ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดความไม่แน่นอน ผู้ลงทุนหลายคนพยายามหาความมั่นคงที่ให้ผลตอบแทนทั้งระยะสั้นและระยะยาว แต่เชื่อหรือไม่ครับว่าจริงๆ แล้วการลงทุนไม่ได้ให้ประโยชน์เฉพาะในยามวิกฤตเศรษฐกิจเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุน ETF ซึ่งนับเป็นตัวช่วยในการถ่วงความรุนแรงจากผลกระทบทางการเงินที่จะได้รับอย่างคาดไม่ถึง
ดังนันในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร แล้วจะเลือกลงทุนกับ ETF ตัวไหนดี โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน
ETF หรือ Exchange Traded Fund คือ การลงทุนในกองทุนดัชนีตลาดหลักทรัพย์ประเภท ETF หรือ กองทุนเปิดประเภทหนึ่งที่รวบรวมดัชนีหุ้นจากหลากหลายบริบทเข้าไว้ด้วยกัน ผนวกขึ้นเป็นกลุ่มการลงทุนใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ (Gold ETF), การลงทุนอ้างดัชนีราคาต่างประเทศ (Foreign ETF), การลงทุนอ้างดัชนีราคาหุ้นในประเทศ (Equity ETF) เป็นต้น
แล้วทราบหรือไม่ครับว่ากองทุนเหล่านี้ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้ที่บริหารจัดการคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) โดยที่จะสร้างผลตอบแทนด้วยวิธีอิงกับดัชนีอ้างอิง ที่ปัจจุบันนี้สามารถเทรดได้ทั้งตลาดภายในประเทศ ต่างประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ที่สำคัญผู้ลงทุนจะมีสิทธิรับผลตอบแทนจากการลงทุน 2 ช่องทางอันได้แก่
◆ จากส่วนต่างราคา (Capital Gain) กล่าวคือ เมื่อผู้ลทุนซื้อกองทุนในประเภท ETF โดย ณ ขณะนั้นมีราคาที่ต่ำกว่าราคาหลังจากซื้อมาแล้วในปัจจุบัน ก็จะได้รับกำไรจากส่วนต่างขอราคา
◆ เงินปันผล (Dividend) กล่าวคือ ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการจัดสรรปันส่วนโดยผู้จัดการเงินทุน ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนเป็นเจ้าของ ทั้งนี้เงินที่ได้รับจะอยู่ในรูปหลังจากหักค่าดำเนินการและค่าธรรมเนียมของบริษัทจัดการกองทุนรวมไปแล้ว
การลงทุนกับ ETF จะช่วยให้การกระจายความเสี่ยงของการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการลงทุนถูกกระจายไปยังหุ้นหลายๆ ตัวในกิจการที่คาดว่าจะสร้างอัตราผลตอบแทนที่สวยงาม ด้วยจำนวนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมากกว่า 800 ตัว ทำให้ผู้ลงทุนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ลงทุนรายใหม่เกิดความลังเลที่จะซื้อหุ้นรายตัวเพราะกลัวการตัดสินใจลงทุนผิดพลาดไปเลือกหุ้นที่ราคาสูงแต่อัตราการทำกำไรต่ำเป็นต้น ทั้งนี้ด้วยเงินทุนแต่ละคนที่มีไม่เท่ากัน จะให้ไปลงทุนกับหุ้นตัวเดียวแบบหมดหน้าตัก! ก็เป็นประเด็นที่ต้องคิดกันหลายวันเลยทีเดียว
ดังนั้น ปัจจุบันนี้นักลงทุนรุ่นใหม่ อาจจะไม่เพียงเฉพาะหน้าใหม่เท่านั้นที่ตัดสินใจมาเดิมพันกับกองทุน ETF เพราะมองเห็นสิ่งที่สร้างความคุ้มค่าได้สูงกว่า ความเสี่ยงถูกกระจายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องเป็นเซียนหุ้น ไม่ต้องเสียเวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว ซึ่งจำนวนเงินทุนจะไม่ใช่อุปสรรคของคุณอีกต่อไป
สรุปจุดเด่นของการลงทุนกับ ETF ง่ายๆ จำได้ 3 ข้อ
◆ เป็นหลักทรัพย์ที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า
◆ มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนรวม
◆ ซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น
◆ การลงทุน ETF ไม่มีการกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ แต่ ETF จะขึ้นลงตามตลาด ดังนั้นอาจเกิดการขาดทุนในระยะสั้น แต่ส่วนใหญ่ในระยะยาวจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่า ดังนั้น ETF จะเหมาะกับนักลงทุนทีชื่นชอบสไตล์การเทรดระยะยาว
◆ ในการลงทุนจะมีค่าธรรมเนียมจัดการที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยซึ่งรวมอยู่ในราคาของกองทุนแล้ว
◆ การที่ดัชนีกับราคาสินทรัพย์อ้างอิงมีราคาไม่ตรงกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากค่าธรรมเนียมของการบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม
◆ ผลตอบแทนจาก ETF อาจจะต่ำกว่าผลตอบแทนของหุ้น
นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เลือก ETF ก็เพราะประเด็นสำคัญในเรื่องการกระจายความเสี่ยง เพราะผู้ลงทุนเองอาจจะยังไม่มีเวลามากพอในการวิเคราะห์หุ้นรายตัว หรือเป็นการสร้างช่องทางเพื่อรับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น โดยได้แบ่งกลุ่มของนักลงทุนเป็น 2 กลุ่มดังนี้
◆ นักลงทุนมือใหม่: ถือว่าเป็นการเลือกทางลงทุนที่เหมาะสม เพราะนักลงทุนมือใหม่อาจจะยังไม่ทราบวิธีการวิเคราะห์หุ้น ยังไม่ทราบวิธีศึกษาเทรนของหุ้นหรืออ่านงบกำไรของกิจการ ที่สำคัญการลงทุนแบบนี้ใช้เงินทุนที่ไม่ได้เยอะ มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญบริหารพอร์ตการลงทุนให้อีกด้วย
◆ นักลงทุนระยะยาว: ด้วยบุคลิกภาพของนักลงทุนที่มักจะหาช่องทางอื่นๆ ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ETF เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่มีความสำคัญในมุมมองของความคาดหวังผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว การกระจายความเสี่ยง และเงินปันผลในอนาคต
ETF แบ่งการลงทุนออกเป็นชนิดต่างๆ เพื่อความหลากหลายที่ผู้ลงทุนเลือกเองได้ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้กองทุนรวมอีทีเอฟที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของปัจจัยอ้างอิง ซึ่งในปัจจุบันมี ETF ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
◆ Equity ETF / Index ETF: มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นในประเทศ เช่น TDEX ◆ Sector ETF: มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม ◆ Foreign ETF: มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นต่างประเทศ เช่น ประเทศจีน ◆ Gold ETF: มุ่งสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาทองคำ เช่น GLD |
ต้องย้ำอีกครั้งก่อนนะครับว่า “หากคุณซื้อกองทุน ETF ที่อ้างอิงดัชนี SET50 จะหมายความว่าคุณได้ลงทุนหุ้นทั้ง 50 ตัวในดัชนี SET50 และก็หมายรวมไปถึงถ้าซื้อ ETF ที่อ้งอิงดัชนีอื่นๆ ด้วย” แล้ว ETF แบบไหนที่จะสร้างผลตอบแทนได้ตรงใจผผู้ลงทุนที่สุด? และ ETF ตัวไหนที่เป็นตัวโปรดของกลุ่มคนไทย “โดยเทียบเคียงจากผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 5 ปีย้อนหลัง” เราไปดูกันเลยครับ (5 กองทุนที่น่าสนใจ)
◆ GLD: กองทุนเปิดเคแทม โกลด์ อีทีเอฟ แทร็กเกอร์ ◆ ECOMM: กองทุนเปิด KTAM SET COMMERCE ETF TRACKER ◆ TGOLDETF: กองทุนเปิดธนชาตอีทีเอฟทองคำแท่ง ◆ ENGY: กองทุนเปิด MTRACK ENERGY ETF ◆ TDEX: กองทุนเปิด ไทยเด็กซ์ เซ็ท 50 อีทีเอฟ |
สิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรนำมาประกอบการตัดสินใจเมื่อเลือกซื้อกองทุน:
◆ ตรวจสอบผลประกอบการภาพรวมของหุ้นที่ไปลงทุน ถ้าผลประกอบการออกมาดี แสดงว่า ETF มีโอกาสปรับตัวเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ◆ สังเกตการปรับตัวของราคา ประเมินแนวโน้มสินทรัพย์ว่าจะไปทางไหน จะทำให้เราทราบว่าจะซื้อหรือจะขายเมื่อไหร่ ดังนั้นควรที่จะพยายามติดตามข้อมูลสินทรัพย์ที่เราสนใจ ◆ เลือกกองทุนที่สภาพคล่องสูงหรือขนาดสินทรัพย์มาก แต่ว่าขนาดสินทรัพย์จะเยอะขนาดไหน ต้องดูปริมาณการซื้อขายต่อวันด้วย ◆ วิเคราะห์ราคาเสนอซื้อ (Bid) ราคาเสนอขาย (offer) ว่าในการซื้อ 1 ครั้ง 1 ช่วงราคาจะสามารถซื้อหุ้นได้เป็นจำนวนเงิน ซึ่งโดยทั่วไปควรที่จะซื้อได้อย่างน้อยหลักล้านบาทเท่าไหร่ สามารถตรวจสอบได้ที่ Market marker ของ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ว่ามีวิธีบริหารจัดการอย่างไร ◆ เรื่องการจ่ายเงินปันผล ผลการตอบแทนระยะยาว, ค่าธรรมเนียม, ความเสี่ยง เช่น มีนโยบายป้องการความเสี่ยงอย่างไรบ้าง โดยลงทุน 80% อ้างอิงจากดัชนี เป็นต้น |
สำหรับการซื้อขาย ETF ต้องบอกว่าง่ายมากๆ ครับ ยิ่งถ้าท่านใดเคยเทรดหุ้นมาก่อน สามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการซื้อขายหลักทรัพย์เลย โดยมีรูปแบบการซื้อขายอยู่ 2 วิธีหลักดังนี้
◆ ซื้อขายผ่านโปรแกรม Streaming: โดยเริ่มจากส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตด้วยตนเอง หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Streaming ก็สามารถสร้างความสะดวกสบายได้อีกเช่นเดียวกัน
◆ ซื้อขายผ่านการติดต่อเจ้าหน้าที่: เจ้าหน้าที่การตลาดเป็นบุคคลที่สามารถช่วยให้คุณส่งคำซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดจากการส่งข้อมูลผิด รวมถึงยังให้คำแนะนำในการเทรดอีกด้วย
★ สิ่งสำคัญ! ก่อนทำการซื้อขายหุ้นจะต้องเปิดบัญชีตลาดหลักทรัพย์ก่อน
※ ตัวอย่างวิธีการซื้อขาย ETF (ซื้อผ่าน Streaming Application)
• ขั้นตอนที่ 1 เมื่อสมัครสมาชิกผ่านแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว (ขั้นตอนการสมัครนี้จะต้องใช้เลขบัญชีซื้อขาย) ให้เข้าสู่ระบบ
• ขั้นตอนทื่ 2 เมื่อเข้าสู่ระบบจะพบหน้าต่างของ “Realtime” ให้กดที่เมนู “Watch” จะปรากฎพบเครื่องหมายลูกศรชี้ลงบนข้อความ “Favorite 1” (Dropdown) ให้คลิกที่ลูกศร หลังจากนั้นจะปรากฎหน้าต่างใหม่ขึ้นมา
• ขั้นตอนที่ 3 กดเมนู “SET” แล้วเลื่อนลงมาจะพบข้อความว่า “.ETFs” เมื่อกดไปยังข้อความนั้นแล้วจะพบรายชื่อที่มีการซื้อขายขึ้นมา
• ขั้นตอนที่ 4 ให้คุณสังเกตที่แถบด้านล่างจะปรากฎข้อความ “Buy/Sell” เลือกเพื่อดำเนินการต่อ
- เมื่อต้องการซื้อ (Buy) ให้กรอกชื่อของกองทุนที่ต้องการซื้อในช่องค้นหา, ระบุ Volume, ราคาที่ต้องการซื้อ ณ ขณะนั้น, และกรอกรหัส PIN ส่วนตัวของคุณ หลังจากนั้นกดคำสั่ง “BUY”
- กรณีการต้องการขาย (Sell) ก็เหมือนกันเพียงเลือกแถบเครื่องหมาย “Sell”
การลงทุนกับ ETFs เปรียบเสมือนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ของคุณบนความเสี่ยงที่บริหารได้ จากข้อมูลข้างต้นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถตอบข้อสงสัยของนักลงทุนทุกท่านว่า ETF คืออะไร มีวิธีการลงทุนอย่างไร และ ETF ตัวไหนดีที่ควรลงทุน และสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังลังเลอยู่ว่าควรจะลงทุนกับ ETFs ดีหรือไม่ ถ้าคุณกำลังมองหาการลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี มีคุณลักษณะที่คล้ายหุ้น และสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างน่าพอใจ ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ETF คือคำตอบที่เหมาะสมกับคุณครับ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง