ในปัจจุบันการซื้อหุ้นเป็นที่นิยมมากขึ้นสำหรับนักเทรด ซึ่งนั่นเป็นเพราะหุ้นมีความเสี่ยงสูงกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ อย่าง พันธบัตรหรือหุ้นกู้ และเป็นความเสี่ยงในแบบที่หากเราสามารถจัดการได้ก็สามารถสร้างกำไรที่มากกว่าปกติได้ แต่สำหรับนักเทรดที่รับความเสี่ยงได้สูงมากไปกว่านั้นก็ยังมีสินค้าอย่างหุ้นอนุพันธ์ที่เป็นสัญญาอนุพันธ์ที่อ้างอิงบนราคาหุ้น และทำให้สินทรัพย์ตัวนี้มีความเสี่ยงสูงขึ้น และให้ผลตอบแทนได้มากขึ้นตามไปด้วย
และสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่ยังลังเลไม่รู้จะเริ่มต้นกับการซื้อหุ้นยังไง จะเริ่มเทรดหุ้นอนุพันธ์ได้ที่ไหน บทความนี้เราเตรียมคำตอบมาให้แล้วแบบ step-by-step เลย
การซื้อหุ้นในประเทศไทยมีวิธีที่ปลอดภัยที่สุดก็คือการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งนักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการนี้ได้ด้วยการเปิดพอร์ตการลงทุนกับบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์และเข้าไปใช้ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่โบรกเกอร์จัดหาไว้ให้สำหรับลูกค้า หลังจากนั้นก็สามารถเริ่มต้นการซื้อหุ้นได้ทันที ซึ่งเราจะมาลงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนดังนี้
เปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์
วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับการเปิดบัญชีซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ก็คือการเปิดบัญชี Cash Balance ที่เป็นรูปแบบการซื้อขายหุ้นแบบ Prepaid ซึ่งวิธีนี้โบรกเกอร์มักเรียกเอกสารจากนักลงทุนเพียงแค่สำเนาบัตรประชาชน สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร และเซ็นเอกสารการเปิดบัญชี/แต่งตั้งตัวแทนนายหน้าที่โบรกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้ก็เป็นอันเรียบร้อย และเนื่องจากบัญชีนี้ไม่มีการพิจารณาวงเงิน ทำให้ไม่ต้องเตรียมสเตทเมนท์รวมทั้งไม่ต้องรออนุมัติวงเงิน ทำให้นักลงทุนทั่วไปสามารถเปิดบัญชีได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการเปิดบัญชีประเภทอื่น
สำหรับการเลือกบริษัทหลักทรัพย์นั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของนักเทรดเอง เช่น
- ต้องการเปิดบัญชีเพื่อรับข้อมูลข่าวสารและบทวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ การเลือกเปิดพอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับความนิยมมายาวนานหรือบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นเครือของธนาคารจะเป็นโบรกเกอร์ที่มีข้อมูลทางเศรษฐกิจให้กับลูกค้ามากเมื่อเทียบกับบริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ
- ต้องการฟังก์ชั่นการใช้งานของแอพลิเคชั่น เครื่องมือเฉพาะทางอย่างโปรแกรมกราฟบางชนิด หรือฟังก์ชั่นโรบอทเทรด ฟังก์ชั่นเหล่านี้ไม่ได้มีให้บริการครอบคลุมกับทุกบริษัทหลักทรัพย์ นักเทรดจึงจำเป็นต้องทำการบ้านมาก่อน
- ต้องการความสะดวกของการทำงานร่วมกันระหว่างบัญชีหลักทรัพย์และบัญชีเงินฝาก ควรเลือกบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นบริษัทเดียวกับธนาคารหลักที่เลือกใช้ เพราะธนาคารจะมีฐานข้อมูลของเราอยู่แล้ว การเปิดบัญชีหลักทรัพย์เพิ่มจะไปเชื่อมกับบัญชีเงินฝากเดิมได้อัตโนมัติในแบบที่หากเปิดข้ามระหว่างบัญชีธนาคารและบัญชีหลักทรัพย์อาจมีอุปสรรคเล็กน้อยในการทำธุรกรรมการเงิน
หลังจากที่ยื่นเอกสารและเปิดบัญชีได้เรียบร้อยแล้ว นักเทรดสามารถโอนเงินเข้าบัญชีและเริ่มโหลดแอปพลิเคชั่นสำหรับการเทรดมาเตรียมไว้สำหรับการเริ่มซื้อหุ้นได้เลย
ขั้นตอนการเทรดหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ด้วยแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ
แอปพลิเคชั่นหลักของตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นแอปกลางสำหรับทำการซื้อหุ้นคือ Streaming ส่วน Streaming Pro นั้นจะสามารถเทรดได้ทั้งหุ้นและอนุพันธ์ ซึ่งแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ก็มักนำต้นแบบของ Streaming ไปพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นเทรดของตัวเองโดยยังคงฟังก์ชั่นการเทรดเอาไว้และเพิ่มฟังก์ชั่นอื่น ๆ เช่น บริการถอนเงิน บริการข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ รวมไว้ในแอปพลิเคชั่นเดียว ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าอีกทางหนึ่ง
บริษัทหลักทรัพย์ที่มีแอปพลิเคชั่นเทรดเป็นของตัวเอง เช่น บัวหลวงใช้ Aspen Bualuang Trade, กสิกรใช้ K-Cyber Trade, กิมเอ็งใช้ KEiTrade, ฟินันเซียใช้ Finansia HERO ซึ่งทั้งหมดแม้จะมีรายละเอียดบริการอื่น ๆ แตกต่างกันไป แต่จะมีฟังก์ชั่นการเทรดหลัก ๆ คล้ายกันและคล้ายกับ Streaming ทำให้หากนักเทรดมือใหม่เข้าใจการใช้งาน Streaming ก็สามารถนำไปใช้ซื้อหุ้นบนแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ได้ไม่ยาก
★ ตัวอย่างการเทรดหุ้นด้วย Streaming ★
ทำความรู้จักหน้าจอ Streaming สำหรับหน้าแรกที่เปิดเข้ามาเราจะพบหน้าภาพรวมของตลาดที่มีแถบด้านบนสุดเป็นแถบสรุปภาวะตลาด [ 1 ], มีแถบเมนู [ 2 ] ที่ใช้สำหรับเปลี่ยนมุมมองว่าเป็น SUM-ภาพรวมของตลาด, Watch-ใส่ลิสต์หุ้นที่จับตามอง, Quote-ดูข้อมูลเฉพาะหุ้นรายตัว, Bid-ดูแถบราคาเสนอซื้อ/ขายของหุ้นที่ลิสต์ไว้ และ Ticker ที่ไว้สำหรับดูรายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาด และแถบเครื่องมือ [ 3 ] ที่ใช้ดู Realtime-ภาวะตลาด, Buy/Sell-ไว้ส่งคำสั่งซื้อขาย, Portfolio-ไว้ดูพอร์ตการลงทุนและข้อมูลการเงินในพอร์ต, MyMenu-เป็นฟังก์ชั่นอื่น ๆ เช่นการจัดการข้อมูลส่วนตัว และปุ่มล็อกเอาท์
การเทรดหุ้นบน Streaming ทำได้โดยกดเลือกที่แถบเครื่องมือ Buy/Sell จะพบหน้าการซื้อขาย หากนักเทรดต้องการซื้อหุ้นให้กด Buy และกรอกชื่อหุ้นเช่น หุ้น AIS ใช้ตัวย่อว่า Advance และใส่จำนวนหุ้นพร้อมราคาที่ต้องการซื้อ ซึ่งระบบจะให้คอนเฟิร์มอีกครั้งด้วย pin 6 หลัก และกดยืนยัน Buy ได้เลย หลังจากนั้นจะมีป๊อบอัปสรุปการซื้อขายให้ก็กด confirm ระบบจะส่งคำสั่งซื้อให้ตามที่ระบุไว้
หากต้องการเปลี่ยนเป็นส่งคำสั่งขายหุ้น ให้กดเลือกแถบสีม่วง Sell แล้วใส่ชื่อหุ้น จำนวนและราคาที่ต้องการ และทำการยืนยันด้วย pin 6 หลัก ระบบก็จะส่งคำสั่งขายให้เช่นเดียวกัน
เมื่อส่งคำสั่งเรียบร้อยแล้ว คำสั่งทั้งหมดจะอยู่รวมกันในหน้า Portfolio ในแถบเครื่องมือด้านล่าง ซึ่งหากเข้ามาในหน้านี้แล้วคลิกเลือกแถบเมนูด้านบน [ 1 ] เป็น Portfolio จะเป็นการสรุปภาพรวมหุ้นในพอร์ตทั้งหมดที่มีว่ามีหุ้นตัวไหน ราคาต้นทุนเท่าไหร่ จำนวนเท่าไหร่ และปัจจุบันกำไรหรือขาดทุนอยู่ นอกจากนี้ในหน้า Portfolio ยังเป็นการแสดงแถบข้อมูลเลขบัญชีหลักทรัพย์ [ 2 ], รวมถึงจำนวนเงินและวงเงิน [ 3 ] ที่นักเทรดมีในพอร์ตการลงทุนนี้ด้วย
ซึ่งด้วยการส่งคำสั่งซื้อขายง่าย ๆ แบบนี้ก็ทำให้นักเทรดสามารถเริ่มซื้อขายหุ้นได้แบบชิล ๆ และเริ่มสร้างผลกำไรจากตลาดหุ้นได้แล้ว
ในตลาดหุ้นไม่ได้มีเพียงการลงทุนในหุ้นเท่านั้น แต่ยังมีสินค้าอีกชนิดที่กำลังได้รับความนิยมจากนักเทรดในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นก็คือหุ้นอนุพันธ์ หรือ ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอยู่กับราคาหุ้น
ทำความรู้จักหุ้นอนุพันธ์
ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความรู้จักกับตราสารอนุพันธ์กันก่อน การซื้อหุ้นอนุพันธ์เป็นการซื้อขายตราสารโดยที่ไม่ได้ทำให้นักเทรดเป็นเจ้าของหุ้นแต่อย่างใด ถึงอย่างนั้นนักเทรดก็สามารถทำกำไรจากส่วนต่างของราคาได้เหมือนการซื้อขายหุ้นทุกประการ เพียงแค่ตราสารอนุพันธ์นั้นมีอัตราทด (Leverage) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
รูปแบบการซื้อหุ้นอนุพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันได้แก่การซื้อขาย CFD
CFD หรือ Contract for Difference คือ เครื่องมือทางอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูงและมีราคาอ้างอิงเคลื่อนไหวตามราคาสินค้าอ้างอิงอย่างราคาหุ้น ทั้งยังใช้ประโยชน์จากอัตราทดทำให้นักลงทุนมีโอกาสทำกำไรจากการซื้อขายได้สูง ทำให้ CFD กลายมาเป็นตัวเลือกหลักของนักเทรดระยะสั้นด้วยข้อได้เปรียบหลากหลายประการ เช่น
ข้อได้เปรียบของการซื้อหุ้นอนุพันธ์ CFD
มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง ซื้อขายแล้วรับรู้ผลกำไรทันทีโดยไม่ต้องรอ T+2 เหมือนการซื้อขายหุ้น จึงเหมาะกับนักเทรดสั้นที่ต้องการสร้างกระแสเงินสดจากการซื้อหุ้น
ใช้ประโยชน์จากอัตราทดช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไร การซื้อขาย CFD อนุญาตให้นักเทรดวางเงินเพียงบางส่วนของมูลค่าสัญญา เช่น อัตราทดที่ 1:20 หมายถึงการวางเงิน 1 ส่วนของนักลงทุนสามารถทำกำไรได้เทียบเท่าเงินลงทุน 20 ส่วน ซึ่งเป็นการช่วยขยายความสามารถในการทำกำไรเช่นเดียวกับผลขาดทุน
ใช้เงินลงทุนน้อย การใช้อัตราทดทำให้นักเทรดวางเงินแค่ในจำนวนน้อยเพื่อเริ่มเทรด โดยที่ไม่จำเป็นต้องวางเงินค่าหุ้นทั้งหมด ทำให้ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นน้อยเหมาะกับนักลงทุนรายย่อย
ใช้ทำกำไรได้ทั้งแนวโน้มราคาหุ้นที่เป็นขาขึ้นและขาลง ด้วยการเปิดสถานะ Long เมื่อมองว่าราคากำลังเป็นขาขึ้น และการเปิดสถานะ Short หากมองว่าราคากำลังเป็นขาลง และสามารถทำกำไรได้จากทิศทางราคาทั้งสองรูปแบบ
ไม่มีค่าคอมมิสชั่น สเปรดต่ำ ทำให้ต้นทุนการซื้อขายไม่สูงและมีโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น
ช่วยให้นักลงทุนไทยเทรดหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศ เช่น FB, Google ได้
ขั้นตอนการซื้อหุ้นอนุพันธ์ CFD
การซื้อหุ้นอนุพันธ์ CFD มีขั้นตอนการซื้อขายไม่ต่างจากการซื้อหุ้นนัก นั่นคือจำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ โอนเงินเขาบัญชี และเริ่มทำการซื้อขาย แต่การซื้อหุ้นอนุพันธ์กับโบรกเกอร์ CFD นั้นมีขั้นตอนและวิธีการเรียบง่ายกว่าการซื้อหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ดังที่เราจะพาไปดูขั้นตอนการเทรดหุ้นอนุพันธ์ CFD กัน ซึ่งเริ่มต้นจาก
1) เลือกโบรกเกอร์ CFD ปัจจุบันมีโบรกเกอร์ CFD ให้เลือกใช้บริการได้หลากหลาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่นักเทรดมองข้ามไปไม่ได้เลยนั่นก็คือความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ ที่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของเงินทุนลูกค้า เช่น Mitrade ได้รับการกำกับดูแลจาก ASIC (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนออสเตรเลีย) และ หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA)
2) เปิดบัญชี เมื่อได้โบรกเกอร์ที่ต้องการแล้วนักเทรดสามารถลงทะเบียนเพื่อเปิดบัญชีได้ผ่านเว็บไซต์ของโบรกเกอร์เองโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงาน โดยเตรียมเอกสารเพียงเอกสารยืนยันตัวตนอย่างรูปถ่ายบัตรประชาชนหรือรูปถ่ายหนังสือเดินทาง ตัวอย่างเช่น การเปิดบัญชีกับ MiTrade ที่สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ MiTrade โดยใช้เวลาลงทะเบียนไม่กี่นาทีและสามารถเปิดบัญชีได้ภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที หลังจากนั้นก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อทำการซื้อขาย
3) เตรียมโหลดแอปพลิเคชั่นสำหรับการซื้อหุ้นอนุพันธ์ เช่น แอป MiTrade ที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS, Android และการล็อกอินใช้ผ่านหน้าเว็บไซต์ หลังจากนั้นก็สามารเริ่มส่งคำสั่งซื้อขายได้ทันที
★ ตัวอย่างการซื้อหุ้นด้วยแอป Mitrade ★
1) เลือกหุ้น เมื่อเปิดหน้าแอปพลิเคชั่น MiTrade จะพบหน้าจอที่มีแถบเครื่องมือและการแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งนักเทรดสามารถเลือกสินค้าที่จะเทรดได้โดยการไล่หาตามประเภทสินค้าบนแถบเมนู [ 1 ] หรือเลือกค้นหาหุ้นที่จะซื้อขายจากช่องค้นหา [ 2 ]
2) เปิดรูปแบบคำสั่งซื้อหรือคำสั่งขาย เมื่อได้หุ้นที่ต้องการแล้วนักเทรดสามารถคลิกเลือกฟังก์ชั่นการซื้อหรือขายได้บนแถบแสดงข้อมูลหุ้นได้เลย หลังจากนั้นจะมีป๊อบอัปให้ตั้งค่าคำสั่งโดยจะมีการตั้งค่าอัตโนมัติไว้เป็น Market Order [ 1 ] ซึ่งเป็นการซื้อขายแมทช์คำสั่งทันทีที่ราคาตลาด หรือหากต้องการเลือกตั้งราคารอไว้ก็คลิกเลือก Pending Order [ 2 ]
3) ตั้งค่าคำสั่งที่ต้องการเปิดสถานะ แอปพลิเคชั่น MiTrade มีฟังก์ชั่นการตั้งค่าสถานะครบในแบบที่นักเทรดมืออาชีพต้องการ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้อย่างง่ายดายบนหน้าจอเดียว เช่น การปรับแต่งปริมาณ การปรับแต่ราคา การจำกัดความเสี่ยงของสถานะด้วยจุด Take Profit, Stop Loss และ Trailing Stop Loss หลังจากนั้นเลือกส่งคำสั่งซื้อหรือขายได้ตามต้องการ
4) ปิดสถานะเพื่อรับรู้ผลกำไร เมื่อราคาปรับตัวไปถึงจุดที่คาดการณ์ไว้ก็ปิดสถานะเพื่อรับรู้ผลกำไรได้ทันที
และคราวนี้เราก็ได้มาทำความรู้จักการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ว่าสำหรับมือใหม่แล้วจะมีวิธีซื้อหุ้นยังไง จำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการซื้อหุ้นบ้าง และเมื่อต้องลงมือจริง ๆ แล้วจะมีวิธีซื้อหุ้นยังไงแบบ Step-by-Step เช่นเดียวกับการซื้อขายหุ้นอนุพันธ์ที่มีฟังก์ชั่นแอดวานซ์ขึ้นอีกขั้น แต่มีขั้นตอนการเทรดที่สะดวกและง่ายดายกว่ามากและมาพร้อมกับความได้เปรียบสำหรับนักเทรดอีกหลายประการซึ่งเหมาะกับนักเทรดระยะสั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้วยการเทรดที่ง่าย สภาพคล่องที่สูง และความผันผวนที่เอื้อต่อการทำกำไร และหวังในท้ายที่สุดว่าขั้นตอนเริ่มต้นเหล่านี้จะกลายเป็นบันไดขั้นแรกที่นักเทรดมือใหม่ทุกคนนำไปใช้ได้ทำกำไรได้แบบที่ไม่ยากเลย
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง