เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex มีอะไรบ้างและจะรู้ได้ยังไงว่าโบรกเกอร์ Forex ได้รับการกำกับดูแล?

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 09 ก.ย. 2565 08:16 น.
7563
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย

ในโลกของการลงทุนที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ การฉ้อฉล และกลโกง การกำกับดูแลจากหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex นับเป็นเรื่องสำคัญในการวางกฎเกณฑ์ปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนและกำกับให้ธุรกิจดำเนินงานตามหลักจริยธรรม ภายใต้การกำกับดูแลนี้เงินทุนของลูกค้าจะมีกลไกดูแลให้ถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัยและตรวจสอบได้ ขั้นตอนการดำเนินงานทั้งการฝากถอนเงินสามารถทำได้โดยไม่มีอุปสรรค และลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นลงไป ซึ่งการจะดูว่าโบรกเกอร์ไหนอยู่ภายใต้หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex หรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องยาก ซึ่งคราวนี้เราจะมาคุยให้ฟังกันต่อไป

หน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex

จุดมุ่งหมายของหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex ก็คือการปกป้องนักลงทุนจากความเสี่ยงที่ถูกปิดบังไว้ รวมถึงการฉ้อฉลฉ้อโกงด้วย เพื่อการนี้ไม่ว่าจะเป็นโบรกเกอร์ Forex วาณิชธนกิจ รวมถึงผู้ให้บริการซื้อขายตราสารทางการเงินต่าง ๆ ก็ต้องจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลภายใน (Compliance) เพื่อรักษามาตรฐานที่หน่วยงานกำกับดูแลของทางการกำหนดไว้


เมื่อเกิดความเสี่ยงขึ้น โบรกเกอร์ที่ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีแนวทางที่ปฏิบัติแตกต่างไปจากโบรกเกอร์ที่ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล คือจะมีหน่วยงานกำกับดูแลจากภายนอก (Regulator) เข้าไปจัดการแทรกแซงแก้ไขโดยอาศัยกฎหมายที่ให้อำนาจไว้


หน่วยงานกำกับดูแลนี้มีหน้าที่กำหนดข้อปฏิบัติ-อนุมัติใบอนุญาตดำเนินกิจการให้กับโบรกเกอร์ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น กำหนดเงินทุนขั้นต่ำในการดำเนินงาน ความเหมาะสมของหุ้นส่วนกิจการ ผู้บริหารและพนักงาน รวมทั้งคอยดูแลข้อร้องเรียนของนักลงทุน บังคับให้เปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง และกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่นำออกจำหน่ายรวมถึงกระบวนการเสนอขายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ 


หน่วยงานและองค์กรกำกับดูแลเหล่านี้มีอยู่มากมายในโลก แตกต่างกันไปตามประเทศและผลิตภัณฑ์ที่ต้องการกำกับดูแล โดยแต่ละหน่วยงานก็จะให้ความสำคัญกับกลุ่มนักลงทุนและความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป

หน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex ที่สำคัญ

เนื่องจากตลาด Forex มีลักษณะที่กระจายศูนย์และไม่มีองค์กรใดมีหน้าที่เข้ากำกับดูแลโดยเฉพาะ ในโลกนี้จึงมีหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex ที่สำคัญ ๆ หลายหน่วยงาน แต่ละหน่วยงานก็ครอบคลุมเฉพาะเขตอำนาจทางกฏหมายของตน คอยควบคุมกำกับดูแลตามประเทศหรือเขตแดนที่โบรกเกอร์ Forex ที่สำคัญ ๆ ดำเนินธุรกิจอยู่ เช่น ASIC ตั้งอยู่ในออสเตรเลีย คอยกำกับดูแลโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนในออสเตรเลีย ฯลฯ 


อย่างไรก็ดี เนื่องจากโบรกเกอร์ Forex ก็มีการให้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกไม่เฉพาะแค่ในประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงาน จึงไม่เพียงแค่ถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานต้นทาง แต่ในบางครั้งก็ยังถูกกำกับดูแลจากองค์กรกำกับดูแลในประเทศอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นโบรกเกอร์ Forex ส่วนใหญ่จึงมักถูกกำกับดูแลโดยหน่วยงานหลายแห่งไปพร้อม ๆ กัน 


ในทางตรงกันข้าม ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะมีกฎหมายรองรับการเทรด Forex ทำให้นักลงทุนต้องไปเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ และได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานกำกับดูแลจากต่างประเทศแทน ตัวอย่างเช่น การเทรด Forex ในประเทศไทยยังไม่ได้รับการรับรองโดยกลต. นักลงทุนจึงต้องไปเปิดบัญชีเทรด Forex กับโบรกเกอร์ต่างชาติและไม่ได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานในประเทศไทย แต่เงินทุนของนักลงทุนไทยก็จะยังได้รับการปกป้องคุ้มครองจากหน่วยงานกำกับดูแลจากต่างประเทศอยู่ดี (ในกรณีที่โบรกเกอร์มีการกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) และเหล่านี้คือหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex ที่สำคัญที่นักลงทุนควรรู้จัก

Financial Conduct Authority (FCA) logo

1. อังกฤษ: Financial Conduct Authority (FCA)

The Financial Conduct Authority หรือ FCA เป็นหน่วยงานกำกับกดูแลทางการเงินที่ขึ้นชื่อว่าเข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ดำเนินงานเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐบาล และก่อตั้งขึ้นจากค่าธรรมเนียมที่ได้รับจากธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ตัวเองกำกับดูแลอยู่ จนถึงปัจจุบัน FCA ให้การกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องแล้วกว่า 59,000 แห่ง


Australian Securities and Investments Commission (ASIC) logo

2. ออสเตรเลีย: Australian Securities and Investments Commission (ASIC) 

บรรดาโบรกเกอร์ที่ให้บริการกับนักเทรดชาวออสเตรเลียจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ASIC และขึ้นชื่อเรื่องความเข้มงวดในการกำกับดูแลไม่แพ้กัน ASIC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 และดำเนินการตรวจสอบดูแลบรษัทภายใต้การกำกับภายใต้บทบัญญัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และการลงทุน 2001 (Australian Securities and Investment Commission Act of 2001)


Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) LOGO


3. เกาะเคย์แมน: Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) 

CIMA จัดตั้งขึ้นเพื่อการบริหารจัดการค่าเงินของเกาะเคย์แมน กำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงิน ให้คำปรึกษากับหน่วยงานกำกับดูแลจากประเทศต่าง ๆ และให้คำแนะนำกับรัฐบาลของเกาะเคย์แมนเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแม้จะดูเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่เกาะเคย์แมนก็นับเป็นแหล่งพักเงินแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลกทีเดียว


Mauritius Financial Services Commission (FSC) logo

4. มอริเชียส: Mauritius Financial Services Commission (FSC) 

The Financial Services Commission (FSC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2001 และดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายที่ได้รับการยอมรับระหว่างประเทศอย่าง Financial Services Act ซึ่ง FSC ก็มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาติ กำกับดูแล และตรวจสอบการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการทางการเงินนอกเหนือไปจากธุรกิจธนาคาร


Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC) logo


5. ไซปรัส: Cyprus Securities and Exchange Commission (CySEC) 

CySEC หรือ คณะกรรมการแลกเปลี่ยนและซื้อขายหลักทรัพย์แห่งไซปรัส ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2001 เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกสหภาพยุโรป การกำกับดูแลและดำเนินงานกับผู้ให้บริการทางการเงินของ CySEC นั้นดำเนินตามกรอบกฎหมาย MiFID การผสานทางการเงินแห่งยุโรป ซึ่งภายหลังจากที่ประเทศไซปรัสได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ประเทศนี้ก็กลายเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งเพื่อขอรับใบอนุญาตสำหรับดำเนินกิจการของโบรกเกอร์ Forex และ CFD ต่าง ๆ มากมาย


International Financial Services Commission (IFSC) logo


6. เบลีซ: International Financial Services Commission (IFSC)

คณะกรรมการผู้ให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศ หรือ IFSC เป็นหน่วยงานที่ให้การกำกับดูแลผู้ให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศเบลีซ (Belize) IFSC ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1999 ตลอดเหลายปีที่ผ่านมามีผู้ให้บริการโบรกเกอร์ Forex และ CFD ระหว่างประเทศมากมายที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินงานจากหน่วยงานนี้ และปัจจุบันก็มีโบรกเกอร์กว่า 29 แห่งที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลเพื่อให้บริการเทรดสินค้าทางการเงินและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ อีกมากมาย 

วิธีดูว่าโบรกเกอร์ Forex ไหนได้รับการกำกับดูแลหรือเปล่า

สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ต้องการเปิดบัญชีมักตกเป็นเหยื่อของโบรกเกอร์ปลอมได้ง่าย ปัจจุบันโบรกเกอร์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตมากมายที่พยายามจะยื่นมือไปล้วงเอาเงินทุนของนักลงทุนหน้าใหม่เหล่านี้ และมักจะมีกลลวงอันชาญฉลาดและน่าสนใจเสนอให้กับเหยื่อเพื่อให้เดินเข้ามาสู่กับดัก และเมื่อนักลงทุนหน้าใหม่เปิดบัญชีและโอนเงินทุนเข้าสู่พอร์ตเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นเรื่องยากที่จะถอนเงินทุนเหล่านั้นออกไป 


เหล่านี้เป็นสาเหตุให้นักลงทุนหน้าใหม่ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบโบรกเกอร์ผู้ให้บริการว่าอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ และนี่คือวิธีตรวจสอบแบบง่าย ๆ ว่าโบรกเกอร์ Forex นั้นมีการกำกับดูแลอยู่หรือไม่


1) โบรกเกอร์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลมักมีการแสดงเลขที่ใบอนุญาตอย่างชัดเจนบนเว็บไซต์ที่ให้บริการ และจะไม่แสดงไว้ในที่ที่ลูกค้าอาจมองไม่เห็น โดยเลขที่ใบอนุญาตนั้นจะแสดงถึงหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลอยู่ด้วย เช่น ASIC จะมีเลขที่ใบอนุญาตขึ้นต้นด้วย AFSL ที่แสดงถึงบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินสัญชาติออสเตรเลีย ตามด้วยเลขที่ใบอนุญาต เป็นต้น ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์ Mitrade จะแสดงชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้กำกับดูแลและเลขที่ใบอนุญาตที่หน้าเว็บและหน้า'เกี่ยวกับเรา'ดังนี้


หน่วยงานกำกับดูแลของ Mitrade

2) ในเว็บไซต์หน่วยงานกำกับดูแลบางหน่วยงานจะมีฟังก์ชั่นค้นหาภายในเว็บไซต์ ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้ค้นหาว่าโบรกเกอร์ Forex ที่เราสนใจอยู่นั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากหน่วยงานนี้อยู่หรือไม่ หากใช่บนเว็บไซต์ก็จะแสดงข้อมูลของโบรกเกอร์นั้น ๆ อย่างแน่นอน


3) เว็บไซต์หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินบางแห่งจะมีการขึ้นเตือนข้อมูลของโบรกเกอร์ที่หลอกหลวง และยังมีหน่วยงานบางแห่งที่มีการจัดทำแบล็กลิสต์สำหรับโบรกเกอร์ประเภทนี้ด้วย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโบรกเกอร์ที่ใบอนุญาตหมดอายุ หรือถูกถอดใบอนุญาต หรือมีกรณีฉ้อฉลที่ถูกตรวจสอบไปแล้ว

แม้จะดูเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่การสังเกตว่าโบรกเกอร์ที่ใช้งานอยู่หรือกำลังตัดสินใจจะใช้งานนั้นมีหน่วยงานกำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex คอยดูแลอยู่หรือไม่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยปกป้องนักลงทุนจากโบรกเกอร์หลอกลวงที่ทุกวันนี้มีวิธีการมากมายที่จะหลอกเอาเงินจากนักลงทุนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดทุนบางส่วนจากการลงทุนนั้นเป็นไปได้ แต่การถูกหลอกลวงจากโบรกเกอร์ฉ้อฉลนั้นอาจหมายถึงเงินทุนทั้งหมดและยากกู้คืน

เนื้อหาของบทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ ไม่สามารถใช้เป็นคำแนะนำการลงทุนได้ เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้นและผู้อ่านไม่ควรใช้บทความนี้เป็นพื้นฐานการลงทุนใด ๆ Mitrade ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ใด ๆ ตามบทความนี้และไม่รับประกันความถูกต้องของเนื้อหาของบทความนี้

Mitrade
มุมมองการลงทุนเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ข้อมูลทางด้านการเงินภายใต้ Mitrade ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักลงทุนได้รับความรู้พื้นฐานทางการเงินที่สมบูรณ์ สภาวะตลาดแบบเรียลไทม์ ข่าวที่เกี่ยวข้องในเวลาที่เหมาะสม และการวิเคราะห์ตลาดในเชิงลึก
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย