CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    อินดิเคเตอร์หุ้นคืออะไร? อินดิเคเตอร์หุ้น 3 ประเภทที่มีประโยชน์สำหรับการซื้อขาย

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 01 ธ.ค. 2566 07:01 น.

    การเล่นหุ้นให้ประสบผลสำเร็จ แต่ละคนคงมีวิธีการจัดการที่ต่างกัน และแน่นอนครับว่าหนทางแห่งการพิชิตความมั่งคั่งจากการซื้อขายหุ้น “คุณ” สามารถกำหนดได้ด้วยตัวเอง เพราะกลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนในหุ้นจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการทำกำไรที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนเชื่อมั่นในความคุ้มค่าที่ควรจะลงทุนกับบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่อีกหลายคนก็ถนัดในการเก็งกำไรระยะสั้นหรือที่เรียกว่า “การวิเคราะห์ทางเทคนิค” ด้วย “Indicators” ซึ่งในบทความนี้เราจะสอดแทรกองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับ Indicator หุ้นคืออะไร, Indicator หุ้นทั้งหมดมีอะไรบ้าง รวมถึง Indicator ที่นิยมใช้คือตัวไหน ซึ่งใครที่กำลังตัดสินใจจะลงทุนก็สามารถศึกษาและรวมกันแชร์องค์ความรู้ในบทความนี้ได้เลยครับ

    Indicators หุ้น คืออะไร

    ดัชนีชี้วัดในหุ้น หรือ Technical Indicators in Trading คือ เครื่องมือประเภทหนึ่งที่จะนำค่าตัวเลขหรือข้อมูลของหุ้นและอนุพันธ์มาผ่านการคำนวณตามหลักทางคณิตศาสตร์เพื่อนำเสนอ แบ่งแยก หรือจัดเรียงข้อมูลตัวเลขนั้นๆ ออกมาให้เราได้ศึกษาได้อย่างเข้าใจมากยังขึ้น เช่น รูปแบบแนวโน้ม (Trend), ความผันผวน (Volatility) และโมเมนตัม (Momentum) เป็นต้น โดยที่ตัวเลขหรือข้อมูลนั้นๆ จะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับราคา จำนวนการ หรือ ดัชนีอ้างอิงการซื้อขายของหุ้นในตลาด ณ ขอบเขตเวลาที่สนใจ โดยจะนำค่า


    การเทรดในสนามจริง คุณสามารถเลือกอาวุธในการวิเคราะห์หุ้นแบบเชิงเทคนิคที่มีอย่างหลากหลาย ควรพิจารณาใช้จากความถนัดและความเหมาะสมของแต่ละเทรดเดอร์ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีชี้วัด (Indicators), แนวโน้ม (Trend) รูปแบบราคา (Chart Patterns), แนวรับ-แนวต้าน (Support & Resistance) และ รูปกราฟ (Candlestick) 


    โดยทั่วไปแล้วการนำดัชนีชี้วัด (Indicators) มาใช้ในการวิเคราะห์หุ้นและอนุพันธ์ก็เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเราได้เลือกซื้อหรือขายหุ้นได้ถูกจังหวะถูกเวลา และมีความเป็นไปได้สูงที่การเลือกซื้อหุ้นตัวดังกล่าวจะต้องมีทิศทางเคลื่อนที่ด้วยราคาที่สูงขึ้นหรือจะต้องทำกำไรอย่างงดงามเมื่อเราตัดสินใจขายออกไป วิธีนี้เรียกว่า การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (Technical Analysis) ด้วยเหตุนี้เองทำให้การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยบริษัทพื้นฐานหรือการดูบริบทการบริหารงาน (Fundamental Analysis) จึงไม่สามารถตอบคำถามได้โดยตรงว่าเราควรจะซื้อหุ้นนี้ตอนไหน แต่จะช่วยให้เราค้นหาบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรแบบระยะยาว


    Indicator หุ้นมีอะไรบ้าง/Indicator หุ้นทั้งหมด

    ปัจจุบันดัชนีชี้วัดมีให้เลือกใช้กันเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากจะให้แบ่ง Indicators สามารถแยกออกเป็น  ประเภทดังนี้


    1.  ดัชนีชี้วัดทิศทางแนวโน้ม (Trend Following Indicators)

    จะช่วยให้เข้าใจถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของหุ้นที่สนใจ และเป็นการเทสตลาดว่าในขณะนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งเครื่องมือลักษณะนี้นักลงทุนจะไม่มีปัญหากับการใช้งาน เพราะเพียงแค่ศึกษาผ่านการประเมินภาพรวมของราคาที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น MACD, Moving Average, SAR เป็นต้น


    2.  ดัชนีชี้วัดที่คำนวณแรงเหวี่ยงของราคา (Momentum indicators)

    มักจะนำมาใช้ในการพิจารณาวัดระหว่างราคาล่าสุดกับราคาก่อนหน้า โดยระยะห่างระหว่างจะมีค่าอยู่ที่ 0 ถึง 100 และนำเสนอสัญญาณของ  Overbought (โซนที่มีการซื้อเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดแรงขายกลับคืนมา) กับ Oversold (โซนที่มีการขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดแรงซื้อกลับคืนมา) เครื่องมือประเภทนี้จะเป็นพวก RSI, CCI และ Stochastics เป็นต้น


    ซึ่งถ้าค่าของ Momentum มีค่าต่ำกว่า 100 นั่นคือสัญญาณของทิศทางราคาต่ำลง เพราะแท่งเทียนปิดราคาล่าสุดต่ำกว่าในอดีต ในทางกลับกันถ้าค่าของ Momentum มีค่าสูงกว่า 100 นั่นคือสัญญาณของทิศทางราคาสูงขึ้น เพราะแท่งเทียนปิดราคาล่าสุดสูงกว่าในอดีต


    3.  ดัชนีชี้วัดความผันผวนของราคา (Volatility indicators) 

    ดัชนีประเภทนี้จะนำมาใช้ในการวัดความผันผวนหรือการขึ้นลงของราคา โดยนักลงทุนจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการหาโอกาสเพื่อทำการซื้อขาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นช่องทางที่ทำกำไรได้อย่างคุ้มค่า เทรดเดอร์ทั้งหลายจึงนิยมใช้เครื่องมือคุณภาพชิ้นนี้เป็นหลัก เช่น ATR, Bollinger Bands, และ Historical Volatility เป็นต้น

    ข้อดีของการใช้ Indicator หุ้น

    (1) การเริ่มต้นที่ดีของนักลงทุน

    จริงๆ แล้วการเทรดหุ้นโดยใช้องค์ความรู้พื้นฐานหรือกลยุลธ์แบบเกร็งกำไรระยะยาวอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ แต่ถ้าหากต้องการใช้เทคนิคเพื่อตัดกำไรจริงๆ แล้วล่ะก็ การนำเครื่องมือ Indicators ไปใช้อย่างถูกต้องจะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเพิ่มอัตราการได้มากกว่าการเสีย ทั้งนี้การศึกษาจากตัวอย่างการใช้ถือเป็นเรื่องจำเป็น


    (2) สร้างแนวทางที่ทำตามได้

    ดัชนีชี้วัดในแบบต่างๆ ทุกตัวจะมีเอกลักษณ์และลักษณะพิเศษไปตามหน้าที่ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์ที่ดีต่อการเลือกเป็นแบบอย่างในการลงทุน ทั้งนี้สำหรับใครที่ยังใหม่ต่อตลาดหุ้นหรือยังจับทางการลงทุนไม่ถูก เครื่องมือเหล่านี้จะเป็นแบบจำลองที่ดีและง่ายที่สุดที่คุณสามารถเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดหรือการผันผวนต่ำ


    (3) ยกระดับกลยุทธ์การเทรดหุ้น

    อย่างที่เราทราบดีว่าดัชนี้ชี้วัดอาจไม่ได้เป็นกลยุทธ์การเทรดทางตรง แต่ก็สามารถนำมาเป็นกำลังหลักสำคัญที่จะช่วยระบุโอกาสในการทำเงินภายใต้สภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาด เพราะคุณเองต่างหากที่จะเป็นผู้สร้างยุทธวิธีในการเลือกใช้ Indicators ตัวนั้นมาร่วมพิจารณากับตัวนี้ให้เกิดความเหมาะสมเกื้อกูลกัน


    (4) เลือกสิ่งทีดีที่สุดให้

    การพัฒนาแนวคิดในการลงทุนอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือตัวเก่งมาช่วยบริหารจัดการ เพื่อหาจุดในการเข้าซื้อขายที่เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด ทั้งนี้จะต้องเป็นไปในทางที่ลดโอกาสด้านความเสี่ยงต่อพอร์ตลงทุนของคุณ เช่น เทรดเดอร์ที่กำลังมองหาการทำกำไรระยะยาว ควรใช้เครื่องมือประเภท trend- following indicators อย่าง moving average แต่ถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ต้องการเกร็จกำไรในระยะสั้น ควรเลือกใช้ volatility indicators 

    ข้อเสียของการใช้ Indicator หุ้น

    (1) เลือกใช้การเทรดแบบอัตโนมัติ

    หลายท่านคงเคยได้ยินการออกมาโปรโมตวิธีการตั้งค่าการเทรดแบบอันโนมัติโดยใช้เครื่องมือดัชนีชี้วัดเหล่านี้เป็นตัวกำหนดจุดเข้าซื้อและจุดขายออก เชื่อไหมครับว่ามีเทรดเดอร์หลายต่อหลายคนต้องเสียต้นทุนแบบยกพอร์ตด้วยวิธีนี้มาแล้ว ถึงแม้เครื่องมือจะช่วยลดภาระความรับผิดชอบจากคุณได้เยอะแต่ในสภาวะที่ตลาดไม่ปกติการวิเคราะห์ด้วยตัวของคุณเองถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด


    (2) ไม่แม่นยำเสมอไป

    การวิเคราะห์ในเชิงเทคนิคจะใช้สำหรับการดูแนวโน้มในอนาคต ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้การันตีผลลัพธ์ว่าจะออกมาเหมือนที่คาดการณ์ไว้ 100% ทั้งนี้ดัชนีชี้วัดอาจไม่ได้ช่วยให้คุณได้กำไรอย่างที่ต้องการ แต่ยังทำให้คุณพลาดโอกาสการสร้างความมั่งคั่งในอนาคตได้อีกด้วย เช่น คุณใช้เครื่องมือในการตั้งจุดขายไว้ยังจุดหนึ่ง แต่เวลาผ่านไปไม่นานราคาหุ้นกลับมาราคาสูงขึ้นแซงหน้าจุดขายที่คุณตั้งเอาไว้


    (3) เครื่องมือเดียวกัน แต่ผลการพยากรณ์ต่างกัน

    การวิเคราะห์ในหุ้นตัวเดียวกันของเครื่องมือสองชนิดอาจให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันก็ได้ เพราะธรรมชาติของดัชนีชี้วัดที่ถูกออกแบบมาด้วยข้อมูลเดียวกันแต่เทคนิคต่างกัน อาจจะสร้างความไม่มั่นใจให้แก่เทรดเดอร์ จนนำไปสู่การขาดทุนก็เป็นได้


    (4) ผลเสียจากการผสมดัชนีชี้วัด

    เป็นเรื่องที่น่าสนใจถ้าคุณเกิดความชำนาญจนกระทั่งสามารถนำเครื่องมือถึงสองอย่างมาร่วมกันหาแนวโน้มในการเทรดได้ แต่อย่าวางใจไปเพราะในบางครั้งดัชนีตัวหนึ่งอาจบอกให้คุณทำการซื้อ แต่อีกตัวหนึ่งบอกให้คุณรีบขายก่อนที่จะขาดทุนไปมากกว่านี้ เท่ากับว่าวิธีการเช่นนี้อาจสร้างความสับสนให้กับคุณได้ไม่น้อยเลย

    เทรดหุ้นด้วย Indicators ต่างๆ ที่ Mitrade อย่างฟรี

    MiTrade เป็นโบรกเกอร์ CFD (ชื่อเต็ม Contract for Difference ภาษาไทยเรียกว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและได้รับความนิยมจากนักลงทุนไทยอย่างมาก Mitrade ได้เปิดให้นักลงทุนสามารถเทรด 35 หุ้นของบริษัทยักษัใหญ่ได้ รวมถึง Facebook, Google, Apple, Amazon, Adobe, Walt Disney, Microsoft, Walmart และ Alibaba เป็นต้นและจะเปิดให้มากขึ้นอีกต่อไป


    แพลตฟอร์มการเทรดของ MiTrade ได้เสนอเครื่องมือและบริการหลากหลายเพื่อสนับสนุนความต้องการในการเทรดของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นกราฟราคาแบบเรียลไทม์ที่แสดงแนวโน้มการเคลื่อนไหวของคู่สกุลเงินต่าง ๆ พร้อมทั้งเครื่องมือช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ เช่น การตีเส้นแนวโน้ม, พิชฟอร์ค, การวาดบรัชและเครื่องมือช่วยวัดระยะ ฯลฯ เพื่อเพิ่มความแม่นยำการคาดการณ์ให้มากขึ้น


    นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกปรับรูปแบบกราฟราคาได้ตามความต้องการ เช่น กราฟบาร์ (Bar Chart), กราฟแท่งเทียน, กราฟแท่งเทียนแบบกลวง, กราฟไฮเกน อาชิ, กราฟเส้นฐาน กราฟเส้นที่เห็นพื้นที่ใต้กราฟ ฯลฯ ทั้งยังสามารถเลือกช่วงกรอบราคา (Time frame) ได้ด้วย รวมถึงรอบราคา M1, M5, M15, M30, H1, H2, H4, D1, W1, M1 ในแบบที่ประยุกต์ใช้ได้กับทุกรูปแบบในการวิเคราะห์ทางเทคนิค


    MiTrade ได้เสนอ Indicators หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกใช้ครบทุกความต้องการที่จำเป็น ทั้ง Indicators ยอดฮิตอย่าง Simple Moving Averages (SMA), Exponential Moving Averages (EMA), Moving Average Convergence Divergence (MACD), Relative Strength Index (RSI),Momentum, Bollinger Bands, Commodity Channel Index (CCI), TRIX, Average True Range (ATR), Weighted Moving Average ฯลฯ เป็นต้น


    การตั้งค่า Indicators กับ MiTrade


    mitrade
    เทรด Forex ด้วยค่าคอม ฯ 0 และสเปรดต่ำ!


    dago กำกับดูแลโดยหน่วยงานการเงินที่มีอำนาจ
    dago เปิดบัญชีง่ายและเร็วภายใน 3 นาที
    dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
    dago เงินเสมือนจริงฟรี $50, 000 ดอลลาร์
    การลงทุนมีความเสี่ยง อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
    ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

    สรุป

    ดัชนีชี้วัดอาจเป็นปัจจัยสำคัญของการประสบความสำเร็จในการทำกำไรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่นักลงทุนส่วนใหญ่พยายามเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการเทรดของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามความมั่งคั่งจากการเทรดหุ้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องนำดัชนีเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจก็ได้ เพราะมีเทรดเดอร์หลายต่อหลายคนที่สร้างผลกำไรอย่างมหาศาลจากการพิจารณาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วสำหรับผู้อ่านล่ะครับท่านคิดเห็นอย่างไร? หากได้ศึกษาและทำความเข้าใจในบทความข้างต้นแล้ว ก็คงจะพอทราบว่า Indicator หุ้นมีอะไรบ้าง, Indicator หุ้นทั้งหมดมีอะไรบ้าง รวมถึง Indication ที่นิยมใช้คือตัวไหน ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกรวบรวมมาให้แก่เทรดเดอร์ทุกๆ ท่านที่ต้องการสร้างพอร์ตการลงทุนให้แข็งแกร่งและเติบโตในทุกๆ สภาวการณ์ของตลาดที่จะเกิดขึ้น

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน