เล่น forex เริ่มต้นอย่างไร? เป็นคำถามง่ายๆ
แต่ก็ไม่ง่ายนะครับ ตลาด forex สามารถทำเงินได้หลายวิธี
แต่ละวิธีขึ้นอยู่กับทักษะและลักษณะนิสัยของท่านผู้อ่านด้วย
สิ่งที่เราต้องรู้ คือเราต้องเข้าใจตัวเองก่อน 3 หัวใจหลักที่เราต้องทำความเข้าใจ คือ
1. เข้าใจเป้าหมายตัวเอง
เข้าใจเป้าหมาย คือ อะไร? คือ การตั้งโจทย์ที่มือใหม่หลายๆคนมองข้าม
เป้าหมายทุกคนที่เข้ามาเทรด คือ ต้องการเงิน
หรือความมั่งคั่งร่ำรวยเพื่อทำเงินจากตลาด FOREX
แต่สิ่งที่ตลาด FOREX ให้ได้คือ เงิน แต่สิ่งที่หลายคนมองข้าม คือ เวลา
พยายามใช้เงินเล็ก โกยเงินก้อนใหญ่ พยายามตั้งเป้าหมายเป็นตัวเงินเพื่อทำกำไรต่อวัน
เช่นวันละ $100 แต่ในความเป็นจริง
ความผันผวนของตลาดไม่ได้เหมือนเดิมทุกวัน
ดังนั้น การตั้งเป้าหมายที่ดี คือ ตั้งเป้าหมายเพื่อเก็บระยะ หรือ จำนวน
Pips ที่เก็บได้ต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือต่อเดือน สำหรับมือใหม่แล้วการเทรดเพื่อทำกำไรในระยะสั้นเป็นอะไรที่ทำได้ แต่การอยู่รอดในระยะยาวนั้น ทำอย่างไร? คือคำถามที่ต้องตั้งเป้าหมายมากกว่า
2. เข้าใจ Time ของตัวเอง
การเข้าใจเวลาของตัวเอง คือ การมีเวลาให้กับเรียนรู้หรือเวลาให้กับการเทรด
แต่ละกลยุทธิ์มีข้อจำกัดของเวลาแตกต่างกันไป
หากคุณเป็นคนที่ชอบเทรดระยะสั้นรูปแบบ Scalping ทำกำไรจากการแกว่งของราคาในช่วงระยะ
5-20 Pips และการใช้ขนาด Position Size ใหญ่ แต่มีการจำกัดความเสี่ยงด้วย Stoploss ความยากของการเทรด Scalping ไม่ได้อยู่ที่การทำกำไร แต่อยู่ที่การฝึกฝนยับยั่งชั่งใจ การควมคุมตัวเองให้ได้
เข้าใจแก่นของกลยุทธิ์นี่คือ ทำกำไรได้ ออกไว เน้นจำนวนแต่แม่นยำ อัตราการชนะสูงถึงจะอยู่รอดได้
หากคุณเป็นคนนึงที่ไม่มีเวลาเฝ้ากราฟ ทำงานประจำ ธุรกิจส่วนตัวไปด้วย การเทรดแบบกลางหรือระยะยาว อาจจะตอบโจทย์กว่า มองภาพรวม Time Frame ใหญ่
การเทรดระยะยาวนอกจากการดูเทรนด์ให้ออกและทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานของ Product
นั้นๆ มีความสนใจ Macro หรือ เศรษฐกิจภาพรวม
3. เข้าใจความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้
หากคุณเป็น 1 คนที่ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
สิ่งนึงที่ควรตระหนักอยู่เสมอด้วย นั้นก็คือ จำนวนเงินที่ทุนเราพร้อมจะสูญเสียได้
จำไว้เสมอว่า ไม่มีอะไรแน่นอนในตลาด FOREX สิ่งที่คุณคิดไม่มีโอกาสถูกต้อง 100%
เสมอไป ดังนั้นเมื่อคุณเข้าใจความเสี่ยงของเงินที่สูญเสียได้แล้ว
หัวข้อต่อไปที่คุณต้องรู้ คือ Money Manangement หรือ หลักการบริหารเงินทุนนั้นเอง
เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว คุณผู้อ่านเห็นภาพแล้วใช่มั้ยครับ ว่าการเทรดมีหลายสิ่งที่เราต้องเปิดใจเรียนรู้
และแบ่งเวลาให้ความสำคัญในการฝึกฝนทักษะ
1.จงรู้จักตัวเอง ไม่มีทางลัดความสำเร็จในการเทรด ทุกอย่างต้องฝึกและเรียนรู้
ถ้าเราไม่รู้จักธรรมชาติของตัวเอง เราจะไม่มีวันเข้าใจตลาด ไม่มีมืออาชีพคนไหน
ไม่รู้จุดอ่อนจุดแข็งตัวเอง
2.ตลาด Forex มีความผันผวนสูง เมื่อคุณทำกำไรได้ ให้ตระหนักถึงวันที่ขาดทุน
ดังนั้นแล้ว นึกถึงความเสี่ยงที่ต้องเจอก่อนผลกำไรเสมอ กำไรน้อยยังทำให้เทรดต่อได้
แต่ถ้าขาดทุนจะทุนหายการเริ่มต้นใหม่ไม่ง่ายถ้าไม่มีทุน
3.ก่อนจะเป็นเทรดเดอร์เลี้ยงชีพได้ คุณต้องเทรดให้รอดให้ได้ก่อน
อย่าพึ่งแสวงหาผลกำไรเกินจริง รักษาทุนให้รอดในตลาดระยะยาวก่อน
เดี่ยวแนวทางการได้กำไรจะตามมาเอง ทุกอย่างต้องใช้เวลาและประสบการณ์
4.ไม่เทรดด้วยอารมณ์ แต่ตัดสินใจด้วยระบบเทรด
อารมณ์โลภและกลัวเป็นสิ่งคู่กันของเทรดเดอร์ ใช้ระบบเทรดอยู่เหนืออารมณ์
และตัดสินใจตามหลักการหรือแผนการเทรดที่วางไว้
5.ไม่ยึดติดกับผลกำไรหรือขาดทุนที่ผ่านมาแล้ว
ถ้าเราไม่ปล่อยมือจากอดีต เราจะเอามือไหนไปคว้าอนาคต ประโยคนี้ใช้ได้เสมอ
เลิกยึดติดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในอดีตแต่ให้เรียนรู้เพื่อยกระดับตน
6.เปิดใจเรียนรู้เป็นน้ำไม่เต็มแก้ว อย่าพยายามอวดผลกำไรเพื่อปลูกฝังอีโก้ในตัวคุณ
อีโก้เป็นตัวร้ายที่อยู่ในตัวเรา การตัดอีโก้เป็นเรื่องยาก ธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องอวดดี
อย่ามั่นใจในตัวเองที่สูงเกินไป สิ่งที่เราเชื่อไม่ได้ถูกต้องเสมอไป
7.ควรมี Diary Trade หรือบันทึกการเทรด เพื่อเรียนรู้ทักษะการเทรดและสถิติ
ใช้ Excel ในการจดบันทึกในสิ่งที่เราต้องการเก็บข้อมูล การจดบันทึกต้องใช้วินัย
ถ้าทำได้ทุกครั้ง เราจะเติบโตขึ้นเสมอ
8.ตั้งเป้าหมายและปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตัวเอง
ไม่มีเทคนิคหรือกลยุทธ์ไหนที่เหมาะกับทุกคน จงสร้างทางเดินของตัวเอง
ปรับและต่อยอดระบบเทรดให้เหมาะกับจริตและตัวเรา เพื่อผลประกอบการเทรดที่ดีขึ้น
การเริ่มต้นเทรด FOREX สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยนั้น คือ การเลือกโบรกเกอร์ Forex เพราะต่อให้เราสามารถทำกำไรได้ดีแค่ไหน แต่ถอนทุนหรือกำไรไม่ได้ ที่สร้างมาก็เสียเปล่า โบรกเกอร์ที่ให้บริการในประเทศไทยมีมากมาย ที่นี่ขอแนะนำ 4 หลักการในการเลือกโบรกเกอร์ Forex
1. ความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์
หลักๆ ให้เราเช็คใบอนุญาติกำกับดูแลโบรกเกอร์ ถ้าเปรียบกับประเทศไทยก็คือ กกต. นั้นเอง ตัวอย่างเช่น ASIC คือ หน่วยงานที่ควบคุมองค์กรตลาดและบริการทางการเงินของออสเตรเลีย FCA เป็นองค์กรที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมบริการทางการเงินประเทศอังกฤษ และ CIMA หน่วยงานกำกับดูด้านการเงินของเกาะเคย์แมน
2. ดู Leverage ที่โบรกเกอร์มีให้
Leverage คือ ตัวช่วยทำให้เรามีอำนาจการลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่เรามีอยู่จริงๆ ซึ่ง ปกติไม่ควรจะเกิน 1:400 การที่โบรกเกอร์ให้มากกว่านั้น คือความเสี่ยงที่โบรกเกอร์ต้องแบกรับ เมื่อลูกค้าทำกำไรได้ ยิ่ง Leverage ยิ่งมีความเสี่ยงสูงต่อเทรดเดอร์ และ โบรกเกอร์เองด้วย
3. ความสะดวกในการทำธุรกรรมการเงิน
หากโบรกเกอร์ที่มีการฝากถอนเงินสะดวกและง่ายก็ต้องสนับสนุนการฝากถอนเงินผ่านธนาคารไทยด้วยและฝากเงินอย่างทันที
4. การสนับสนุนการบริการภาษาไทย
เพราะโบรกเกอร์ Forex มาจากต่างประเทศทั้งนั้น เราต้องหาโบรกเกอร์ที่มีการสนับสนุนการบริการภาษาไทยเผื่อมีอะไรต้องสอบถามหรือขอความช่วยแก้ปัญหาในการเทรดทำให้การเทรดของเราเป็นไปได้อย่างราบรื่น
โดยที่นี่ผมขอเสนอโบรกเกอร์ Mitrade เป็นทางเลือกที่ดีโบรกเกอร์นึงเลย
เกี่ยวกกับ MiTrade
★ MiTrade เป็นโบรกเกอร์ Forex และ CFD ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจาก MiTrade ได้รับการกำกับดูแลจากหลายหน่วยงานที่มีอำนาจ รวมถึง หน่วยงานด้านการเงินของเกาะเคย์แมน (CIMA) ด้วยใบอนุญาต SIB เลขที่ 1612446 (เรียนรู้วิธการตรวจสอบ) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุนของออสเตรเลีย (ASIC) ด้วยใบอนุญาต AFSL เลขที่ 398528 (คลิกที่นี่) ทำให้การทำธุรกรรมและการดำเนินงานต้องเป็นไปตามข้อบังคับ
★ เงินทุนของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ในบัญชีทรัสต์แยกต่างหากจากบัญชีบริษัท หากในกรณีที่ MiTrade ล้มละลาย เงินทุนลูกค้าก็ยังคงถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและถูกส่งกลับคืนได้ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเป็นห่วงความปลอดภัยของเงินทุน
★ ฟรีเครื่องมือการเทรดต่างๆ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม, การคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญเป็นต้น
★ ฟรีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงต่าง ๆและระบบป้องกันยอดคงเหลือติดลบ
★ แพลตฟอร์มการเทรดที่ใช้งานเรียบง่ายเป็นมิตรกับมือใหม่
★ เจ้าหน้าที่คนไทยคอยให้บริการ 24 ชั่วโมง 5 วันทำการ
★ เทรดด้วยเลเวอเรจสูงถึง 1:200
★ เงินฝากขั้นต่ำ $50 ดอลล่าร์
★ ขนาดซื้อขายขั้นต่ำ 0.01 ล็อต
★ ค่าคอมมิชชั่น 0 และสเปรดต่ำถึง 1 pip
§§§ สำหรับเทรดเดอร์หน้าใหม่ MiTrade ได้จัดบัญชีทดลองเทรดด้วยเงินเสมือนจริง $50, 000 ดอลล่าร์ เพื่อให้ท่านฝึกฝนทักษะการเทรดโดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ
มาถึงตรงนี้ ผู้อ่านพอจะเริ่มมีความเข้าใจขึ้นมาบ้างแล้ว แต่สิ่งหนึ่ง คือเรื่องของ Money Management ที่ต้องให้ความสำคัญ Money Management มีความสำคัญอย่างไร ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ คือ
สมมุติว่าเรามีเงินทุน 100,000 บาท สำหรับเริ่มต้นเทรด การที่เราใช้เงินทั้งหมด 100% ในการเทรดนั้น
มีความเสี่ยงสูงมากสำหรับมือใหม่ เพราะ เรายังไม่รู้จักตลาด Forex ดีพอ มือใหม่ไม่ควรใช้เงินจำนวนมากในเริ่มเทรดตั้งแต่ต้น แนะนำให้แบ่งเงินก้อนเล็กจาก 100,000 อาจจะ $100 หรือ ประมาณ 3000 บาท
เมื่อเราเข้าใจพฤติกรรมของตลาด forex พอสมควร การตัดสินใจในการเทรดนั้นสำคัญมาก
หลักการในการคิด ก่อนจะตัดสินใจลงมือเทรด ให้ถามตัวเองราคาที่กำลังเข้าซื้อหรือขายครั้งนี้ คุ้มค่า หรือไม่กับผลกำไรที่จะได้ หากผลออกมาเป็นขาดทุน การตัดสินใจครั้งนี้ เสี่ยงเกินไปหรือไม่ กับผลขาดทุนที่เกิดขึ้น (Risk) จากคาดการณ์เป้าหมายราคาที่คาดว่าจะเป็นไปได้
หากเราเข้าใจการตัดสินใจในการเทรดแล้ว ควรกำหนดจำนวนเงินสูงสุดที่เรายอมเสียหรือขาดทุนในแต่ละครั้ง หากระบบที่เราเทรดมี stoploss ก็ต้องมีความชัดเจนตรงนี้ อาจจะคิดเป็นจำนวน % ของเงินลงทุนได้เช่นกัน เพื่อง่ายต่อการคำนวณและความเข้าใจของผู้เทรดเองว่าจะยอมขาดทุนได้ไม่เกิน 30% ของเงินทุน หากเมื่อขาดทุน 30% แล้ว เราจะมีแผนสำรอง หรือแนวทางรับมืออย่างไร นี้คือเรื่องที่มือใหม่มองข้าม
เราควรให้ความสำคัญตรงนี้และคิดต่อเมื่อจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเราจะรับมือกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร
สำหรับมือใหม่พื้นฐานสำคัญมาก หลายๆคนเข้ามาในตลาดมักไปให้ความสำคัญกับ indicator ต่างๆ
เหมือนเป็นเข็มทิศนำทางการตัดสินใจการเทรด indicator เป็นเครื่องช่วยคาดการณ์ราคาแต่ไม่ได้เป็นตัวช่วยการตัดสินใจ สิ่งหนึ่งที่อยากให้ผู้อ่านศึกษาเพิ่มเติมนั้น คือ เรื่องกลยุทธ์การเทรด
4 รูปแบบกลยุทธ์การเทรด Forex ที่เป็น basic มากๆนั้นก็คือ
1. Scalping อย่างที่เรียนข้างต้นคือการเทรดทำกำไรระยะสั้นๆ
2. Day Trading คือ เทรดจบในวัน เข้าออเดอร์เน้นช่วงราคาที่มีจังหวะสวิงหรือข่าวสำคัญ
3. Swing Trade คือ สามารถเทรดได้ระยะสั้นและระยะยาวไม่ขึ้นกับเวลา เหมาะกับสภาวะตลาด Sideway
4. Trend Trading คือ เทรดตามเทรนด์ใหญ่เป็นหลัก จังหวะเข้าออเดอร์ขึ้นอยู่กับการอ่านเทรนด์ที่ขาด ตัดสินใจดูจากข้อมูลของราคาว่ากำลังจะไปต่อ หรือกำลังจะสุดเทรนด์แล้ว
หากคนผู้อ่านมีความสนใจและต้องการเทรดจริงๆ คุณผู้อ่านควรศึกษาเรื่องระบบเทรดแบบ Close System หรือ Cs เพราะ Cs เป็นพื้นฐานการเทรด ที่จะทำให้ต่อยอดและมีแนวทางของเราเอง
○ Close System คืออะไร?
