สำหรับนักลงทุนที่อยู่ในตลาดมาสักพักหนึ่ง จะพบว่าดัชนีตลาดหุ้นของอเมริกาตัวหนึ่งที่ชื่อ Dow Jones (DJIA) มีการพาดหัวข่าวการลงทุนทุกๆวัน เวลาดัชนี DJIA มีการเคลื่อนไหว มักจะกระทบต่อตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก เวลาขึ้น ก็จะทำให้ตลาดอื่นทั่วโลกขึ้นตาม เวลาลงหนักๆ ก็จะทำให้ตลาดอื่นทั่วโลกลงตามๆ กัน
Dow Jones (DJIA) เป็นดัชนีที่พบบ่อยมากสำหรับนักลงทุน บทความนี้จะอธิบายอย่างละเอียดว่า Dow Jones (DJIA) คืออะไร, วิธีการคำนวณ Dow Jones Index, วิธีการคำนวณ Dow Jones Index, องค์ประกอบ Dow Jones Index, และดาวโจนส์ย้อนหลัง มาดูกันครับ
Dow Jones (ดาวโจนส์) โดยทั่วไปจะหมายถึง DJIA (Dow Jones Industrial Average ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์) DJIA คือ ดัชนีที่ติดตามบริษัทขนาดใหญ่ 30 แห่งที่ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และ NASDAQ โดย Dow Jones ได้รับการตั้งชื่อตาม Charles Dow ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งดัชนีนี้ขึ้นในปี 1896 และ Edward Jones ซึ่งเป็นหุ้นส่วนธุรกิจของเขา
DJIA Index เป็นดัชนีตลาดที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับสองของสหรัฐรองจากค่าเฉลี่ยการขนส่งดาวโจนส์ ซึ่งมีหุ้นขนส่ง 20 รายเช่น บริษัทรถไฟและรถบรรทุกต่างๆ ซึ่งค่าเฉลี่ย DJIA Index ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ เป็นตัวแทนสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐในวงกว้าง
เมื่อ ดัชนีดาวโจนส์ (Dow Jones Index) เปิดตัวนั้นมีการรวมกันเพียง 12 บริษัทซึ่งทั้งหมดเกือบจะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทั้งสิ้น บริษัทแรกๆ ที่รวมตัวกันของ ดัชนีดาวโจนส์ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงทางรถไฟ ผ้าฝ้าย ก๊าซ น้ำตาล ยาสูบ และน้ำมัน โดยผลประกอบการของบริษัทอุตสาหกรรมมักจะเชื่อมโยงกับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างผลประกอบการของ ดัชนีดาวโจนส์ และเศรษฐกิจยึดโยงต่อกัน ดังนั้นดัชนีดาวโจนส์ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งจะหมายถึงเศรษฐกิจที่แข็งแรง ผลประกอบการของบริษัทใหญ่ๆ เติบโตดี ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ที่ตกลง ทหมายถึงมีผลประกอบการของบริษัทและเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านไป องค์ประกอบในการคำนวณ ดัชนีดาวโจนส์ ก็เช่นกัน โดยทั่วไปแล้ว ดัชนีดาวโจนส์ จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อบริษัทนั้นๆ เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจน้อยลง หรือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในวงกว้างขึ้น และจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขี้น
DJIA คำนวณด้วยวิธี Price Weighted Index คือ ค่าเฉลี่ยที่เกิดจากการคำนวณโดยรวมราคาหุ้น 30 ตัวในดัชนีแล้วหารด้วยตัวเลขหนึ่งที่เรียกว่า Divisor ซึ่งปัจจุบัน ค่า Divisor = 0.152
(ณ กันยายน 2020)
ดังนั้นดัชนีจะคำนวณ DJIA = ผลรวม (ราคาหุ้นองค์ประกอบ) / Divisor
การคำนวณดัชนี DJIA นั้น จะเห็นว่าหุ้นเติบโต บางตัวที่แม้ว่าจะสะท้อนภาพเศรษฐกิจได้ดีแต่มีราคาต่อหุ้นสูง มีแนวโน้มไม่ถูกนำเข้ามารวมอยู่ในดัชนี เช่น หุ้น Berkshire Hathaway A ของ Warren Buffet ที่มีราคากว่า 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหุ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของหุ้นดังกล่าวเพียงหุ้นเดียวจะมีผลต่อดัชนีอย่างมาก
แล้วหุ้นในดัชนี DJIA มีกลุ่มไหนบ้าง?
ส่วนใหญ่หุ้นกลุ่ม DJIA จะอยู่ในกลุ่มการแพทย์ การเงิน เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
• 15 มี.ค. 1933 : การเพิ่มขึ้นของดัชนีในหนึ่งวันสูงสุดที่เกิดขึ้นในยุคตลาดหมีช่วงปี 1930 รวมเป็น 15.34 เปอร์เซ็นต์ Dow Jones เพิ่มขึ้น 8.26 จุดและปิดที่ 62.10 จุด
• 19 ต.ค. 1987 : มีการลดลงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงสุดเกิดขึ้นใน Black Monday ดัชนีลดลงร้อยละ 22.61 จุด ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนที่อยู่เบื้องหลังการลดลงอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าโปรแกรมการเทรดอาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องก็ตาม
• 17 ก.ย. 2001 : มีการลดลงต่ำสุดในรอบหนึ่งวันครั้งที่สี่ และเป็นครั้งสูงสุดในเวลานั้นซึ่งเกิดขึ้นในวันแรกของการซื้อขายหลังจากมีการโจมตี 9/11 ที่นิวยอร์ก Dow Jones Index ลดลง 684.81 จุดหรือประมาณร้อยละ 7.1 อย่างไรก็ตามเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่าดัชนีได้ลดลงอยู่ก่อนแล้วก่อนเหตุการณ์ในวันที่ 11 ก.ย. โดยลดลงมากกว่า 1,000 จุด ระหว่าง 2 ม.ค. และ 10 ก.ย. อย่างไรก็ตาม DJIA เริ่มถูกฉุดต่ำลงหลังจากการถูกโจมตี และตีกลับขึ้นมาเหนือจุดต่ำสุดได้อีกโดยปิดเหนือ 10,000 จุดชึ่งถือเป็นประวัติการณ์ของปีนั้น
• 3 พฤษภาคม 2013: Dow Jones Index เกิน 15,000 จุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
• 25 ม.ค. 2017 : Dow Jones Index ปิดเหนือ 20,000 จุดเป็นครั้งแรก
• 4 ม.ค. 2018 : Dow Jones Index ปิดที่ 25,075.13 จุด ปิดเหนือ 25,000 จุดครั้งแรก
• 17 ม.ค. 2018 : Dow Jones Index ปิดที่ 26,115.65 จุด ปิดเหนือ 26,000 จุดครั้งแรก
• 5 ก.พ. 2018 5, 2018: Dow Jones Index ลดลง 1,175.21 จุด
• 21 ก.ย. 2018 : Dow Jones Index ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 26,743.50 จุด
• 26 ธ.ค. 2018 : Dow Jones Index บันทึกการเพิ่มขึ้นสูงสุดในหนึ่งวันที่ 1,086.25 จุด
• 11 กรกฎาคม 2019: Dow Jones Index ทะลุ 27,000 จุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
เหตุผลที่นักลงทุนคนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับดัชนีหุ้น DJIA นั่นก็เพราะว่า ดัชนีหุ้นนี้เป็นตัวชี้วัดสภาวะของตลาดหุ้นและเป็นตัวชี้นำ (Leading Indicator) ของสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของโลก ขอให้เพื่อนๆนักลงทุนทุกคน อย่าลืมดูดัชนี DJIA ประกอบการติดสินใจในการลงทุนในทุกๆ วันนะครับ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง