CFD เป็นการลงทุนตราสารซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้สูญเสียเงินทุนได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเลเวอเรจ คุณควรตรวจสอบตนเองว่าคุณเข้าใจวิธีการทำงานของ CFD หรือไม่ และคุณสามารถที่จะรับความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุนที่สูงนี้ได้หรือไม่
    Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Price action คืออะไร? เคล็ดลับการเทรด Forex ด้วย Price Action

    6 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 27 ก.ค. 2566 09:11 น.
    Lloyd Luo

    การเทรด Forex ไม่ใช่การเสี่ยงดวง เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มักมีเครื่องมือและวิธีการเฉพาะเป็นของตัวเอง แต่ในนั้นจะมีคนอยู่ประเภทหนึ่งที่อยู่ดี ๆ ก็เปิดกราฟเปล่าขึ้นมา นั่งมองมันสักพัก แล้วก็ส่งออเดอร์เลย! ทำให้คนที่มองอยู่อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำแบบนี้ก็ได้ด้วยเหรอ!?!?

     

    แต่สำหรับวิธีนี้บอกเลยว่า ทำได้ เพราะนั่นเป็นการเทรดที่มีวิธีคิดและหลักการรองรับ ไม่ใช่การนั่งเทียนเทรดอย่างที่ใครเข้าใจ วิธีนี้เป็นการวิเคราะห์และคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Price Action


    Price action คืออะไร

    เนื่องจากราคาที่เกิดขึ้นในตลาดทุกขณะเป็นผลมาจากการปะทะกันของแรงซื้อและแรงขาย Price Action จึงนำพฤติกรรมของราคาในอดีตที่สะท้อนการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อและแรงขายเหล่านี้มาใช้คาดการณ์ทิศทางและรูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต บนความเชื่อที่ว่าตลาดเคลื่อนที่เป็นแนวโน้ม (Trend) การที่ตลาดปรับตัวขึ้นเป็นผลมาจากแรงซื้อที่เอาชนะแรงขาย จนเมื่อแรงซื้ออ่อนกำลังลงและแรงขายกลับมาเอาชนะแรงซื้อได้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้มกลับเป็นขาลง

     

    Price Action มักใช้กราฟราคาเป็นเครื่องมือหลักในการวิเคราะห์ เนื่องจากกราฟราคาสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกราฟแท่งเทียน (Candlestick Charts/ Pin Bars) ที่ช่วยให้เห็นทิศทางการต่อสู้ระหว่างแรงซื้อและแรงขายได้ชัดเจนที่สุด

    หน้าตาของ Price action

    Inside bar

    การเกิด Inside Bar คือราคาของแท่งถัดไปนั้นเคลื่อนไหวไม่สูงและไม่ต่ำกว่ากราฟช่วงก่อนหน้า รูปแบบของการเกิด Inside Bar มีหลายความหมาย เช่น การเกิด Breakout หลังจากที่เกิด Inside Bar มีทั้งรูปแบบ Bullish และ Bearish


    Outside bar

    รูปแบบ Outside Bar ที่เรียกแบบนี้เพราะเป็นแท่งสุดท้ายที่ปรากฏอยู่นอกกรอบของของแท่งก่อนหน้า จะเห็นว่าแท่งสุดท้ายจะใหญ่กว่ากว้างกว่าทั้ง ราคา High และราคา Low ถึงเรียก Outside Bar เพราะหลุดออกมาจากข้างนอกของกรอบราคาก่อนหน้า


    การเกิดการหลุดกรอบแบบนี้เพราะว่าราคาหลุดลงต่ำแต่ดีดกลับไปปิดในฝั่งตรงข้าม สัญญาณการดีดกลับนั้นจึงใช้เป็นสัญญาณชี้ในด้านถัดไป


    Up bar

    เกิดขึ้นเมื่อราคามีแนวโน้มขาขึ้น จึงมีจุดสูงสุดของแท่ง (High) และ จุดต่ำสุดของแท่ง (Low) สูงกว่าแท่งก่อนหน้า โดยทั่วไปแล้วจะเป็น bar แท่งเทียนสีเขียว (Close Price สูงกว่า Open Price) แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะบางทีอาจจะพบแท่ง Up bar สีแดง (Close Price ต่ำกว่า Open Price) ได้เช่นกันตราบใดที่ High และ Low สูงกว่าแท่งก่อน ๆ


    Down bar

    ชื่อก็บอกแล้วว่า Down มันจึงตรงข้ามกับ Up bar เป็น bar ที่มี High และ Low ต่ำกว่าแท่งก่อนหน้า ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงกราฟราคาขาลง และโดยทั่วไปแล้วจะพบ bar สีแดง (Close Price ต่ำกว่า Open Price) แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะในบางครั้งอาจพบแท่ง Down bar สีเขียวก็ได้ ตราบใดที่ High และ Low ยังเตี้ยกว่าแท่งก่อนหน้านั่นเอง


    Pin bar

    แท่งนี้จะเป็น candlestick ที่มีลักษณะเหมือนเข็มยาวแหลม หรือที่เรียกว่าไส้เทียน ซึ่งหากไส้เทียนยาวออกด้านล่าง และ Close Price อยู่ด้านบนจะเรียก Bullish pin bar อันนี้แสดงว่าเกิดแรงขายในช่วงของวันนั้น แต่ในตอนท้ายก็มีความต้องการซื้อดึงกลับมา และในกรณีตรงกันข้ามหากไส้เทียนหรือเข็มพุ่งขึ้นด้านบนและ Close Price อยู่ข้างล่าง จะเรียก Bearish pin bar แปลว่าในช่วงวันนั้น มีความต้องการซื้อซึ่งทำให้ราคาขึ้นสูง แต่ท้ายที่สุดก็มีความต้องการขายที่มากกว่าทำให้ราคาตกลงมา


    มีอะไรอยู่ในกราฟแท่งเทียน

    แท่งเทียนสีเขียว (White Candlestick) เป็นแท่งเทียนที่มีราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด แสดงถึงแรงซื้อที่แข็งแกร่ง ทำให้ราคามีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อในอนาคต โดยเฉพาะหากมีราคาปิดที่สูงจนไม่มีไส้เทียนด้านบน ที่แสดงถึงแรงซื้อที่สามารถเอาชนะแรงขายได้อย่างสมบูรณ์ การปรับตัวขึ้นของราคาในแท่งเทียนถัดไปจะเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง

    รูปภาพที่แสดง กราฟแท่งเทียน

    แท่งเทียนสีดำ (Black Candlestick) เป็นแท่งเทียนที่มีราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิด แสดงถึงแรงขายที่รุนแรง ทำให้ราคามีแนวโน้มปรับตัวลงต่อในอนาคต โดยเฉพาะหากมีราคาปิดที่ต่ำจนไม่มีไส้เทียนด้านล่าง ที่แสดงถึงว่าแรงขายสามารถเอาชนะแรงซื้อได้อย่างสมบูรณ์ การปรับตัวลงของราคาในแท่งเทียนถัดไปจะเป็นไปอย่างแข็งแกร่ง


    ด้วยความที่ Price Action เป็นการวิเคราะห์ที่อาศัยข้อมูลน้อย เพียงแค่ใช้พฤติกรรมของ ‘ราคา’ ในอดีตมาคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคต วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งจะช่วยลดสิ่งรบกวน (noise) ที่ทำให้ตัดสินใจพลาด ทำให้นักลงทุนสามารถตัดสินใจและตอบสนองต่อสถานการณ์ในตลาดได้อย่างถูกต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครื่องมือตัวนี้ถือเป็นเครื่องมือทางเทคนิคตัวแรก ๆ ที่สามารถส่งสัญญาณได้เร็วที่สุดตัวหนึ่ง จึงไม่แปลกใจเลยว่าเหตุใด Price Action จึงกลายมาเป็นเครื่องมือที่นักลงทุนนิยมใช้อย่างมากในปัจจุบัน


    แล้วจะเอาไปใช้ยังไง? เคล็ดลับการเทรด Forex ด้วย Price Action

    โดยปกติแล้วมีกลยุทธ์ที่นำมาใช้ประกอบกับ Price action ในการเทรดได้หลากหลาย แต่ในครั้งนี้จะขอนำกลยุทธ์พื้นฐานมาเล่าให้ฟังอยู่ 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่


    1. เทรดไปกับแนวโน้ม (Trend Following)

    กลยุทธ์ที่เบสิคที่สุดสำหรับ Price Action คือการเทรดไปกับแนวโน้ม เพราะสิ่งแรกที่จำเป็นต้องรู้เป็นเบื้องต้นในทุก ๆ การเทรดคือตอนนี้ราคาอยู่ในเทรนรูปแบบไหน อันนี้ไม่ได้เฉพาะคนที่ใช้ Price Action เท่านั้น แต่เป็นการประเมินภาพรวมของผู้ที่ใช้เทคนิคคอลทุกคน ซึ่งตลาดมีเทรนอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ


    รูปภาพที่แสดง แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend/ Bull Market)

    แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend/ Bull Market) รูปแบบราคานี้แสดงถึงแรงซื้อที่มีกำลังมากจนสามารถเอาชนะแรงขายได้ ทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่ (New High) ได้เรื่อย ๆ ไปตลอดเทรนจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม ในเทรนขาขึ้นนี้ราคาจะมีรูปแบบการทำ Higher High (HH) และ Higher Low (HL) กลยุทธ์การเทรดในเทรนขาขึ้นจึงเน้นการเปิด Long เป็นหลักตามแนวโน้มที่เป็นขาขึ้นจึงเป็นกลยุทธ์ที่ได้เปรียบ เพราะไม่ว่าอย่างไรราคาจะวกกลับขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เสมอ


    รูปภาพที่แสดง แนวโน้มขาลง (Downtrend/ Bear Market)


    แนวโน้มขาลง (Downtrend/ Bear Market) รูปแบบราคานี้แสดงถึงแรงขายที่มีกำลังมากจนสามารถเอาชนะแรงซื้อได้ ทำให้เกิดจุดต่ำสุดใหม่ (New Low) ได้เรื่อย ๆ ไปตลอดเทรนจนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม ในเทรนขาลงนี้ราคาจะมีรูปแบบการทำ Lower High (LH) และ Lower Low (LL) กลยุทธ์การเทรดในเทรนขาลงจึงเน้นการเปิด Short เป็นหลักตามแนวโน้มที่เป็นขาลงจึงเป็นกลยุทธ์ที่ได้เปรียบ เพราะไม่ว่าอย่างไรราคาจะวกกลับลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่เสมอ


    รูปภาพที่แสดง ไม่มีเทรน (Sideway)

    ไม่มีเทรน (Sideway) คือการเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปอย่างไร้รูปแบบ แรงซื้อและแรงขายไม่ได้ชนะกันอย่างเด็ดขาดจึงไม่ได้ทำให้เกิดเทรนที่ชัดเจนและไม่สามารถจัดเข้าในสองประเภทแรกได้ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาอยู่ในกรอบ ๆ หนึ่ง เพื่อรอปัจจัยใหม่ ๆ แล้วจึงมีการเปลี่ยนแปลงราคาในแบบที่หลุดกรอบออกไปและเกิดเป็นเทรนใหม่ กลยุทธ์ที่ใช้มักเป็นการเทรดในกรอบราคาหรือเทรดตามแนวรับแนวต้านที่จะนำมาเล่าต่อในข้อที่ 2


    2. เทรดตามแนวรับแนวต้าน (Swing Trade)

    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่างของเทรดตามแนวรับแนวต้าน (Swing Trade)

    รูปแบบการฟอร์มตัวของกราฟจะมีจุดที่มีแรงซื้อ/แรงขายมาก ทำให้ราคาที่ชนเกิดการดีดกลับ และทะลุฝ่าไปได้ยาก เราเรียกจุดนี้ว่าแนวรับหรือแนวต้าน ซึ่งมักจะอยู่ในจุดที่เกิด Low หรือ High ก่อนหน้า ที่สำคัญคือแนวรับหรือแนวต้านที่แข็งแกร่งคือแนวที่มีการทดสอบแล้วไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ นำไปสู่กลยุทธ์ที่ใช้คือการซื้อที่แนวรับและขายที่แนวต้าน


    ทั้งนี้จำเป็นต้องระวังในกรณีที่ราคามีการ Break out ซึ่งหมายถึงแนวรับหรือแนวต้านที่มีอยู่ได้ถูกทำลายลงแล้ว ราคาจะมีการปรับตัวทะลุแนวรับ/แนวต้านได้อย่างรุนแรงและเกิดเป็นเทรนใหม่อีกครั้ง เฉพาะในกรณีนี้สามารถใช้กลยุทธ์ Follow Buy/Sell ได้


    3. เทรดด้วยการคาดการณ์ผ่านรูปแบบราคา (Price Pattern)

    เบื้องหลัง Price Pattern ต่าง ๆ ก็สามารถอธิบายได้ด้วยการปะทะกันระหว่างแรงซื้อและแรงขาย หรือ Price Action  ทำให้สามารถนำ Price Pattern ที่เกิดขึ้นในตลาดมาใช้คาดการณ์ราคาในอนาคตได้ นับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ยุ่งยากและเป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน แต่ในคราวนี้จะยกตัวอย่างการวิเคราะห์รูปแบบราคาแบบ Inverted Hammer เพื่อเป็นตัวอย่างให้พอเห็นภาพ


    รูปภาพที่แสดง ตัวอย่างของ Inverted Hammer


    Inverted Hammer เป็นรูปแบบราคาที่เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดเทรนขาลง (Down Trend) และมักจะเป็นจุดกลับตัว การพิจารณา Price Action คือ ก่อนหน้าในเทรนขาลงราคามีการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงจุดหนึ่งที่เกิดแรงซื้อตีกลับขึ้นมาอย่างรุนแรงจนทำให้ราคากลับมาปิดในระดับที่ใกล้เคียงกับราคาเปิดได้ และรูปแบบ Inverted Hammer จะยิ่งแสดงถึงการกลับตัวของราคาเป็นขาขึ้นอย่างแข็งแกร่งหากก่อนหน้านั้นมีการปรับลดของราคาอย่างเร็วและแรง และมีการปิดกลับเป็นบวกได้ (ยิ่งไส้เทียนยาวยิ่งแสดงถึงแรงซื้อที่แข็งแกร่ง) ทำให้กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับ Price Pattern รูปแบบนี้คือการเสี่ยง Long ในแท่งเทียนถัดไป


    ขอบคุณชาร์ทจาก tradingview.com


    ข้อดีข้อด้อยของการเทรดแบบ Price action

    ข้อดีของการเทรดแบบ Price action

    1. ใช้ง่าย สามารถเรียนรู้กลยุทธ์นี้ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์เชิงลึกก็เทรดได้ เพียงเลือกตราสารที่มีเงื่อนไขราคาที่เหมาะสมกับท่าน หรือรอจนกว่าราคาจะเข้าเงื่อนไขที่ท่านกำหนด

    2. จุดเข้าและออก กลยุทธ์นี้จะช่วยระบุ จังหวะที่ดีที่สุดในการเปิด ปิดออเดอร์ ที่ในบางครั้ง ได้ผลดียิ่งกว่าการใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) ช่วยเหลืออื่น ๆ อีกด้วยซ้ำ

    3. แหล่งข้อมูลชั้นดี แค่โฟกัสและพิจารณาพฤติกรรมราคา ก็เข้าถึงข้อมูลตลาดแบบเรียลไทม์ได้

    4. ทำให้เทรดเดอร์มีแผนภูมิราคาที่มีแต่เนื้อราคาแท้ ๆ มากกว่าแผนภูมิที่มีตัวบ่งชี้หลายตัว ซึ่งอาจส่งผลให้ความเป็นจริงผิดเพี้ยนได้

    5. ขจัดความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้หลายตัว ที่แสดงผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามพร้อมกัน

    6. ตลาด Forex เป็นตลาดที่มีความผันผวนสูง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้การดู Price Action มีประโยชน์ต่อนักลงทุนในแง่ที่จะสามารถหาโอกาสในการทำกำไรได้จากการติดตามการเคลื่อนที่ของราคาที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด


    ข้อด้อยของการเทรดแบบ Price action

    1. อาศัยการลงมือ ต้องทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยตัวเอง กลยุทธ์นี้จึงไม่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ถนัดใช้งานหุ่นยนต์ช่วยเทรด (Trading robot) เป็นหลัก ควรศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจะดีกว่า

    2. ข้อจำกัดในการเทรด กลยุทธ์นี้จะพิจารณาได้แค่พฤติกรรมราคาในปัจจุบันเท่านั้น สามารถดูราคาในปัจจุบันได้เพียงอย่างเดียว ทำให้บางครั้ง อาจต้องผิดหวังกับราคาที่ร่วงลงมาทันที

    3. หลังจากที่เปิดออเดอร์ซื้อ ถึงแม้จะพิจารณาเป็นอย่างดีแล้วว่า ราคานั้นอยู่ในแดนบวกมานานและอาจมีโอกาสพุ่งขึ้นต่อก็ตาม

    4. นักเทรดที่แตกต่างกัน อาจเห็นผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวของราคาที่แตกต่างกัน และอาจมีการตีความข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคาเดียวกันต่างกัน

    5. ต้องมีความรู้ที่เพียงพอ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคา จึงจะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    กลยุทธ์ที่ใช้ในการเทรดโดย Price action

    ไม่มีแบบแผนว่าต้องดำเนินไปเช่นไร เพราะวิธีการ รสนิยม และเป้าหมายการเทรดของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน บางคนอาจมองว่าที่จุดหนึ่ง ณ เวลานี้คือที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเขา ในขณะที่อีกคนอาจมองเห็นเป็นอีกแบบก็ได้


    กลยุทธ์หลัก ๆ ของ Price Action มีดังนี้

    1. เทรดตามน้ำในทิศทางที่ราคาเบรคออกจากแนวรับ/แนวต้าน ทำการ Long เมื่อทะลุแนวต้านและ เปิด Short ตอนที่หลุดแนวรับ

    2. เทรดสวนแนวโน้มที่ระดับแนวรับแนวต้าน ให้ Long เมื่อราคาลงมาที่แนวรับ Short ตอนราคาไปอยู่แถว ๆ แนวต้าน


    ต่อไปนี้คือปัจจัยที่นักเทรดทุกท่านควรตระหนักเสมอในการอ่านกราฟและการเทรด ถ้านักเทรดรู้ไว้ก็เป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากเช่นกัน


       1. เช็กข่าวคู่สกุลเงินอยู่เสมอ สิ่งนี้จะช่วยวาดภาพกว้าง ๆ ของสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของอัตราแลกเปลี่ยน

       2. ศึกษาความแปรปรวนของตลาดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง และจัดการความเสี่ยงในส่วนของตนเองให้ดี

       3. วางแผนเพื่อการซื้อ ถือครอง หรือขาย เมื่อพิจารณาจะประเมินทิศทางได้ว่า ณ เวลาปัจจุบันนี้ตนเองควรทำอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

       4. อย่าใจเร็วด่วนได้ เพราะว่าข้อมูลบนกราฟที่เราเห็นนั้น คือภาพของอดีต ไม่มีใครจะบอกอนาคตได้อย่าวชัดเจน แต่เราจะต้องเทรดด้วยความใจเย็น รอบคอบ

       5. อย่ายึดมั่นถือมั่นในความคิดเดิม เพราะอาจมีกลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่า นักเทรดต้องเป็นมีใจพร้อมเรียนรู้เพื่อเป้าหมายสูงสุดจากการเทรด


    สรุป

    จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ การวิเคราะห์ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดด้วยเครื่องมืออย่าง Price action นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย เพียงแค่คาดคะเนการปะทะกันที่แสดงออกมาผ่านกราฟราคาเท่านั้น ที่สำคัญคือไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งยังไม่ต้องติดตั้ง indicator ให้ดูวุ่นวายจนกลายเป็นส่งสัญญาณขัดแย้งกันหน้างานอีก 


    ที่สำคัญคือด้วยความที่ Price action นี้เป็นเครื่องมือที่สะท้อนแรงซื้อขายในตลาดอย่างตรงไปตรง ทำให้มันกลายเป็นอินดิเคเตอร์ที่ส่งสัญญาอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณสมบัติทั้งความเร็วและความเรียบง่ายนี้เองที่ทำให้ Price action กลายมาเป็นเคล็ดลับที่เทรดเดอร์ควรศึกษาไว้เป็นพื้นฐาน เป็นอาวุธลับที่ Forex เทรดเดอร์จำเป็นต้องมีติดตัวไว้ไม่เสียหายอย่างแน่นอน


    ▼ เทรด Forex กับโบรกเกอร์ชั้นนำด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼ 

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์