รูปแบบการเทรดที่วางเงินเต็มจำนวน ไม่มี Stop Loss
เพราะทุกออเดอร์ได้คำนวณไว้หมดแล้ว โดยการวาง order ไว้ในแต่ละ Zone ของช่วงราคา
และเลือกเทรดใน Product ที่โอกาสมีค่าเป็น 0 ยาก เช่น ทองคำ สกุลเงินแต่ละประเทศ
การเทรดแบบ Close System นั้น จะช่วยให้ผู้เริ่มต้นเทรดมือใหม่อยู่รอด ไม่ได้ทำให้รวยเร็ว
อย่างที่ใครหลายคนแสวงหาคำตอบในตลาด Forex แต่สามารถสร้าง CashFlow ได้สม่ำเสมอ
เมื่อได้ CashFlow หรือ กำไรจากเทรดมาแล้วนั้น เราจะนำกำไรตรงนี้ ไปต่อยอดกลยุทธ์การเทรดรูปแบบอื่นได้โดยที่ไม่เป็นกังวลเรื่องเงินทุน เช่น Scalping หรือ เทรดในตลาดคริปโต
○ ข้อดีของการเทรดแบบ Close System สำหรับมือใหม่
1.เรียนรู้และเพิ่มทักษะ ประสบการณ์ได้ดี
2.เข้าใจ Flow และ Volatility ของสินค้าที่เราเทรด
3.ต่อยอดองค์ความรู้และพัฒนากลยุทธ์เทรดต่อได้
○ ข้อเสียของการเทรดแบบ Close System
1.ไม่ได้ทำให้รวยเร็ว หรือทำกำไรได้มากมายหลาย 100% ในระยะเวลาอันสั้น
2. Drawdown สูงเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มี stoploss เมื่อเงินทุนถูกคำนวณไว้หมดแล้วทำให้ไม่มีโอกาสล้างพอร์ต นอกจาก Product ที่เราเทรดมีค่าเป็น 0
ถึงตรงนี้คุณผู้อ่านคงรู้แล้วว่าวิธีเล่น forex เริ่มต้นเป็นอย่างไร แต่นอกจากนี้แล้ว เทรดเดอร์ทุกท่านต้องรู้ด้วยว่า คนเทรดเก่ง กับเทรดเดอร์มืออาชีพคนละเรื่องกัน เพราะ ทักษะและ mindset ที่ดีในการเทรด
เกิดจากการอยู่รอดในตลาดไม่ได้ใช้แค่ทักษะในการทำกำไรเท่านั้น ผลกำไรจึงไม่สามารถวัดอะไรได้ทั้งหมด แต่ในสภาวะที่ตลาดย่ำแย่ คุณทำกำไรได้มั้ย ไม่สำคัญเท่าพอร์ตคุณอยู่รอดรึเปล่า?
▼ เทรด Forex กับโบรกเกอร์ชั้นนำด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง