ถ้าหากคุณต้องการเทรดในตลาด forex นี้ คุณจำเป็นต้องมี โบรกเกอร์(broker) แต่โบรกเกอร์ในที่นี้คืออะไรกันแน่ ในบทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจและเห็นภาพถึงความหมายโดยทั่วไปของโบรกเกอร์ในตลาดฟอเร็กซ์
โบรกเกอร์(broker)ในตลาด Forex คือการที่นักเทรดรายย่อยไม่สามารถดำเนินการส่งคำสั่งเทรดไปได้ด้วยตนเอง ดังนั้นจึงมีโบรกเกอร์(broker)เป็นตัวกลางในการรับคำสั่งเทรดของนักเทรดไปยังตลาดกลางเพื่อทำการซื้อขายให้อีกที ในจุดนี้โบรกเกอร์(broker)ในตลาดForex จึงมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ส่งต่อแต่จะไม่สามารถรับผลกำไรหรือขาดทุนจากจุดนี้ได้ เพื่อให้เข้าใจความหมายโดยง่ายสามารถศึกษาได้จากเหตุการณ์ตัวอย่างดังต่อไปนี้
เช่นคุณต้องการซื้อแอปเปิ้ลและคุณเดินไปที่ตลาด ดังนั้น แอปเปิ้ลคือสิ่งที่คุณต้องการซื้อและตลาดคือสถานที่ที่คุณจะสามารถซื้อได้เพราะตลาดคือสถานที่ที่คนมาขายแอปเปิ้ลนั่นเอง
ในทางเดียวกัน นึกภาพว่าในตอนนี้คุณกำลังขายแอปเปิ้ลและต้องการที่จะหาลูกค้า คุณสามารถไปที่ตลาดได้เพราะตลาดคือสถานที่ที่มีคนต้องการซื้อแอปเปิ้ลอยู่
ตลาดคือสถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะมาพบกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณไปที่ตลาด คุณอาจไม่เห็นการขายแอปเปิ้ลให้แก่กัน แต่จะเห็นแอปเปิ้ลที่ขายอยู่บนชั้นวางของแทน
ในตลาดฟอเร็กซ์ก็ไม่ต่างกัน คุณเห็นผู้ซื้อและผู้ขายจากหลากหลายสกุลเงิน คนเหล่านั้นต้องการสถานที่ที่จะมาด้วยกันและมีความต้องการในการซื้อและขายสกุลเงินเหล่านั้น
อย่างไรก็ตามในในตลาด Forex ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะอยู่ห่างกันเป็นพันไมล์และเพื่อที่จะทำให้ได้มาพบกันนั้นก็จะต้องมีวิธีการหรือกลไกในการจับคู่ความต้องการของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนั่นเป็นเหตุผลให้มีโบรกเกอร์(broker)เข้ามานั่นเอง
ในปัจจุบันนี้โบรเกอร์ทั้งหมดในตลาดฟอเร็กซ์เป็นโบรกเกอร์(broker)จากต่างประเทศ เนื่องจากว่าในปัจจุบันตลาด Forex ยังไม่มีกฏหมายรองรับในประเทศไทยจึงเป็นสาเหตุทำให้ไม่สามารถก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยได้
โบรกเกอร์(broker)คือสถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายไปซื้อและขายเครื่องมือ เช่น สกุลเงิน นักเทรดฟอเร็กซ์ทำหน้าที่เหมือนเป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างคุณและตลาด ในทางกลับกัน ในการที่จะหาผู้ซื้อและผู้ขายของสกุลเงิน คุณสามารถไปที่โบรกเกอร์(broker)ได้และเขาจะเป็นคนที่ช่วยจับคู่ให้กับผู้ซื้อหรือผู้ขายที่เกี่ยวข้องกันให้กับคุณ
อย่างไรก็ตาม แทนที่ที่จะเป็นเพียงพ่อค้าคนกลางระหว่างคุณและผู้ซื้อและผู้ขายอื่นๆโบรกเกอร์(broker)ยังเป็นพ่อค้าคนกลางระหว่างคุณและสิ่งที่เรียกว่า “ผู้ให้บริการสภาพคล่อง”อีกด้วย
ผู้ให้บริการสภาพคล่อง
เพื่ออธิบายถึงการเป็น ผู้ให้บริการสภาพคล่องว่ามีลักษณะอย่างไร เราจะเริ่มจากพื้นฐานไอเดียของสภาพคล่องก่อน เช่น คุณต้องการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ในทางกลับกันคือซื้อจำนวนหนึ่งของสกุลเงินหนึ่ง ๆ
เพื่อที่คุณจะซื้อสกุลเงินนั้น จะต้องมีใครคนหนึ่งที่ขายสกุลเงินนั้นให้กับคุณ ในการที่จะขายสกุลเงินก็จะต้องมีใครบางคนที่ต้องการจะซื้อสกุลเงินนั้นไปจากคุณ
ถ้าหากมีหลายคนที่ต้องการซื้อสกุลเงินที่คุณกำลังขายอยู่ ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะสามารถขายได้ ถ้าหากว่ามีหลายคนกำลังขายสกุลเงินที่คุณต้องการซื้ออยู่นั้นก็หมายความได้ว่าคุณจะสามารถซื้อสกุลเงินที่คุณต้องการได้เช่นกัน เมื่อมีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในตลาดเป็นจำนวนมากจึงเป็นที่มาของคำว่า “สภาพคล่อง”
เมื่อมีการกล่าวว่าโบรกเกอร์(broker)จะส่งคำสั่งซื้อของคุณไปให้กับผู้ให้บริการสภาพคล่องนั่นหมายความว่าโบรกเกอร์(broker)จะจับคู่สัญญาของคุณกับผู้ให้บริการสภาพคล่องเช่นธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อทำการเทรดในอีกด้านของคุณ
1.โบรกเกอร์ Forex ประเภท Dealing Desk (DD) หรือ ผู้ทำให้ตลาดเกิดสภาพคล่องแบบผ่านเคาน์เตอร์จัดการ |
โบรกเกอร์(broker)ประเภท Dealing Desk ทำงานอย่างไร
ในหน้าที่หลักของโบรกเกอร์ DD นี้ มีหน้าที่หลักคือการเป็นคู่สัญญาในการทำธุรกรรมของลูกค้า เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อการส่งคำสั่งซื้อหรือการขายผ่านเคาน์เตอร์จัดการนี้ได้ ในความหมายของคำว่าสภาพคล่องนี้ยังหมายถึงการที่โบรกเกอร์(broker)ทำหน้าที่ในการสร้างสภาพคล่องและโอกาสให้กับตลาดการเทรดกับผู้เข้าร่วมการเทรดอื่นๆ นอกจากนี้ ถ้าหากสถาบันได้จัดการกับตราสาร, ETFs, Options และสินค้าโภคภัณฑ์ ในสินทรัพย์แต่ละแบบจะมี dealing desk ของนักเทรดแต่ละคน ข้อดีของโบรกเกอร์ DD นี้คือการมีค่าสเปรดคงที่และในขณะเดียวกันระดับความโปร่งใสของโบรกเกอร์(broker)ก็จะขึ้นกับแต่ละนโยบายของบริษัท
2. โบรกเกอร์(broker) Forex ประเภท No Dealing Desks (NDD) หรือ โบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ที่ไม่ผ่านเคาน์เตอร์จัดการ |
No Dealing Desk อธิบายถึงแพลตฟอร์มการเทรดที่เสนอโดยโบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ที่มีการจัดการการเข้าถึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารแบบไม่มีการกรอง เป็นการทำงานตรงกันข้ามของ Dealing Desk หรือ ผู้ทำให้ตลาดเกิดสภาพคล่อง, โบรกเกอร์(broker) ที่ทำการสร้างอัตราและราคาที่เหมือนกัน แต่จะไม่เหมือนกับอัตราตลาดระหว่างธนาคาร โบรกเกอร์ NDD นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า การดำเนินการ Straight-Through Processing (STP) ของการเทรดฟอเร็กซ์
โบรกเกอร์(broker)ประเภท No Dealing Desk ทำงานอย่างไร
โบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ที่ใช้ระบบการทำงานโดยตรงกับผู้ให้บริการสภาพคล่องในตลาด เมื่อการเทรดผ่านไปยัง No Dealing Desk แทนที่จะจัดการกับผู้ให้บริการสภาพคล่องเพียงคนเดียว แต่นักลงทุนจะต้องจัดการกับผู้ให้บริการจำนวนมากเพื่อให้ได้ราคา bid และ ask ที่ดีที่สุด นักลงทุนที่ใช้วิธีนี้สามารถเข้าถึงอัตราที่สามารถดำเนินการได้ทันที หรืออาจใช้วิธีการของ ECN ก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ โบรกเกอร์(broker) No Dealing Desk อาจคิดค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนหรือค่าคอมมิชชั่น เพราะว่าโบรกเกอร์(broker)จะทำการส่งค่าสเปรดไปยังลูกค้าโดยตรง ดังนั้นโบรกเกอร์(broker)จึงต้องมีการคิดค่าธรรมเนียมในทางอื่นๆหรือค่าบริการในการดำเนินการในกรณีต้องเผชิญกับการทำงานที่ไม่ได้เงิน ในการเทรดสองทางนี้กับ โบรกเกอร์(broker) No Dealing Desk อาจะมีราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์(broker) Dealing Desk
นอกจากนี้ประเภทของโบรกเกอร์(broker) No Dealing Desk นี้ยังแบ่งได้ดังนี้
● โบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ STP
โบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ STP หรือ โบรกเกอร์(broker) Straight Through Processing เป็นการชื่อของโบรกเกอร์(broker)จากเวลาที่ได้รับการสั่งซื้อของลูกค้าจะส่งคำสั่งซื้อโดยตรงไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง ผู้ให้บริการสภาพคล่องเช่น ธนาคาร, กองทุนป้องกันความเสี่ยง, บริษัท การลงทุน หรือ โบรกเกอร์(broker)อื่นๆและไม่มีเรื่องการสั่งสื่อผ่านคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง ในทางกลับกัน โบรกเกอร์ STP จะไม่มีการคัดกรองคำสั่งผ่าน Dealing Desk การขาดการแทรกแซงจาก Dealing Desk นี้เป็นรูปแบบของแพลตฟอร์มการเทรดทางอิเล็กทรอนิกส์ของโบรกเกอร์(broker) STP
ด้วยกระบวนการการที่ไม่มีคนกลางเข้ามาแทรกแซงนี้ (dealing desk) โบรกเกอร์(broker) STP จะสามารถทำการดำเนินการคำสั่งของลูกค้าได้โดยไม่มีการล่าช้า และนอกจากนี้ โบรกเกอร์ STPจะไม่มีการส่งการรีควอทไปยังลูกค้าที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก ผลของโบรกเกอร์ STP จะอนุญาติให้ลูกค้าทำการเทรดในระหว่างเวลาปล่อยข่าวการเงินโดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ
ข้อดีของโบรกเกอร์(broker) STP จากการมีผู้ให้บริการสภาพคล่องมากมาย และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ให้บริการในระบบนี้่ยังหมายความถึงการเติมที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า
● โบรกเกอร์(broker)ฟอเร็กซ์ ECN
โบรกเกอร์(broker) ECN คือ ผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน forex ที่ใช้เครือข่ายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ECN เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงผู้เข้าร่วมอื่นๆในตลาดสกุลเงินได้โดยตรง เพราะ โบรกเกอร์ ECN จะรวมใบเสนอราคาจากผู้เข้าร่วมในตลาดหลายแห่ง โดยทั่วไปสามารถทำราคา bid/ask ให้แคบขึ้นกับลูกค้าได้
พื้นฐานของโบรกเกอร์ ECN
โบรกเกอร์ ECN คือโบรกเกอร์(broker)แบบ No Dealing Desk หมายถึง โบรกเกอร์(broker)จะไม่ทำการส่งต่อคำสั่งซื้อไปยังผู้ทำให้ตลาดเกิดสภาพคล่อง แทนที่ด้วยการจับคู่ผู้เข้าร่วมในการเทรดทางอิเล็กทรอนิกส์และส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง
เมื่อโบรกเกอร์(broker) ECN จะจับคู่เพียงการเทรดระหว่างผู้เข้าร่วมตลาด จึงไม่สามารถเทรดกับลูกค้าได้ เพราะว่าค่าสเปรด ECN นั้นแคบกว่าโบรกเกอร์(broker)ที่ใช้ค่าสเปรดทุกวัน โบรกเกอร์ ECN จึงคิดค่าธรรมเนียมลูกค้าด้วยค่าคอมมิชชั่นที่ด้วยราคาที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วต่อการทำธุรกรรม
โบรกเกอร์(broker) ECN อำนวยความสะดวกในการเทรดต่อนักลงทุนที่สนใจทั่วทั้ง ECN การทำงานกับโบรกเกอร์(broker)ประเภทนี้โดยมากจะเสียค่าธรรมเนียมที่น้อยกว่ารวมไปถึงเวลาในการเทรดเพิ่มเติมอันเนื่องมากจากฟังก์ชั่นการทำงานของ ECN
การเลือกโบรกเกอร์(broker) forex นั้นหากนักเทรดเลือกไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจหลักการการดำเนินการของโบรกเกอร์(broker)ที่เลือกก็จะนำไปสู่การเทรดที่ไม่คุ้มค่า ซึ่งวิธีการเลือกโบรกเกอร์(broker) forex ที่น่าเชื่อถือควรประกอบด้วยวิธีดังนี้
1. โบรกเกอร์(broker)ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่รับการกำกับดูแลที่เข้มงวด
ควรเลือกโบรกเกอร์(broker)ที่ภายใต้หน่วยงานที่รับการกำกับดูแลที่เข้มงวด เช่นFCA,ASIC,NFAจะปลอดภัยมากกว่า หลีกเลี่ยงเลือกที่กำกับไม่เข้มงวด
สิ่งแรกที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญของเทรดเดอร์ในการเลือกโบรกเกอร์(broker) forex ที่ถูกต้องคือการพิจารณาถึงการกำกับดูแลโบรกเกอร์(broker)ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่น่าเชื่อถือและได้รับการรับรองอย่างเป็นมาตรฐานตามสากล เช่น FCA,ASIC,NFA เพราะหน่วยงานดังกล่าวนี้จะมีการตรวจสอบและการดูแลอย่างเข้มงวด ทำให้เทรดเดอร์มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลและเงินทุนที่ใช้ในการเทรด นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะหลีกเลี่ยงการเทรดกับโบรกเกอร์(broker)ที่ไม่ได้มาตรฐานอันเนื่องจากไม่มีการตรวจสอบที่ชัดเจนและเข้มงวด ทำให้ข้อมูลและเงินทุนของเทรดเดอร์ไม่ได้รับการคุ้มครองนั่นเอง
2. ค่าใช้จ่ายในการเทรด
ก่อนทำการเทรดทุกครั้งเป็นสิ่งดีถ้าหากว่านักเทรดจะคำนวนกำไรและต้นทุนของตนเองก่อนทำการเทรด กล่าวคือ การวางแผนเงินทุนของตนเองและแบ่งออกมาเฉพาะส่วนเพื่อทำการเทรด เช่น นำเงิน 2% ของบัญชีออมทรัพย์ของนักเทรดออกมาเพื่อทำการเทรด ไม่ว่าผลจะได้หรือเสียก็จะไม่ทำให้การเงินของนักเทรดจะต้องมีผลกระทบ อีกทั้งหากพึ่งเริ่มเทรดใหม่ๆด้วยแล้วในการวางแผนค่าใช้จ่ายใจการเทรดต่อครั้งยิ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก
3. อ่านรีวิวโบรกเกอร์(broker)
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอีกทั้งผู้คนต่างให้ความสนใจกับสื่อบนโซเชี่ยลมีเดีย ทำให้หลากหลายข้อมูลไม่มีจริงหรือเท็จที่นักเทรดจะสามารถเข้าถึงข้อมูลและเป็นผู้ตัดสินใจได้ง่ายๆด้วยตนเอง ดังนี้เอง ในแต่ละโบรกเกอร์(broker)ต่างมีผู้ใช้บริการจากนักเทรดทั่วทุกมุมโลกที่ได้คอมเม้นและแสดงความเห็นไว้ตามสื่อออนไลน์ต่างๆจึงทำให้ง่ายต่อนักเทรดมือใหม่ที่ต้องการเลือกว่าควรใข้บริการจากโบรกเกอร์(broker) forex ไหนดี ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของนักเทรดที่จะคอยอ่านรีวิวและสรุปข้อดีข้อเสียของแต่ละโบรกเกอร์(broker)เพื่อตัดสินใจเลือกการใช้บริการโบรกเกอร์(broker)ที่มั่นใจ
4. สอบถามที่pantip
แพลตฟอร์มอีกแพลตฟอร์มหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับชาวไทยคือ pantip.com นั่นเองซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ที่ตั้งคำถามกระทู้นั้นจะได้รับคำตอบจากผู้ใช้งานจริง ซึ่งข้อดีของ Pantip คือการที่เว็บไซต์ได้ทำการจัดแบ่งหมวดหมู่เรียบร้อย ทำให้เป็นการคัดกรองผู้ที่จะเข้ามาตอบคำถามให้เรากับได้อย่างดีอีกด้วย โดยส่วนมากแล้วนักเทรดมือใหม่จึงอาจลองเลือกการเข้าไปตั้งกระทู้สอบถามที่ Pantip ว่าคนไทยส่วนใหญ่แล้วเลือกใช้บริการกับโบรกเกอร์(broker) forex ไหนมากที่สุด ซึ่งในการตั้งกระทู้นี้ก็จะได้รับคำตอบจากผู้ใช้งานจริงและเชื่อถือได้ หลังจากนั้นนักเทรดจึงมาสรุปและประมวลความเห็นในการนำมาสู่การตัดสินในด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง
5. คุณภาพของการดำเนินคำสั่งและ Slippage
ปัจจัยสำคัญของการเลือกโบรกเกอร์(broker) forex ที่ถูกต้องคือเลือกโบรกเกอร์(broker)ที่มีการดำเนินการคำสั่งซื้อขายรวดเร็วและการคลาดเคลื่อนของราคา (slippage) ที่มีความสมเหตุสมผล การดำเนินการคำสั่งซื้อขายรวดเร็วนั้นคือการดำเนินคำสั่งที่มีคุณภาพและยังหมายถึงเมื่อนักเทรดทำการเปิดคำสั่งการซื้อขายเมื่อใด ระบบจะต้องวิเคราะห์ถึงราคาต้นทุนที่เป็นตัวตั้งและหยิบยกราคาที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าโดยทันที
6. ระบบและความเร็วการฝากเงินและถอนเงิน
เมื่อการเทรดเกี่ยวผันกับเรื่องของกำไรและขาดทุน รวมทั้งการลงทุนการเทรดที่เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้น ระบบการฝากและถอนเงินของโบรกเกอร์(broker) forex จะต้องเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความรวดเร็ว อีกทั้งต้องรองรับธนาคารของนักเทรดในการจะอำนวยความสะดวกให้แก่นักเทรดเพื่อให้การเทรดประสบความสำเร็จและเป็นไปได้ด้วยดี ตัวอย่างเช่น นักเทรดอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น การฝากและถอนเงินนั้นควรจะครอบคลุมธนาคารที่ให้บริการในประเทศไทยอย่างเช่น บริการไอแบ้งกิ้งของธนาคารในประเทศไทย เพื่อให้นักเทรดได้มีตัวเลือกในการฝากและถอนเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
7. มีบัญชีเทรดทดลอง(demo)หรือไม่
แน่นอนว่ายังไม่มีใครสามารถเทรดครั้งแรกและได้ผลกำไรร้อยเปอร์เซ็นต์แน่นอน เพราะการเทรดนั้นนอกจากความรู้ที่ต้องหมั่นศึกษาอย่างสม่ำเสมอนั้น ยังต้องรวมไปถึงชั่วโมงบินหรือประสบการณ์การเทรดของนักเทรดเองก่อนที่จะลงสู่สนามจริง กล่าวคือ การมีบัญชีเทรดทดลองหรือ Demo ที่นักเทรดจะได้รับเงินเสมือนจริงและเทรดบนแพลตฟอร์มเดียวกับบัญชีจริงได้โดยทันที ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่โบรกเกอร์(broker)ควรจัดการบัญชีทดลองเทรดให้กับนักเทรด เพื่อฝึกฝนอย่างแม่นยำก่อนการตัดสินใจในการเทรดด้วยบัญชีจริง
8. การบริการลูกค้า
เมื่อโบรกเกอร์(broker) forex ได้จัดรูปแบบแพลตฟอร์มทุกอย่างตามมาตรฐานที่ได้กล่าวในเบื้องต้นแล้วนั้น สิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้คือการให้บริการลูกค้า โดยในแต่ละโบรกเกอร์(broker)จะมีการกำหนดระยะเวลาการให้บริการลูกค้าที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นการให้บริการทุกวันโดยไม่มีวันหยุด หรือ ห้าวันต่อสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเรื่องของนักเทรดที่จะต้องติดตามว่าโบรกเกอร์(broker)ใดที่เปิดการให้บริการแก่นักเทรดที่พอใจและรับได้มากที่สุด เพราะแน่นอนว่า การเทรดนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเพราะมีความเกี่ยวเนื่องกับการเงิน จึงต้องคอยตรวจสอบว่าผู้ให้บริการโบรกเกอร์(broker)นี้ได้ตัดสรรการบริการลูกค้าแก่นักเทรดลักษณะใด
การเลือกโบรกเกอร์ forex ที่ดีนั้นจะทำให้ชีวิตของนักเทรดอย่างเราง่ายขึ้น เพราะนอกจากสำหรับนักเทรดบางคนที่ใข้การเทรดเป็นเสมือนกับรายได้รองจากรายได้หลักนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญในการเลือกโบรกเกอร์ให้ถูกต้อง อย่างเช่น นักเทรดอาจลองสืบค้นข้อมูลเชิงลึกของแต่ละโบรกเกอร์ว่าเคยมีประวัติที่อาจทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจหรือไม่เช่น ประวัติการทำกราฟหลอกด้วยระบบที่ทางโบรกเกอร์(broker)นั้นควบคุมเอง เมื่อพบอย่างนี้ยิ่งทำให้การเทรดกับโบรกเกอร์(broker)นี้ขาดความเชื่อถือ เป็นต้น
เลือกโบรกเกอร์(broker)สักนิดจะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น โดยเฉพาะการตรวจสอบดูว่าโบรกเกอร์นั้นมีการจดทะเบียนกับหน่วยงานที่เชื่อถือได้หรือไม่ เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัยวัดความมั่นคงและปลอดภัยของเงินทุนและข้อมูลของนักเทรด สาเหตุที่ต้องพิจารณาในจุดนี้ก็เพราะในหน่วยงานที่ทางโบรกเกอร์ได้จดทะเบียนไว้นั้นจะมีการตรวจสอบบัญชีรวมไปถึงการทำธุรกรรมต่างๆของโบรกเกอร์ในแต่ละรายเพื่อเป็นป้องกันการให้บริการทุจริตต่อลูกค้า นอกจากนี้อาจะยังต้องคอยระวังกับโบรกเกอร์(broker)ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานที่ไม่ได้รับการรับรองซึ่งการเลือกเทรดกับโบรกเกอร์(broker)ประเภทนี้ถือว่าไม่แนะนำอย่างยิ่ง
ดังนั้น การพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ forex จึงต้องตรวจสอบปัจจัยและข้อมูลเชิงลึกของแต่ละโบรกเกอร์(broker)ก่อนการตัดสินใจเทรด เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการลงทุนและเงินของเราเอง เมื่อนักเทรดเลือกโบรกเกอร์ถูกต้องนั่นหมายความว่าเงินทุนและข้อมูลจะได้รับการคุ้มครองจากโบรกเกอร์แน่นอน จึงทำให้นักเทรดสามารถเทรดได้อย่างสบายใจนั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องคอยดูเรื่องการให้บริการลูกค้าของโบรกเกอร์ว่ามีความใส่ใจมากน้อยเพียงใด และนักเทรดเองพอใจกับรูปแบบการบริการของโบรกเกอร์นั้นๆหรือไม่ จึงเป็นอีกข้อสำคัญที่จะต้องพิจารณาก่อนทำการตัดสินใจ
▼ เทรด Forex กับโบรกเกอร์ชั้นนำด้วยค่าคอมมิชชั่น 0 สเปรดต่ำ ▼
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง