เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

กองทุนดัชนีคืออะไร? ซื้อกองทุนดัชนียังไง?

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 24 มี.ค. 2566 08:22 น.
11338
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย

กองทุนดัชนี เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกๆ ในปี 1970 (2513) และ กำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำ และ ผลตอบแทนในระยะยาวใกล้เคียงกับภาพรวมของตลาด โดยในปี 2018 (2561) ข้อมูลจาก Morningstars ระบุว่า นักลงทุนได้มีการลงทุนในกองทุนรวมดัชนีเพิ่มขึ้นรวม USD 458,000 ล้าน ขณะที่เปรียบเทียบกับกองทุน Active Fund พบว่ามีเงินลงทุนไหลออกสุทธิ (Outflows) จำนวน USD 301,000 ล้าน จะเห็นได้ว่า ความนิยมในกองทุนรวมดัชนี (Passive Fund) กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับกองทุน Active Fund สำหรับบทความนี้จะแนะนำว่ากองทุนดัชนีคืออะไรและซื้อกองทุนดัชนียังไง มาดูกันนะครับ

กองทุนรวมดัชนีคืออะไร

กองทุนดัชนี (Index Fund) ก็คือกองทุนรวมประเภทหนึ่งที่บริหารจัดการแบบ Passive Management โดยกองทุนจะซื้อหลักทรัพย์ทุกตัวที่ประกอบกันเป็นดัชนีตลาด ตามนโยบายของกองทุน เราสามารถสังเกตได้จากชื่อกองทุน ว่า กองทุนดังกล่าวเลือกลงทุนในดัชนีอ้างอิงไหน เช่น

 

S&P 500 คือ ดัชนีอ้างอิงที่รวมหุ้นในสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 500 ตัวแรก

SET 50 คือ ดัชนีอ้างอิงที่รวมหุ้นขนาดใหญ่ 50 ตัวแรกที่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

NAS 100 คือ ดัชนีอ้างอิงที่รวมหุ้นขนาดใหญ่ 100 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ


ดังนั้น หากเราลงทุนในกองทุนรวมดัชนี S&P 500 ก็จะเปรียบเสมือนว่า เราซื้อหุ้นทั้ง 500 ตัว ที่ประกอบกันเป็นดัชนี S&P 500 และ การที่กองทุนซื้อหลักทรัพย์ทุกตัวตามดัชนีตลาด ก็เพือที่จะต้องการให้ผลตอบแทน และ ความเคลื่อนไหวของกองทุน คล้ายคลึงกับดัชนีมากที่สุด เช่น หากดัชนี S&P 500 ปิดตลาดลดลง 5% มูลค่าของกองทุน หรือ NAV ก็จะลดลงใกล้เคียงกับ 5% เช่นกัน


ขอยกตัวอย่างกองทุนรวมดัชนี S&P 500 ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของนักลงทุน คือ กองทุน The Vanguard 500 Index Fund ที่จัดตั้งมาตั้งแต่ปี 1976 โดย John Bogle และ ในปี 2019 ที่ผ่านมากองทุนมีผลตอบแทนทั้งปีอยู่ที่ 31.46% ขณะที่ดัชนี S&P 500 มีผลตอบแทนในปีดังกล่าวอยู่ที่ 31.49% ซึ่งมีความใกล้เคียงกันมาก


15925485587901

Source : https://advisors.vanguard.com/iippdf/pdfs/FS540.pdf

กองทุนรวมดัชนีมีประโยชน์อย่างไร? ทำไมถึงที่เป็นที่นิยมของนักลงทุน?

นประหยัดต้นทุน เพราะกองทุนรวมดัชนีมีต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำกว่า Active Fund เนื่องจากกองทุนรวมดัชนี เป็น Passive Fund ไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการคัดเลือกหุ้น (Stock Selection Process) จึงไม่จำเป็นต้องใช้นักวิเคราะห์หุ้น หรือ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง กองทุนเพียงแต่ลงทุนในหุ้นตามดัชนีอ้างอิงเท่านั้น และ กองทุนไม่จำเป็นต้องทำ Market Timing ซึ่งจะให้กองทุนมี Trading Cost ที่ต่ำกว่า Active Fund


  ●   นักลงทุนได้ผลตอบแทนที่ดี เพราะกองทุนรวมดัชนีมีผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่า Active Fund เนื่องจากกองทุนรวมดัชนี จะมีค่าใช้จ่ายของกองทุน (Expense Ratio) ที่ต่ำกว่า Active Fund แล้ว จากสถิติยังพบว่า Active Fund ส่วนใหญ่ จะไม่สามารถเอาชนะดัชนีตลาดได้ในระยะยาว โดยในเดือนธันวาคม 2561 งานศึกษาโดย SPIVA Scorecard พบว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา กองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐจำนวน 82% มีผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนี S&P 500 แต่ในระยะสั้นๆ เราอาจพบว่า กองทุน Active Fund อาจจะจะสามารถชนะตลาดได้


  ●   นักลงทุนลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะกองทุนรวมดัชนีจะมีความเสี่ยง ที่ต่ำกว่ากองทุน Active Fund เนื่องจากกองทุนรวมดัชนี ลงทุนในหุ้นจำนวนมากตามดัชนี ดังนั้น จึงลดความเสี่ยงในกรณีที่หุ้นตัวในดัวนึงมีผลตอบแทนที่แย่ เช่น กองทุนรวมดัชนี S&P 500 ลงทุนในหุ้นมากถึง 500 ตัว ดังนั้นนักลงทุนจึงสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Active Fund ที่เลือกลงทุนจากกระบวนการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะมีการกระจุกตัวของการลงทุน ไม่ได้มีการกระจายความเสี่ยง และ ในบางกรณีหากผู้จัดการกองทุน ตัดสินใจเลือกลงทุนที่ผิดก็จะกระทบต่อผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนควรจะได้


  ●   เป็นวิธีการลงทุนที่ง่าย เคยมีคนถาม นักลงทุนระดับโลก Warren Buffett ว่า จะแนะนำคนที่เป็นมือใหม่ไม่มีความรู้มากนักว่าจะเริ่มต้นการลงทุนอย่างไร? Buffett เค้าตอบว่า ให้ลงทุนในกองทุนดัชนี เช่น S&P 500 Index Fund โดยให้ลงทุนสม่ำเสมอ และ ถือไปเรื่อยๆในระยะยาว โดยเค้ามองว่า ในระยะยาวกองทุน Active Fund ส่วนใหญ่จะทำผลตอบแทนได้น้อยกว่าตลาด และ มีเพียงกองทุนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะชนะตลาดได้ในระยะยาว ประกอปรกับกองทุนรวมดัชนียังมีค่าธรรมเนียมต่ำ เราจึงควรซื้อกองทุนรวมดัชนีและถือไว้ในระยะยาว


ข้อเสียของการลงทุนในกองทุนรวมดัชนี

อย่างไรก็ตามกองทุนรวมดัชนี ก็อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างเช่นกัน


  ●   อาจจะได้หุ้นที่ไม่ชอบ…เนื่องจากกองทุนรวมดัชนี จะลงทุนหุ้นทุกตัวที่ประกอบเป็นดัชนีอ้างอิง ดังนั้นหุ้นที่กองทุนเลือกลงทุนจะไม่ใช่หุ้นทุกตัวที่เราชอบ


  ●   กองทุนรวมดัชนีจะไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทนชนะตลาด เนื่องจากกองทุนลงทุนในหุ้นตามดัชนีตลาด ดังนั้นในกรณีที่ดีที่สุด คือ ได้ผลตอบแทนเทียบเท่าตลาด แต่ไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทนชนะตลาด ต่างจากกองทุน Active Fund มีการคัดเลือกหุ้นที่ลงทุนโดยนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน ดังนั้นจึงมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงหรือต่ำกว่าตลาด


เราจะลงทุนในกองทุนรวมดัชนีได้อย่างไร?

กองทุนรวมดัชนี ถูกออกแบบมาให้ง่ายสำหรับนักลงทุนรายย่อย เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในหุ้นรายตัว หรือ กองทุนรวมประเภทอื่นๆ ดังนั้น นักลงทุนอาจจะไม่ต้องศึกษาข้อมูลหรือลงรายละเอียดในหุ้นแต่ละตัวมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาว่า จะลงทุนในดัชนีอ้างอิงในหุ้นประเภทใน เช่น


หากนักลงทุนสนใจลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ก็จำเป็นต้องศึกษาว่า จะลงทุนในดัชนีอ้างอิงไหน โดยดัชนีอ้างอิงสำหรับหุ้นสหรัฐอเมริกา ที่ได้รับความนิยมได้แก่ S&P 500 (หุ้นขนาดใหญ่ 500 ตัวแรกของสหรัฐ) หรือ NAS 100 (หุ้นขนาดใหญ่ 100 ตัวแรกของ ตลาดหุ้น NASDAQ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นที่เน้นบริษัททางด้านเทคโนโลยี) โดยแตกต่างจาก S&P 500 ตรงที่จะเน้นไปในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ขณะที่ S&P 500 จะประกอบไปด้วยบริษัทจากหลากหลายอุตสาหกรรม

15925490895667

Source : https://www.sharesmagazine.co.uk/article/stocks-and-sectors-that-move-the-sp-500-and-nasdaq


หรือ หากนักลงทุนสนใจลงทุนในตลาดหุ้นจีน (ฮ่องกง) ซึ่งจีนมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงก็อาจพิจารณาดัชนี Hong Kong 50 (Hang Seng China 50 Index) ซึ่งประกอบไปด้วยหุ้นขนาดใหญ่จำนวน 50 ตัวแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (Hong Kong) เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) และ เซินเจิ้น (Shenzhen) ซึ่งจะมีหุ้นขนาดใหญ่ที่น่าสนใจ เช่น Tencent, Ping An, China Construction Bank, ICBC, Bank of China เป็นต้น


เมื่อนักลงทุนเลือกดัชนีอ้างอิงที่สนใจได้แล้ว…ก็จะตามมาด้วยการเลือกกองทุนที่ลงดัชนีดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ผลตอบแทนจะมีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากกองทุนเพียงแค่ลงทุนในหุ้นตามที่ประกอบกันเป็นดัชนี แต่ปัจจัยที่จะทำให้ผลตอบแทนกองทุนแตกต่างกัน คือ ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน ค่าบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนด้วยหากเราเลือกลงทุนเป็นสกุลเงินบาท รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อขายกองทุนด้วย ดังนั้นนักลงทุนควรนำผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน และ ดัชนีอ้างอิงที่สนใจ มาเปรียบเทียบกันว่า กองทุนไหนสามารถบริหารจัดการให้มีผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด จากนั้นนักลงทุน ก็เริ่มเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนได้ กับ โบรคเกอร์ หรือ ธนาคารพาณิชย์ (ส่วนใหญ่จะมีบริการซื้อขายกองทุน) โดยพิจารณาส่า กองทุนที่เราสนใจนั้นมีให้บริการซื้อขายกับตัวแทนจำหน่ายที่ไหนบ้าง รวมถึงความสะดวกในการเปิดบัญชีและค่าธรรมเนียมต่างๆ


สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกองทุนดัชนีครับ แต่ยังคุ้นเคยเฉพาะหุ้นไทยเท่านั้น ก็อาจพิจารณาเลือกลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้นไทยได้ เช่น SET Index Fund (ลงทุนหุ้นทุกตัวในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย), SET 50 Index Fund หรือ SET 100 Index Fund จะลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่สุด 50 หรือ 100 ตัวแรก นอกจากนี้ยังกองทุนที่ลงหุ้นไทยเฉพาะบางหมวดอุตสาหกรรม เช่น SET Banking Index Fund หรือ SET Energy Index Fund ซึ่งจะลงทุนหุ้นทุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมธนาคาร และ พลังงาน

นอกจากกองทุนรวมดัชนีแล้ว เราก็สามารถลงทุนในดัชนี CFD ได้

นอกเหนือจากการลงทุนในกองทุนรวมดัชนีแล้ว สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนดัชนีแต่มีเงินทุนน้อย สามารถลงทุนในดัชนีได้โดย ผ่านผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า CFD(Contract for Difference) กับ Mitrade โดยมีข้อดีมากกว่าการลงทุนโดยตรงในสินทรัพย์อ้างอิง


*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

Mitrade
มุมมองการลงทุนเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลทางด้านการเงินภายใต้ Mitrade ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงินที่สมบูรณ์ สภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ ข่าวที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึก
บทความยอดนิยม
อ่านมากที่สุด
ข่าวล่าสุด
  • ต้นฉบับ
  • กลยุทธ์การเทรด
  • อ่านมากที่สุด
    ข่าวล่าสุด
คุณได้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย