Mitrade Insights ทุ่มเทเพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลทางการเงินที่ครบถ้วน ทันเวลา และมีคุณค่ามากที่สุด เพื่อช่วยให้นักลงทุนเข้าใจสถานการณ์ตลาดและคว้าโอกาสในการซื้อขายได้ทันท่วงที
    2021
    ผู้ให้บริการข่าวและการวิเคราะห์ที่ดีที่สุด
    FxDailyInfo
    2022
    แหล่งข้อมูลการศึกษา Forex ที่ดีที่สุดทั่วโลก
    International Business Magazine

    นิเคอิ225(Nikkei 225) คืออะไร? ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นผ่านดัชนีนิเคอิ225

    3 นาที
    อัพเดทครั้งล่าสุด 25 ธ.ค. 2566 10:03 น.

    นิเคอิ225 (Nikkei 225) คืออะไร?

    ดัชนี Nikkei 225 เป็นหนึ่งในดัชนีที่สำคัญที่สุดในโลกโดยที่นักลงทุนสามารถใช้ดัชนี Nikkei 225 เป็นตัวชี้วัดสภาวะตลาดหุ้นของญี่ปุ่นโดยรวม ดัชนี Nikkei 225 นั้นประกอบไปด้วยหุ้นของ 225 บริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Tokyo Stock Exchange เช่น Hitachi, Fujitsu, Panasonic, Sharp, Toyota ถ้าจะเทียบกันแล้วก็จะคล้ายกับดัชนี SET50 ของบ้านเราที่ประกอบไปด้วย 50 หุ้นชั้นนำอย่าง KBANK, PTT, CPF เป็นต้น


    โดยดัชนี Nikkei 225 เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 7 เดือนกันยายน 2493 หรือ 72 ปีก่อน ซึ่งถือได้ว่าเป็นดัชนีหุ้นที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย โดยที่ดัชนีมีการคำนวนย้อนหลังไปจนถึงวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม 2492 ซึ่งเป็นวันที่ตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นเปิดทำการอีกครั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยในตอนแรกนั้นตลาดหลักทรัพย์โตเกียวเป็นผู้จัดทำและคำนวนดัชนีก่อนแล้วจึงค่อยส่งมอบต่อให้หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (The Nikkei) รับช่วงคำนวนและรายงานต่อเป็นประจำทุกวันตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา


    จากข้อมูลดัชนีรายเดือนพบว่า ดัชนีได้เคยขึ้นไปถึงจุดสูงสุด ที่ระดับ 38,916 ณ สิ้นเดือนธันวาคมปี 2532 จากภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นและลงไปแตะจุดต่ำสุดที่ระดับ 7,568 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หลังจากเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ subprime crisis ในสหรัฐ 


    โดย ณ วันที่ 24 พ.ค. 2566 ดัชนี Nikkei 225 พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 33 ปี อยู่ที่ระดับ 30,682 (ข้อมูลจาก Nikkei.co.jp)โดยได้ไต่ระดับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุดถึง 305.4% ในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา จากเว็บไซต์



    กราฟแสดงราคาดัชนี Nikkei 225 วันนี้


    Nikkei 225 คำนวณอย่างไร?

    จากข้อมูลใน Nikkei Stock Average Index Guidebook อัฟเดท ณ วันที่ 3 ตุลาคม 2565 ดัชนี Nikkei 225 ถูกคำนวนจากราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้น 225 ตัวในดัชนีทุกๆ 5 วินาทีโดยที่


    ราคาหุ้นที่ปรับแล้ว = ราคาหุ้น x ปัจจัยปรับราคา

    มูลค่าดัชนี = ผลรวมของราคาหุ้นที่ปรับแล้ว / ตัวหาร


    หลักเกณฑ์การคัดเลือกหลักทรัพย์เข้า Nikkei 225

    หุ้นที่จะถูกนำเข้าไปรวมในการคำนวนมูลค่าดัชนีนั้นจะถูกคัดเลือกผ่านสองวิธีด้วยกันคือ 

    1. การประเมินประจำปี (periodic review) 

    2. การเข้าไปแทนหุ้นที่ถูกคัดออก (extraordinary replacement)


    สำหรับการทบทวนประจำปีนั้นจะมีจัดขึ้นปีละสองครั้งในช่วงเดือนมกราคมและกรกฏาคมและมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือน

    เมษายนและตุลาคมตามลำดับ โดยหุ้นที่มีสภาพคล่องน้อยจะถูกคัดออกและหุ้นที่มีสภาพคล่องมากจะถูกนำเข้าไปรวมในดัชนี


    แทน โดยสภาพคล่องนั้นสามารถวัดได้จากสองปัจจัยคือมูลค่าการซื้อขายหุ้นโดยรวมและความผันผวนของราคาหุ้น หุ้นที่มี

    สภาพคล่องน้อยจะมีมูลค่าการซื้อขายน้อยและมีความผันผวนของราคาหุ้นสูงกว่าหุ้นที่มีสภาพคล่องมาก นอกจากสภาพ

    คล่องแล้วการเลือกหุ้นเข้าดัชนีนั้นควรจะทำให้แต่ละอุตสาหกรรมมีจำนวนหุ้นที่สมดุลกันเพื่อให้ดัชนีนั้นสามารถใช้เป็น

    ตัวแทนวัดสภาวะตลาดหุ้นและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้อย่างใกล้เคียงที่สุด


    สำหรับกรณีที่มีการเพิ่มหุ้นเข้าไปเพื่อแทนหุ้นที่ถูกคัดออกนั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกรณีที่หุ้นเดิมในดัชนีถูกถอดถอนออกจาก

    ตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมาจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจเช่น การถูกควบรวมกิจการหรือหุ้นถูกย้ายไปจดทะเบียนที่ตลาด


    อื่นเป็นต้น ขั้นตอนการคัดเลือกหุ้นใหม่เข้ามาแทนที่ก็จะคล้ายกับกรณีทบทวนประจำปีคือเลือกจากปริมาณสภาพคล่องและ

    จะต้องมาจากอุตสหกรรมเดียวกันกับหุ้นเดิมที่ถูกนำออกเพื่อทำให้จำนวนหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรมยังคงจำนวนเท่าเดิม


    องค์ประกอบของ Nikkei 225 (Nikkei 225 Components)

    ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ Nikkei 225 Index Components - Nikkei Indexes แสดงให้เห็นว่าดัชนี Nikkei 225 นั้นประกอบไปด้วยหุ้นจาก 36 อุตสาหกรรมซึ่งถูกจัดรวมเป็น 6 หมวดหมู่ใหญ่ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี การเงิน สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน กลุ่มวัสดุและภาคการขนส่ง โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีนั้นจะมีน้ำหนักสัดส่วนมากที่สุดเกือบครึ่งหนึ่งของดัชนีตามมาด้วยหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและวัสดุ ในขณะที่หุ้นกลุ่มการเงินและการขนส่งสาธรณูปโภคมีสัดส่วนน้อยที่สุดเพียงแค่ 2% ของดัชนี 


    สัดส่วนและจำนวนหุ้นของแต่ละอุตสาหกรรมในดัชนี Nikkei 225

    หมวดหมู่

    สัดส่วน

    จำนวนหุ้น

    อุตสาหกรรม

    เทคโนโลยี

    48.89%

    59

    เภสัชภัณฑ์, เครื่องจักรไฟฟ้า, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องมือวัดความแม่นยำ, การสื่อสาร

    สินค้าอุปโภคบริโภค

    23.85%

    33

    อาหาร, การประมง, ค้าปลีก, บริการ

    วัสดุ

    12.18%

    56

    เหมืองแร่, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, เคมีภัณฑ์, เยื่อกระดาษและกระดาษ, ปิโตรเลียม, ยาง, แก้วและเซรามิก, เหล็ก, โลหะภัณฑ์, บริษัทค้าปลีกค้าส่ง

    สินค้าทุนและอื่นๆ

    10.56%

    36

    การก่อสร้าง, เครื่องจักร, การต่อเรือ, การขนส่งอุปกรณ์, โรงงานภาคการผลิต, อสังหาริมทรัพย์

    การเงิน

    2.39%

    21

    การธนาคาร, บริการทางการเงินอื่น ๆ, หลักทรัพย์, การประกัน

    ขนส่งและสาธารณูปโภค

    2.12%

    20

    รถไฟและรถขนส่งสาธารณะ, การขนส่งทางบก, การขนส่งทางน้ำ, การขนส่งทางอากาศ, คลังสินค้า, พลังงานไฟฟ้า, แก๊ส

    * ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565


    จำนวนหุ้นแบ่งตามขนาดของบริษัทในดัชนี Nikkei 225

    ขนาด*

    จำนวนหุ้น

    หุ้นทั้งหมด

    225

    หุ้นขนาดใหญ่ (market cap อันดับที่ 1-100)

    87

    หุ้นขนาดกลาง (market cap อันดับที่ 100-500)

    121

    หุ้นขนาดเล็ก  (market cap อันดับที่ 500 ขึ้นไป)

    17

    * นับจากอันดับ market cap ของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว


    ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นในดัชนี Nikkei 225 โดยเฉลี่ย

    ปันผล

    PE ratio

    PB ratio

    ROE

    2.12%

    16.17

    1.65

    10.20%

    * ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565


    ถึงแม้ว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจะมีสัดส่วนมากที่สุด แต่หุ้นตัวที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดในดัชนีกลับเป็นบริษัท Fast Retailing 

    Co.,Ltd. ซึ่งอยู่ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าแบรนด์ Uniqlo นั่นเอง


    10 อันดับหุ้นที่มีสัดส่วนมากที่สุดในดัชนี Nikkei 225

    อันดับ

    บริษัท

    อุตสาหกรรม

    สัดส่วน

    1

    Fast Retailing Co.Ltd.

    สินค้าอุปโภคบริโภค

    10.30%

    2

    Tokyo Electron Ltd.

    เทคโนโลยี

    4.90%

    3

    Softbank Group Corp.

    เทคโนโลยี

    4.77%

    4

    KDDI Corp.

    เทคโนโลยี

    3.27%

    5

    Daikin Industries, Ltd.

    สินค้าทุน

    2.78%

    6

    Fanuc Corp.

    เทคโนโลยี

    2.44%

    7

    Terumo Corp.

    เทคโนโลยี

    2.25%

    8

    Advantest Corp.

    เทคโนโลยี

    1.95%

    9

    Shin-Etsu Chemical Co.,Ltd.

    วัสดุ

    1.93%

    10

    Kyocera Corp.

    เทคโนโลยี

    1.85%

    * ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565


    ปัจจัยที่ขับเคลื่อนราคาของ Nikkei 225

    ดัชนี Nikkei 225 นั้นจะเคลื่อนไหวไปตามราคาของหุ้นแต่ละตัวที่ประกอบอยู่ในดัชนี ดังนั้นเราจะต้องดูว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะกระทบราคาหุ้นแต่ละตัว โดยปัจจัยหลักๆ ประกอบไปด้วย


    1. เศรษฐกิจโลก 

    เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก ดังนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ข้อมูลจาก World Bank รายงานว่าญี่ปุ่นส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกามากเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยประเทศจีน ดังนั้นสภาวะเศรษฐกิจของ 2 ประเทศนี้จึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นมาก


    2. เศรษฐกิจญี่ปุ่น 

    เราจำเป็นต้องติดตามตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ถ้าเศรษฐกิจเติบโตได้ดี จะส่งผลให้บริษัทสามารถทำกำไรได้ดีขี้นและจะส่งผลบวกกับราคาหุ้นโดยตรง


    3. นโยบายการเงิน 

    การที่ญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายโดยกดให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานให้กับบริษัทจดทะเบียนและเพิ่มระดับกำไรซึ่งจะเป็นผลดีต่อราคาหุ้น เราจำเป็นต้องจับตาทิศทางนโยบายทางการเงินว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตหรือหรือมีการขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่


    4. นโยบายการคลัง 

    ซึ่งเราดูที่การใช้จ่ายลงทุนภาครัฐและการเก็บภาษี การลงทุนภาครัฐที่มากและเก็บภาษีน้อยจะส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจและการประกอบการของบริษัทในแง่บวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลบวกจากนโยบายต่างๆของภาครัฐ


    5. สภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม

    การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ นโยบายภาครัฐ พฤติกรรมผู้บริโภค การแข่งขันในอุตสาหกรรม เป็นตัวอย่างของปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อแต่ละอุตสาหกรรมโดยตรงที่เราควรคำนึงถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเทคโนโลยีซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งของดัชนีโดยรวม ซึ่งจะได้รับผลกระทบมากถ้าระดับเงินเฟ้อสูงและมีการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น


    6. ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน

    เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อราคาหุ้น ซึ่งเราควรดูผลประกอบการของ 225 บริษัทที่อยู่ในดัชนีเป็นหลัก 


    7. อัตราแลกเปลี่ยน 

    เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกเป็นหลัก ถ้าเงินเยนแข็งค่าจะทำให้สินค้าญี่ปุ่นดูแพงขึ้นในตลาดต่างประเทศ การขายสินค้าได้น้อยลงจะทำให้รายได้ของบริษัทจดทะเบียนลดลงและส่งผลให้ราคาหุ้นลดลงตามไปด้วย ในทางกลับกันถ้าเงินเยนอ่อนค่าจะทำให้สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกลงในตลาดต่างประเทศทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น


    8. ราคาน้ำมัน

    ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันมากและการที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวสูงขึ้นย่อมส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและผลประกอบการบริษัทโดยตรง

    ทำไมต้องลงทุนในดัชนี Nikkei 225

    1. เปิดโอกาศให้เราเราสามารถเป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ของญี่ปุ่นได้ทางอ้อม

    ถ้าเราเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถเติบโตได้ดีในอนาคตและต้องการซื้อหุ้นญี่ปุ่นแต่ไม่ต้องการเสียเวลาบริหารพอร์ตเอง เราสามารถลงทุนโดยตรงในดัชนี Nikkei 225


    2. สภาพคล่องสูง

    เนื่องจากหลักเกณฑ์การเลือกหุ้นเข้าสู่ดัชนี Nikkei 225 นั้นจะถูกเลือกจากหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง ดังนั้นจะทำให้รายจ่ายในการทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นแต่ละตัวในดัชนีต่ำ โดยมี bid-ask spread แคบ price impact น้อยทำในการลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น (สำหรับกรณีการลงทุนในกองทุนรวม)


    3. กระจายความเสี่ยง

    เราสามารถกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนเฉพาะในตลาดประเทศไทยออกไปได้โดยการลงทุนในต่างประเทศ ถ้าประเทศไทยมีปัญหาด้านการเมือง ดัชนี SET50 อาจปรับตัวลงในขณะที่ ดัชนี Nikkei 225  จะไม่ได้รับผลกระทบ


    อย่างไรก็ดีการลงทุนในดัชนี Nikkei 225 นั้นมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากถึงได้ว่าเป็นหนึ่งในดัชนีที่มีความผันผวนมากที่สุดในตลาดซึ่งอาจทำให้เราต้องติดตามตลอดถ้าต้องการเทรดระยะสั้น แต่ความผันผวนที่มากก็นำมาซึ่งความเป็นไปได้ในการทำกำไรที่มากขึ้นด้วย

    ลงทุนหุ้นญี่ปุ่นผ่านดัชนีนิเคอิ225 วิธีการลงทุน Nikkei 225 มีอะไรบ้าง

    นอกจากการลงทุนซื้อหุ้นหุ้นญี่ปุ่นรายตัวโดยตรงแล้ว นักลงทุนยังสามารถลงทุนหุ้นญี่ปุ่นผ่านการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ติดตามดัชนี Nikkei 225 ได้ ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่และนักลงทุนที่ไม่อยากเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ติดตามดัชนี Nikkei 225 จะเหมือนกับการลงทุนในหุ้นของ 225 บริษัทชั้นนำในญี่ปุ่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ Tokyo Stock Exchange จึงมีประโยชที่ว่า สามารถช่วยเรากระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนได้ ทำให้มีความเสี่ยงตำ่กว่าการลงทุนในหุ้นรายตัวโดยตรง


    โดยเราสามารถลงทุนผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงิน 2 ชนิด คือ Exchange Traded Fund (ETF) และ Contract of Difference (CFD) 


    1. Exchange Traded Fund (ETF)


    บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนหลายแห่งเปิดให้ลงทุนในกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในหุ้นตามดัชนี Nikkei 225 เช่น กองทุนรวม KT-JPFUND-A ของ บลจ กรุงไทย, TMPJE ของ TMBAM Eastspring เป็นต้น


    อย่างไรก็ดีการลงทุนใน Nikkei 225 Exchange Traded Fund มีความเสี่ยงที่ควรคำนึงถึงได้แก่ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่กองทุนไม่สามารถลงทุนใน Nikkei 225 Exchange Traded Fund ได้อีกต่อไป ความเสี่ยงจากการเข้าทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของเงินลงทุนต่างประเทศ ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น


    2. Contract of Difference (CFD) 


    สัญญาซื้อขายส่วนต่างหรือ Contract of Difference เป็นตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่เราสามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ดัชนี และสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆโดยที่ตัวเราไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว เพียงแค่เราถือสัญญาไว้ เราก็สามารถทำกำไรได้ด้วยการวางหลักประกันเพียงแค่บางส่วน 


    ยกตัวอย่างเช่นในกรณีนี้ เราไม่จำเป็นต้องมีเงินลงทุนสูงขนาดที่จะสามารถซื้อหุ้น 225 ตัวในดัชนี Nikkei 225 ได้ แต่ถ้าเราคาดว่าระดับดัชนีจะเพิ่มขึ้นให้เราซื้อ CFD ไว้ถ้าดัชนีปรับตัวสูงขึ้นเราจะสามารถทำกำไรโดยการขายและได้รับกำไรส่วนต่างเป็นเงินสดเข้าบัญชี แต่ถ้าราคาลดลงเราจะขาดทุนและต้องจ่ายค่าส่วนต่างเฉพาะที่ขาดทุน 


    ซึ่งโดยรวมแล้วการซื้อขาย CFD เป็นการลงทุนที่ใช้เงินทุนต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากการวางเงินประกันน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าเงินลงทุนจริง เช่น 1 ต่อ 100 ซึ่งหมายความว่า มีเงินวางประกันไว้ 100 บาท จะสามารถเก็งกำไรดัชนีมูลค่า 10,000 บาทได้ หากมูลค่าดัชนีผันผวนเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้เงินประกันที่วางไว้หมด จนถูกบังคับปิดสัญญาอย่างรวดเร็วหรือขายขาดทุนค่อนข้างมาก ซึ่งจะต่างจากการถือครอง ETF ที่เรามีส่วนเป็นเจ้าของหุ้นโดยตรง การลงทุน CFD นั้นสามารถทำผ่านโบรกเกอร์ต่าง ๆ เช่น Mitrade เป็นต้น

    mitrade    
    dago เงินทุนมีความปลอดภัยในระดับสูง
    dago ฝากถอนเงินฟรีและรวดเร็ว
    dago เงินเสมือนจริง $50, 000 ดอลลาร์
    dago โบนัสสำหรับลูกค้าใหม่ $100 ดอลลาร์
    ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446
    ตราสารอนุพันธ์อาจจะทำให้คุณขาดทุนทั้งหมด โปรดอ่านพิจรนา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงของเรา นำเสนอ โดย Mitrade Holding Ltd.SIB License 1612446

    *** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


    การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

    บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?
    บทความที่เกี่ยวข้อง
    placeholder
    SET50 คืออะไร? SET50 มีอะไรบ้าง? และลงทุน SET50 ยังไง?บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    บทความนี้เราขอแนะนำดัชนี SET50 นะครับ รวมถึง SET50 คืออะไร, SET50 มีอะไรบ้าง, วิธีคำนวณ SET50 และปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนี SET50 และลงทุน SET50 ยังไงนะครับ
    placeholder
    S&P 500 คืออะไร?S&P 500 เป็นดัชนีชี้วัดชั้นนำและเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่แพร่หลายที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร, ทำใมต้องลงทุนใน S&P 500 และ S&P 500 ซื้อยังไงนะครับ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    S&P 500 เป็นดัชนีชี้วัดชั้นนำและเป็นหนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่แพร่หลายที่สุดของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บทความนี้จะพานักลงทุนทำความรู้จักกับดัชนีหุ้นสหัฐ S&P 500 รวมถึง S&P 500 คืออะไร, S&P 500 คำนวณอย่างไร, รายชื่อหุ้นใน S&P 500, S&P 500 และ Dow Jones แตกต่างกันอย่างไร, ทำใมต้องลงทุนใน S&P 500 และ S&P 500 ซื้อยังไงนะครับ
    placeholder
    SET100 คืออะไร? รายชื่อหุ้น SET 100SET100 คือดัชนีหุ้นที่นิยมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วยหุ้น 100 บริษัทชั้นนำที่มีปริมาณซื้อขายสูง และมีการคำนวณตัวชี้ที่สะท้อนสถานะของตลาดหุ้นไทย บทความนี้จะสำรวจทุกอย่างเกี่ยวกับ SET100 เช่น SET100 คืออะไร, เกณฑ์ของหุ้น SET100 และ วิธีการคำนวณหุ้น SET100 Index ตามมาดูกัน
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    SET100 คือดัชนีหุ้นที่นิยมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบไปด้วยหุ้น 100 บริษัทชั้นนำที่มีปริมาณซื้อขายสูง และมีการคำนวณตัวชี้ที่สะท้อนสถานะของตลาดหุ้นไทย บทความนี้จะสำรวจทุกอย่างเกี่ยวกับ SET100 เช่น SET100 คืออะไร, เกณฑ์ของหุ้น SET100 และ วิธีการคำนวณหุ้น SET100 Index ตามมาดูกัน
    placeholder
    ดัชนีหุ้นคืออะไร ดัชนียอดนิยมของไทยและต่างประเทศมีอะไรบ้าง?คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับดัชนีหุ้น NASDAQ 100, Nikkei 225 และ Dow Jones​ ช่วงข่าวเศรษฐกิจตอนเช้าและเย็นของวัน คุณอาจสงสัยว่า ดัชนีหุ้นคืออะไร? สำคัญอย่างไร? คุณจะหาประโยชน์จากดัชนีเหล่านี้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบกับคุณ
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับดัชนีหุ้น NASDAQ 100, Nikkei 225 และ Dow Jones​ ช่วงข่าวเศรษฐกิจตอนเช้าและเย็นของวัน คุณอาจสงสัยว่า ดัชนีหุ้นคืออะไร? สำคัญอย่างไร? คุณจะหาประโยชน์จากดัชนีเหล่านี้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบกับคุณ
    placeholder
    ดัชนีหุ้นฮั่งเส็ง(Hang Seng Index-HSI) คืออะไร? ตอนนี้คุณอาจจะยังไม่รู้ดัชนีหุ้นฮั่งเส็งคืออะไร คราวนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้ให้ฟังกันว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฝั่งเอเชียตัวนี้มีที่มาอย่างไร ประกอบด้วยหุ้นอะไรบ้าง และลงทุนได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูกันต่อเลย
    ผู้เขียน  MitradeInsights
    ตอนนี้คุณอาจจะยังไม่รู้ดัชนีหุ้นฮั่งเส็งคืออะไร คราวนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้ให้ฟังกันว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฝั่งเอเชียตัวนี้มีที่มาอย่างไร ประกอบด้วยหุ้นอะไรบ้าง และลงทุนได้อย่างไรบ้าง ตามไปดูกันต่อเลย
    ราคาเสนอแบบเรียลไทม์