Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    Passive Fund คืออะไร?และ แตกต่างจาก Active Fund ยังไง

    5 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 02 เม.ย. 2567 08:06 น.

    ว่าการลงทุนสำหรับห้วงเวลานี้ หลายคนคงไม่กล้าเสี่ยงด้วยสถานการณ์ในการเงินและการลงทุนที่ผันผวนตลอดเวลา ทำให้ความมั่นใจในการลงทุนถดถอย แต่ถึงกระนั้น ยังคงมีนักลงทุนอีกกลุ่มที่ยังคงทำเงินได้จากการลงทุน อีกทั้งยังนำการลงทุนในรูปแบบที่คนทั่วไปไม่คุ้นเคยมานำเสนอ เป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจในการทำเงินในยามสภาวะทุกอย่างหยุดชะงัก การลงทุนในกองทุน Passive Fund เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมา หลายคนคงต้องตั้งคำถามแล้วว่า Passive Fund คืออะไร และ กองทุน Passive Fund กองไหนดี ร่วมเดินทางไปกับเพื่อทำการศึกษา สร้างความเข้าใจ และลงทุนไปกับ กองทุน Passive Fund กัน

    Passive Fund คืออะไร

    กองทุน Passive Fund คือ หน่วยการลงทุนที่เน้นการลงทุนในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงหรือผลประเมินที่ใกล้เคียงกับค่าปกติของมูลค่าการตลาด การลงทุนทุกอย่างของ Passive Fund คือ ความระมัดระวัง ที่มองว่า ทุกการลงทุนคือความเสี่ยง จึงควรพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ อิงทุกอย่างกับตลาดและสถานการณ์ความเป็นจิรง ไม่คาดหวังกับผลกำไรระดับสูงที่เกินกว่ามูลค่าการประเมินของภาพการตลาดโดยรวม สรุปง่าย ๆ คือPassive Fund คือการเลือกการลงทุนอันใดก็ตาม โดยมีจุดประสงค์ในการลงทุนแบบตั้งรับ เคลื่อนไหวทุกอย่างตามจังหวะกลไกของตลาด ไม่หวังผลในการทำกำไรมาก และ พยายามปกป้องเงินทุนของตัวเองไว้ให้มากที่สุด

     

    Passive Fund จึงถือเป็นคำนิยามใหม่สำหรับการลงทุนที่เน้นความปลอดภัย และผลกำไรเป็นหลัก แม้ผลกำไรตอบแทนไม่ได้สูงมากนัก แต่ก็ดีกว่าการขาดทุนในการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ นั่นเอง 

    เปรียบมวยเวทีการลงทุนกองทุน Passive Fund vs Active fund ต่างกันยังไง

    และแน่นอน เมื่อมีการลงทุนในเชิงตั้งรับ เคลื่อนไหวทุกอย่างไปตามกลไกของตลาด ยอมรับความเป็นไปของตลาดทั้งหมด อีกด้าน การลงทุนแบบ Active Fund คือ รูปแบบการเอาชนะตลาดด้วยการสร้างผลกำไรที่เกินกว่าราคาประเมินเพราะเชื่อว่าด้วยปัจจัยทางเทคนิคต่าง ๆ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้มากกว่า ผลกำไรปกติที่มีการประเมินออกมา เพื่อความชัดเจน และช่วยนักลงทุนหน้าใหม่ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องว่าการลงทุนแนวไหนเหมาะกับตัวเอง จึงขอทำการเปรียบมวยการลงทุน Passive Fund vs Active fund ว่ามีจุดแข็ง จุดเด่นต่างกันอย่างไร 


    1. Passive Fund เลือกมองดูตลาดตามสภาวะความเป็นไปของตลาด vs Active Fund เลือกมองมูลค่าของหุ้นที่จะเข้าลงทุน 

    การลงทุนในรูปแบบ Passive Fund อาศัยความระมัดระวัง พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นไปของการตลาด เพราะนิยามของ Passive Fund คือ ไม่มีใครสามารถเอาชนะตลาดได้ ทุกคนต้องคอยลื่นไหลไปตามจังหวะของตลาด แต่สำหรับการลงทุนแบบ Active Fund มองว่า มีการลงทุนในหลากหลายรูปแบบที่ตลาดไม่สามารถควบคุมได้ แม้ว่าสถานการณ์ต่าง ๆ ในโลกจะส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่ก็ไม่สามารถสร้างผลกระทบต่อกองทุน Active Fund ได้ ตัวอย่างของกองทุนที่เป็น Active Fund คือ การลงทุนในหุ้นกลุ่ม VI ที่สาย Active เชื่อว่า ไม่มีอะไรสามารถสร้างความสั่นคลอนต่อมูลค่าของหน่วยลงทุนนั้น ๆ ต่างกับ Passive Fund ที่มองว่า ทุกอย่างจะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของตลาด มากน้อยต่างกันไป


    2. Passive Fund เลือกทำผลกำไรตามความเป็นไปของตลาด vs Active Fund เลือกสร้างผลกำไรที่สูงกว่ามูลค่าการประเมินของตลาด 

    กลุ่มนักลงทุนที่เชื่อมั่นในรูปแบบของ Passive Fund ตีประเด็นในเรื่องไม่มีใครสามารถเอาชนะตลาดได้ จึงส่งผลให้รูปแบบการทำกำไรจะอิงอาศัยสถิติที่ผ่านมา เมื่อกรอบของกำไรขาดทุนอยู่ที่ค่าประมาณเท่าไหร่ Passive Fund จะดำเนินการลงทุนด้วยความเชื่อว่า ทุกอย่างจะไม่หลุดกรอบจากผลกำไรขาดทุนที่เคยถูกบันทึกสถิตไว้ แตกต่างจาก Active Fund ที่เชื่อว่า การลงทุนทุกอย่าง ถ้าคุณเข้าถูกเวลา ออกถูกจังหวะ คุณสามารถสร้างผลกำไรมากกว่าอัตราผลกำไรประเมินที่ท้องตลาดเชื่อมั่น Active Fund จะพยายามค้นหาช่องทางการทำเงินด้วยผลกำไรที่มากที่สุดโดยไม่อิงกับตัวเลขสถิติผลประกอบการที่เคยผ่านมาแล้ว


    3. Passive Fund วัดความคุ้มค่าจาก Tracking Error vs Active Fund วัดความคุ้มค่าจากชุดเครื่องมือต่าง ๆ

    Passive Fund มองทุกอย่างจากมูลค่าของความเป็นจริง ดังนั้นตัวชี้วัดว่า กองทุน หรือหน่วยลงทุนอันใดคุ้มค่ากว่ากันโดยอิงจาก Tracking Error คือ อัตราค่าความเสี่ยงที่เบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานกลาง หรือที่นักลงทุนรู้จักกันในคำว่า benchmark เมื่อใดก็ตามที่ค่า Tracking Error สูง หรือ เบี่ยงเบนไปจากค่ามาตรฐานกลางมาก แสดงว่ากองทุนตัวนั้นมีความเสี่ยงในการขาดทุนสูง ส่วน Active Fund จะดูจากแนวโน้มทิศทางผลตอบแทนเป็นหลัก โดยอิงจากค่าต่าง ๆ ที่แสดงผลบน Sharp Ration, Information Ratio และ Alpha ยิ่งค่ารวมมีสูงเท่าไหร่ โอกาสทำกำไรกับกองทุนหรือหุ้นตัวนั้นก็มีสูงตามไปด้วย


    Passive Fund ดียังไง

    กองทุน passive มีข้อดีมากมายที่ทำให้เป็นวิธีการลงทุนที่นิยมและเป็นทางเลือกที่ดี โดยข้อดีหลักๆ ประกอบด้วย:


    1. ค่าธรรมเนียมต่ำ

      กองทุน passive มักมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนที่มีการเลือกหุ้นและกองทุนที่มีกิจกรรมบริหารจัดการเพิ่มเติม ซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถเก็บรักษาผลกำไรสูงกว่าในระยะยาว


    2. ความคงทนในผลตอบแทน

      กองทุน passive มีวัตถุประสงค์ในการสะท้อนผลตอบแทนของตลาดหรือตัวดัชนีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกองทุนมีแนวโน้มใกล้เคียงกับตลาดหรือตัวดัชนีนั้นๆ และไม่ได้ถูกบิดเบือนด้วยการเลือกหุ้นของผู้จัดการ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน


    3. ความง่ายในการลงทุน

      กองทุน passive มักมีเงื่อนไขการลงทุนที่ไม่ซับซ้อนมากนัก นักลงทุนไม่ต้องตัดสินใจเลือกหุ้นเองหรือติดตามผลของบริษัทหรือตลาดแต่ละวัน แทนที่นักลงทุนสามารถลงทุนในกองทุนและกลับมาติดตามผลตอบแทนในช่วงเวลาที่เหมาะสม


    4. ความหนาแน่นในการลงทุน

      กองทุน passive มักลงทุนในบริษัทหรือหลักทรัพย์ที่อยู่ในรายชื่อดัชนี ทำให้มีการการกระจายความเสี่ยงในระดับที่สูงกว่า และช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในบริษัทหรือหลักทรัพย์รายตัว


    5. ความโปร่งใสในการลงทุน

      นักลงทุนสามารถตรวจสอบการสะท้อนผลตอบแทนของกองทุน passive ได้ตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีความโปร่งใสและให้ความมั่นใจในการลงทุน


    6. ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ

      กองทุน passive ไม่มีผู้จัดการเพื่อทำกิจกรรมบริหารจัดการหุ้น ทำให้นักลงทุนไม่ต้องกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงในการบริหารหุ้น

    Passive Fund มีข้อจำกัดอะไร

    Passive Fund มีข้ข้อจำกัดบางอย่างที่ควรพิจารณาก่อนการลงทุนดังนี้:


    1. ผลตอบแทนที่จำกัด

      Passive Fund มีวัตถุประสงค์ในการสะท้อนผลตอบแทนของตลาดหรือตัวดัชนีที่ตายตัวไว้ ซึ่งหมายความว่าผลตอบแทนของกองทุนจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกับตลาดหรือตัวดัชนีนั้นๆ แต่ไม่สามารถเกินผลตอบแทนของตลาดหรือตัวดัชนีนั้นได้ ดังนั้น หากตลาดหรือตัวดัชนีมีผลตอบแทนต่ำหรือลดลง Passive Fund ก็จะตามลดลงตามนั้น ทำให้คุณอาจไม่สามารถเก็บกำไรเพิ่มเติมจากกองทุนได้มากนัก แต่ก็ลดความเสี่ยงในด้านการบริหารจัดการกองทุน


    2. ไม่มีการเลือกหุ้นและตัวอัตราค่าธรรมเนียมสูง

      Passive Fund ไม่มีการทำการเลือกหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงหรือเพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยมักจะลงทุนในหุ้นทุกตัวที่อยู่ในตัวดัชนี ซึ่งอาจทำให้คุณไม่ได้ลงทุนในบริษัทที่คาดหวังว่าจะมีผลตอบแทนดีในอนาคต การควบคุมตัวดัชนีและค่าธรรมเนียมที่ต่ำนั้นทำให้ค่าธรรมเนียมใน Passive Fund นั้นมีระดับที่ต่ำกว่ากองทุนที่มีการเลือกหุ้นและทำกิจกรรมเพิ่มเติม


    3. ข้อจำกัดในการปรับปรุง

      Passive Fund มักมีการปรับปรุงหน้าตาตัวดัชนีของมันในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น รายปีหรือรายครึ่งปี การปรับปรุงอาจไม่ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของตลาด และอาจไม่ระบบตัวดัชนีใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป


    4. การลงทุนที่ไม่ค่อยเหมาะกับตลาดแนวโน้มหรือช่วงสถานะที่แตกต่างกัน

      ในบางช่วงของตลาด อาจมีบริษัทหรือกลุ่มอุตสาหกรรมบางส่วนที่มีประสิทธิภาพดีกว่าค่าเฉลี่ย แต่ในขณะเดียวกัน Passive Fund จะต้องลงทุนในทุกบริษัทในตัวดัชนีไม่ว่าจะมีสภาพการเจริญเติบโตดีหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น คุณอาจพลาดโอกาสในการลงทุนในบริษัทหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากกว่า


    5. ความไม่สามารถเก็บกำไรจากความรุนแรงของตลาด

      หากตลาดอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งและมีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ Passive Fund จะสามารถติดตามผลตอบแทนที่ดี แต่หากตลาดเกิดการความรุนแรงหรือทวีความไม่สงบทางเศรษฐกิจ Passive Fund ก็จะตามลดลงตา

    ทิ้งท้ายไว้ก่อนลงทุนใน Passive Fund

    สำหรับคำถามนี้ คงไม่สามารถชี้ชัดไปได้ว่า กองทุนไหนคือ Passive Fund บางรายการมีชื่อว่าเป็น Passive Fund แต่มีรูปแบบการลงทุนเป็น Active บางแห่งบอกเป็น Passive Fund แต่กลับเลือกลงทุนในกลุ่มดัชนีที่ Active กองทุน Passive Fund กองไหนดี  ที่เหมาะแก่การลงทุน คงตอบได้ยาก คงได้แต่เพียงมีช่องชี้ทางได้ว่า ถ้าคุณสนใจการลงทุนในรูปแบบ Passive Fund ขอให้ดูรูปแบบการจัดการด้านการลงทุนที่ผู้ให้บริการดูแลด้านการลงทุนจัดสรรไว้ให้ โดยอิงในนิยาม “ มุ่งหวังให้ผลประโยชน์ตามผลดัชนีชี้วัด ” ซึ่งในความเป็นจริง ตัวอักษร กับรูปแบบการลงทุนเป็นสิ่งที่ดูได้ค่อนข้างยาก แต่ก็พอช่วยกลั่นกรองให้คุณเลือกการลงทุนในรูปแบบ Passive Fund ได้ครับ

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    คำสั่ง Long , Short คืออะไร? ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ​คำสั่ง Long (Buy), Short (Sell) คืออะไร คราวนี้เราก็จะมาพาเทรดเดอร์ทั้งมือเก่าและมือใหม่ไปทำความรู้จักคำสั่งนี้กัน เพื่อคล้าโอกาสการเทรดและทำกำไรจากความผันผวนของตลาดเงินให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย
    placeholder
    วิธีดูกราฟราคาทองที่นักลงทุนทองคำต้องรู้ ฉบับมือใหม่ต้องอ่านขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ขึ้นชื่อว่าทองคำ หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นสินทรัพย์อันมีค่า ยอดนิยมตลอดปี ไม่ว่าใครก็อยากมีไว้ครอบครอง แต่นักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของราคาทอง ถ้านักลงทุนสามารถวิเคราะห์และดูสถิติของราคาทองคำเป็น ก็จะรู้ได้ว่าช่วงเวลาใดควรซื้อ ช่วงเวลาใดควรขาย เพื่อสร้างกำไรให้นักลงทุนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้เสียโอกาสของการลงทุน ไปอ่านในบทความกัน
    placeholder
    อินดิเคเตอร์หุ้นคืออะไร? อินดิเคเตอร์หุ้น 3 ประเภทที่มีประโยชน์สำหรับการซื้อขายสิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    สิ่งชี้วัดหุ้นคืออะไร? สิ่งชี้วัดหุ้นช่วยในการซื้อขายอย่างไร? ในบทความนี้คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสิ่งชี้วัดหุ้น และทีมงานได้เลือกสิ่งชี้วัดหุ้น 3 อันดับสำหรับคุณ
    placeholder
    10 อันดับแอพหาเงินสร้างรายได้เสริมปี 2566ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ยังจำเป็นอยู่ไหมกับการทำงานกินเงินเดือนที่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ปัจจุบันที่ใคร ๆ ต่างก็นั่งทำงานหารายได้จากหลายช่องทางต้องบอกว่าหมดยุคแล้วกับตอกบัตรเข้าออฟฟิศ และนี่คือทั้งหมดของแอพหาเงินที่เรารวบรวมมาเป็นตัวเลือกสำหรับการสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ที่บ้านสำหรับปีนี้ที่เรานำมาฝากกัน
    placeholder
    กองทุน ETF คืออะไร? ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ในบทความนี้เราจะมาทราบกันว่า ETF คืออะไร คนทั่วไปจะสามารถลงทุนอย่างไร โดยที่ผู้ลงทุนสามารถศึกษาเพื่อนำไปวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกการลงทุนกับ ETF อย่างหมาะสมนำไปสู่สร้างมูลค่าที่มีอย่างยั่งยืน