้โดยทันที


2.ระบบฉันทามติ (Consensus)

นอกจากนี้ Blockchain ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ก้าวไปอีกขั้นด้วยการนำระบบฉันทามติ (Consensus) เข้ามาใช้ เช่น สำหรับ Bitcoin มีการใช้ระบบฉันทามติ Proof-of-Work (PoW) ที่จะให้เวลาราว ๆ 10 นาทีในการแก้รหัสและสร้างบล็อกใหม่ขึ้นมา ซึ่งหากมีใครอยากแฮ็กระบบนี้ใช่วงนี้ก็ต้องเข้าไปเปลี่ยนรหัสแฮชในบล็อกอื่น ๆ ในสายเชนทั้งหมดก่อนที่บล็อกใหม่จะเพิ่มเข้ามา ซึ่งจำนวนบล็อกในสายเชนของ Bitcoin ก็มีเป็นร้อยเป็นพันบล็อก วิธีแฮ็กแบบนี้จึงเป็นไปได้ยากมาก


ระบบฉันทามติ Proof-of-Work (PoW)


3.เครือข่าย Peer-to-Peer (P2P) 

กลไกสุดท้ายที่ช่วยให้ Blockchain มีความเสถียรและถูกแทรกแซงได้ยากนั่นก็คือ Blockchain ไม่มีตัวกลางที่มีอำนาจในการจัดการระบบเครือข่าย แต่มีการใช้เครือข่าย Peer-to-Peer (P2P) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ในเครือข่ายเป็นผู้ตรวจสอบกันเอง กล่าวคือเมื่อผู้ใช้ทำการลงโปรแกรมเข้ามาใช้งาน Blockchain ก็จะมีสถานะเป็นโหนด (Node) 


โหนดเหล่านี้จะเป็นผู้เก็บรักษาข้อมูลของ Blockchain ทั้งหมด ทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในระบบด้วย ซึ่งหากมีใครต้องการควบคุม Blockchain นี้ก็สามารถทำได้ด้วยการควบคุมโหนดในจำนวนที่มากพอที่จะสร้างฉันทามติที่ต้องการขึ้นมาได้ แต่การเข้าควบคุมโหนดจำนวนมากพอในเวลาอันสั้นก็นับเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากจนแทบไม่มีโอกาสเลย


และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างบล็อกใหม่ขึ้นในเครือข่าย


การสร้างบล็อกใหม่ขึ้นในเครือข่าย Peer-to-Peer (P2P)


1) บล็อกใหม่จะถูกส่งไปยังทุกโหนดหรือผู้ใช้ทุกคนในเครือข่าย

2) แต่ละโหนดทำการยืนยันบล็อกใหม่และตรวจสอบให้มั่นใจว่าข้อมูลในบล็อกนั้นไม่มีการแทรกแซง

3) เมื่อทุกโหนดตรวจสอบและยืนยันเรียบร้อยก็จะเก็บบล็อกใหม่นั้นเข้าไปเป็นบล็อกหนึ่งในสายบล็อกเชนของตัวเอง


ทุกโหนดในกระบวนการนี้จะเป็นผู้สร้างฉันทามติ และเป็นผู้ให้การเห็นชอบร่วมกันว่าบล็อกไหนถูกต้องใช้ได้หรือบล็อกไหนผิดพลาดใช้ไม่ได้ และจะปฏิเสธบล็อกที่มีการเข้าไปแทรกแซงข้อมูลให้ผิดไป



ซึ่งสรุปได้ว่า การตั้งใจจะเข้าไปแทรกแซงข้อมูลในบล็อกเชนให้สำเร็จนั้นจำเป็นต้องเข้าไปเปลี่ยนข้อมูลของบล็อกทั้งหมดในสาย ย้อนกระบวนการ Proof-of-Work ของแต่ละบล็อก แล้วเข้าควบคุมเครือข่าย Peer-to-Peer นั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย

จุดแข็งและจุดอ่อนของเทคโนโลยี Blockchain

ด้วยการออกแบบเทคโนโลยีการเข้ารหัสที่มีความปลอดภัยสูงนี้ ทำให้ Blockchain มีจุดแข็งที่สร้างข้อได้เปรียบให้กับผู้ใช้งาน ในขณะเดียวกันก็ยังมีจุดอ่อนที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้


จุดแข็งของเทคโนโลยี Blockchain

 ●  มีความปลอดภัยสูงขึ้นอีกระดับ

 เทคโนโลยี Blockchain มีการปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยของระบบที่ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีเก็บรักษาข้อมูลในยุคก่อน โดยหากข้อมูลถูกเข้ารหัสและเก็บรักษาไว้ในบล็อกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ทำการลบข้อมูล หรือทำการแก้ไขข้อมูลได้อีกเลย


 ●  มีความโปร่งใส

 เครือข่าย Blockchain ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเครือข่ายที่กระจายศูนย์ โดยไม่มีผู้มีอำนาจคนใดคนหนึ่งสามารถกำกับควบคุมระบบได้ ทำให้ระบบนี้มีความโปร่งใสสูง สามารถตรวจสอบได้


 ●  ช่วยลดต้นทุน

 เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่มีตัวกลาง การใช้งาน Blockchain จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับตัวกลางแต่อย่างใด ยังคงมีเพียงต้นทุนค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบนแพลตฟอร์มเท่านั้น ที่ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับปริมาณการรองรับธุรกรรมที่ระบบรับได้ (Scalability)


 ●  สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 

ด้วยระบบที่ออกแบบมาให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของบล็อกย้อนไปยังต้นสายได้ ทำให้การตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในเครือข่าย Blockchain

 

 ●  ประหยัดเวลาและให้ประสิทธิภาพสูง 

Blockchain เป็นระบบที่ช่วยให้ประหยัดเวลาเพื่อให้ประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลได้สูงสุด โดยสามารถตัดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากมนุษย์ในการคำนวณของระบบออกไปได้ทั้งหมด เนื่องจากทั้งการเก็บข้อมูลและประมวลผลสามารถทำได้บนแพลตฟอร์มเดียวโดยไม่ต้องอาศัยแรงงานคน ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงและรวดเร็ว


จุดอ่อนของเทคโนโลยี Blockchain

 ●  ไม่สามารถรองรับการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ 

อย่างไรก็ตามระบบบล็อกเชนของเจ้าต่าง ๆ ในปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการรองรับขนาดการใช้งานที่สูงขึ้น (Scalability) อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยียังคงมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในอนาคฅ ปัญหาในข้อนี้อาจจะสามารถแก้ไขได้ในเร็ววัน


 ●  ในทางทฤษฎีระบบนี้สามารถถูกแฮ็กได้ 

ยังมีคนกล่าว่าในทางทฤษฎีบล็อกเชนสามารถถูกแฮ็กได้ เช่น การแฮ็ก Bitcoin ที่ในทางทฤษฎีหากสามารถควบคุมผู้ใช้เกินกว่า 51% ได้ก็จะสามารถควบคุมระบบได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ยังต้องบอกว่าวิธีการนี้แม้เป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ยากมากจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย


 ●  ใช้พลังงานสูง 

เนื่องจากการออกแบบระบบให้อ้างอิงกับการโค้ดดิ้งและมีการประมวลผลสูง ทำให้ Blockchain เป็นระบบที่กินไฟ และจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากในการขับเคลื่อนระบบอย่างสำคัญ


 ●  ยังไม่มีสถานะที่ถูกกำกับดูแลอย่างจริงจัง 

จนถึงปัจจุบันที่ Blockchain ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ Blockchain ก็ยังไม่มีสถานะการถูกตรวจสอบหรือวางกฎระเบียบจากองค์กรใด ซึ่งแน่นอนว่า Blockchain ถูกสร้างขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรเก่า ๆ อย่างเช่น ธนาคาร หน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการธุรกรรม และองค์กรเหล่านี้ย่อมไม่ต้องการให้เทคโนโลยีนี้ได้ถูกรับรองและนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Blockchain

จากจุดเด่นและข้อได้เปรียบของเทคโนโลยี Blockchain อย่างที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ปัจจุบันเทคโนโลยีตัวนี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น


ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Blockchain


●  ธุรกิจการเงิน 

เป็นธุรกิจแรก ๆ ที่นำ Blockchain มาประยุกต์ใช้ ซึ่งหากไม่นับรวมบรรดาสกุลเงินดิจิตทัลต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีโครงการอินทนนท์ของธนาคารกลางแห่งประเทศไทยที่จะนำ Blockchain มาประยุกต์ใช้กับบาทดิจิทัล และคาดว่าจะเข้ามาแทนระบบบาทเน็ตที่ใช้ทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีโครงการ JFIN ของ JMART ที่นำมาใช้จัดทำข้อมูลลูกค้าและ Credit Score สำหรับระบบกู้ยืมเงินออนไลน์


●  ธุรกิจห่วงโซ่อุปทาน 

บริษัท IBM ได้สร้างโปรเจกต์ Food Trust Blockchain ขึ้นมาเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบได้ โดยหวังว่าโครงการนี้จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับธุรกิจห่วงโซ่อุปทานอื่น ๆ ที่สามารถใส่ข้อมูลที่มาของพัสดุเพื่อให้ผู้รับสามารถตรวจสอบที่มาย้อนกลับไปได้อย่างแม่นยำและไม่สามารถปลอมแปลงได้


●  ระบบการโหวต 

Blockchain สามารถนำมาใช้สร้างระบบโหวตที่มีประสิทธิภาพได้ ด้วยการที่ระบบนี้มีความสามารถป้องกันการโกงการโหวตได้ โดยที่การเข้าไปแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงผลนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทั้งยังมีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบกระบวนการโหวตได้ และสามารถลดต้นทุนการตรวจสอบที่จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่มีคนจำนวนมากที่ต้องข้ามาร่วมตรวจสอบและคำนวณผลได้

จะลงทุนใน Blockchain ได้อย่างไร

มาถึงตรงนี้เราจะพบว่า Blockchain กลายเป็นผู้ที่จะเข้ามาเปลี่ยนเกมในธุรกิจที่หลากหลาย และหากใครที่ยังมองไม่เห็นลู่ทางการลงทุนใน Blockchain ว่าจะสามารถสร้างความได้เปรียบหรือสร้างผลกำไรให้กับตนเองในฐานะนักลงทุนได้อย่างไร เหตุผลเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ที่ว่าทำไมเราถึงควรลงทุนใน Blockchain อาจมีคำตอบให้


 ● Blockchain เข้ามายกระดับขีดความสามารถในการทำธุรกิจหลายประเภท ช่วยปลดล็อกความสามารถในการสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นในระยะยาว


 ● Blockchain เป็นที่หมายตาของกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่หลายบริษัท เช่น Amazon Microsoft หรือ Salesforce.com.


 ● โลกหลังโควิด-19 กำลังเปลี่ยนสู่สังคมดิจิทัลเร็วขึ้น Blockchain สามารถเข้าไปทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างเช่น Cloud Computing, E-Commerce และ AI สร้างขีดความสามารถในการตอบสนองเป้าหมายที่สูงขึ้น


ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงให้คำนึงถึงในด้าน


 ● สกุลเงินดิจิทัลที่สร้างขึ้นจาก Blockchain นั้นมีความผันผวนสูง การเข้าไปซื้อสินทรัพย์เหล่านี้อาจตามมาด้วยผลขาดทุนได้


 ● สกุลเงินดิจทัลหลายตัวรองรับด้วยระบบ Blockchain ของตัวเอง แต่บางสกุลก็ไม่ได้มีโปรเจกต์ Blockchain รองรับแบบนั้น


ถึงตรงนี้หากมีใครเริ่มสนใจการลงทุนใน Blockchain และเหล่านี้คือวิธีการลงทุนใน Blockchain ที่กำลังได้รับความนิยม

1.ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล


ลงทุนใน Blockchain ด้วยการซื้อสกุลเงินดิจิตอล


นักลงทุนสามารถลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลกับ Mitrade ด้วยการเทรดสกุลเงินดิจิทัลแบบสัญญาซื้อขายส่วนต่าง(ภาษาอังกฤษคือ A contract for differences หรือเรียกสั้นๆ ว่า CFD) 


วิธีนี้สามารถสร้างโอกาสให้นักลงทุนทำผลกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญสกุลเงินดิจิทัลได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงจากการเก็บรักษาเหรียญเนื่องจากนักลงทุนไม่ต้องการเป็นเจ้าของเหรียญจริง ๆ 


นอกจากนี้แล้ววิธีนี้ยังเป็นการเทรดที่มีอัตราทด เป็นการช่วยขยายความสามารถในการทำกำไรในทางหนึ่ง และยังสามารถทำกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง โดยการเปิด Long หากมองว่าแนวโน้มราคาเป็นขาขึ้น หรือ เปิด Short เมื่อมองว่าทิศทางราคาเป็นขาลง


โดยตอนนี้ Mitrade ได้เปิดให้เทรดสกุลเงินดิจิทัล 17 สกุล รวมถึง Bitcoin(BTC), Bitcoin Cash(BCH), Litecoin(LTC), Ethereum(ETH), Ripple(XRP), Cardano(ADA), ApeCoin(APE), Cosmos(ATOM), Dogecoin(DOGE), Solana(SOL), Uniswap(UNI), Polkadot(DOT), EOS, Avalanche(AVAX), Polygon(MATIC), Stellar Lumens(XLM) และ NEAR Protocol(NEAR) และยังมีแนวโน้มเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลใหม่ ๆ ให้เทรดเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต


2.ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเทคโนโลยี Blockchain


ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเทคโนโลยี Blockchain


จากที่เล่าไปแล้วตอนต้นว่าปัจจุบัน Blockchain ถูกนำมาใช้งานจริงในบริษัทมากมาย ซึ่งนักลงทุนสามารถมองหาโอกาสในการเข้าลงทุนได้ไม่ต่างจากการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล โดยสามารถทำได้กับ Mitrade ด้วยการเทรดแบบ CFD เช่นกัน


ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากที่เข้าไปลงทุนใน Blockchain ในประเทศไทย เช่น บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เข้าลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลโดยตรง และ บริษัท เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ที่เป็นผู้ให้บริการแปลงสินทรัพย์ให้อยู่ในรูป Token 


ส่วนในต่างประเทศยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักกันดีอย่าง PayPal Holding (NASDAQ:PYPL) ที่ให้บริการรับชำระด้วย Bitcoin ผ่านบริษัทในเครืออย่าง Braintree และกำลังพัฒนาฟีเจอร์ซื้อขาย Blockchain & สกุลเงินดิจิทัลอยู่ด้วย


เช่นเดียวกับ Square's (NYSE:SQ) บริษัทแอปพลิเคชั่นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่อนุญาตให้ผู้ใช้ซื้อขาย Bitcoin ได้ บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินที่มาก่อนอย่าง Visa (NYSE:V) และ Mastercard (NYSE:MA) เองก็กำลังร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัปเกี่ยวกับ Blockchain และ สกุลเงินดิจิทัลเพื่อเข้าร่วมวงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจครั้งนี้


สำหรับ Meta Platform (NASDAQ:META)[เป็นที่รู้จักกันในชื่อเดิม Facebook] บริษัทผลิตสื่อสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดก็กำลังสร้างโปรเจกต์ Libra เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแน่นอนว่าโปรเจกต์นี้ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนจากรัฐบาล แต่โปรเจกต์นี้ก็จะทำให้ผู้ใช้กว่า 2 ร้อยล้านรายบน Facebook สามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมทางการเงินด้วย blockchain ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามอง


นอกเหนือไปจากบริษัทเทศยักษ์ใหญ่แล้ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียังต้องเริ่มจากการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชิ้นเล็ก ๆ และ NVIDIA (NASDAQ:NVDA) กับ AMD (NASDAQ:AMD) ก็ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของการขับเคลื่อนการเติบโตของสกุลเงินดิจิทัล ขณะที่บริษัทก่อนหน้าอย่าง Intel (NASDAQ:INTC) เองก็ยังปรับตัวด้วยการเข้าเป็นพันธมิตรกับนักพัฒนาบล็อกเชนเพื่อสร้างนวัตกรมให้กับบริษัทด้วยเช่นกัน


การเทรดหุ้นแบบ CFD กับมีข้อดีที่


-ใช้เงินลงทุนน้อย เนื่องจากสามารถวางเงินเพียงบางส่วนได้

               

-เทรดด้วยอัตราทด ช่วยขยายขีดความสามารถในการทำกำไร แม้ใช้เงินลงทุนน้อยก็สามารถคาดหวังผลกำไรจำนวนมากได้

             

-การเปิดบัญชีซื้อขายทำได้ง่าย ไม่มีค่าธรรมเนียม สเปรดราคาต่ำ

            

-สามารถทำกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง 



อย่างไรก็ตาม การเทรดแบบ CFD ก็มีข้อเสียด้วย

          

-มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการนำอัตราทดมาใช้ ซึ่งสามารถขยายผลขาดทุนเป็นจำนวนมากได้เช่นกัน(เคล็ดลับ: สำหรับการเทรดสกุลเงินดิจิทัลและหุ้น Mitrade เสนอค่าเลเวอเรจ 1/2/5/10 เท่าและเทรดเดอร์สามารถปรับค่าเลเวอเรจเองได้ สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่หรือเทรดเดอร์ที่ไม่อยากเสี่ยงสูงมาก สามารถปรับค่าเลเวอเรจเป็น 1 เท่า เท่ากับการเทรดแบบไม่มีเลเวอเรจ ทำให้ความเสี่ยงในการเทรดได้ลดลง)                


               

-มีค่าธรรมเนียมการถือสถานข้ามคืน ซึ่งเรทนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละโบรก เช่น สำหรับ MiTrade คิดอัตราค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืน Bitcoin อยู่ที่ราว 0.03 – 0.06% ต่อคืน และหุ้น Meta ที่ประมาณ 0.03% ต่อวัน ซึ่งถือว่าต่ำมาก หากเทรดในวันเดียวก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมส่วนนี้(เคล็ดลับ: ที่ Mitrade สำหรับการเทรดหุ้น หากเทรดด้วยเลเวอเรจ 1 เท่า จะไม่มีค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืน)  


จากที่กล่าวมาทั้งหมด การลงทุนด้วยตราสารอนุพันธ์เช่น CFD (Contract for Difference ภาษาไทยเรียกว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) จะทำให้นักลงทุนสามารถเทรดสินค้าได้หลากหลาย ตั้งแต่ สกุลเงินดิจิตอล หุ้น จนถึง forex ทองคำ น้ำมัน ดัชนีและสินค้าอีกมากมาย เรียกได้ว่าเพียงบัญชีเดียวก็สามารถเทรดสินค้าได้ครอบคลุม ซึ่งนอกจากเป็นการขยายโอกาสในการลงทุนแล้วก็ยังเป็นตัวเลือกในการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย


Mitrade เป็นโบรกเกอร์ CFD ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและการันตีด้วยรางวัลระดับอุตสาหกรรมมากมาย โดย Mitrade ได้รับการกำกับดูแลจากหลายหน่วยงานที่มีอำนาจ รวมถึง

●  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย (ASIC)

●  หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA)

●  คณะกรรมการบริการด้านการเงินมอริเชียส (FSC)

ทำให้การทำธุรกรรมและการดำเนินงานต้องเป็นไปตามข้อบังคับของ ASIC,CIMA และ FSC


เงินทุนของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ในบัญชีทรัสต์แยกต่างหากจากบัญชีบริษัท หากในกรณีที่ Mitrade ล้มละลาย เงินทุนลูกค้าก็ยังคงถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและถูกส่งกลับคืนได้ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเป็นห่วงความปลอดภัยของเงินทุน


โดยลูกค้าที่สนใจสามารถเปิดบัญชีและทำการซื้อขาย CFD กับ Mitrade ได้ด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ


3 ขั้นตอนในการเทรดกับ Mitrade


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Mitrade
มุมมองการลงทุนเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลทางด้านการเงินภายใต้ Mitrade ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงินที่สมบูรณ์ สภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ ข่าวที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึก
บทความยอดนิยม
อ่านมากที่สุด
ข่าวล่าสุด
  • ต้นฉบับ
  • กลยุทธ์การเทรด
  • อ่านมากที่สุด
    ข่าวล่าสุด
ไม่พบข้อมูล
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย