เยี่ยมชม Mitradeเทรดกับ เว็บ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitradeเทรดกับ แอพ Mitrade
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
นโยบายกองบรรณาธิการเกี่ยวกับเรา
Mitrade Logoมุมมองการลงทุน

Near Protocol คืออะไร ทำความรู้จักกับ Near Coin ETH Killer พร้อมโปรเจต์ใหม่ล่าสุด Web 3.0 ที่น่าจับตามอง

ผู้เขียน
|อัพเดทครั้งล่าสุด 20 มี.ค. 2566 02:22 น.
975

Near Protocol(Near Coin)


Near Protocol หรือ Near Coin หนึ่งในเหรียญสกุลเงินดิจิทัลทีขึ้นชื่อว่าเป็น ETH Killer หรือเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่งของ ETH ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Near Coin แบบละเอียดว่าอะไรน่าสนใจอย่างไร ใครเป็นผู้สร้างเหรียญนี้ขึ้นมา มีระบบการทำงานเป็นอย่างไร มีเทคโนโลยีอะไรอยู่เบื้องหลัง วัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญนี้ขึ้นมาเพื่ออะไร บทความนี้พร้อมตอบทุกประเด็น อัปเดตข่าวล่าสุดจากทาง Near เจาะลึกถึงประเด็นใหม่ที่น่าสนใจกับระดมทุนเพื่อโปรโมท Web 3.0 ภายใต้ความร่วมมือกับ Google Cloud ซึ่งเป็นโปรเจกต์ใหญ่ที่อาจจะทำให้ราคาของเหรียญ Near มีมูลค่าสูงขึ้นในอนาคตก็เป็นได้ 

Near Protocol คืออะไร Near Platform มีความสำคัญอย่างไร?

Near Protocol หรือ Near Platform เป็นเครือข่ายบล็อกเชนรุ่นใหม่ ภายใต้ระบบฉันทามติแบบ Proof-of-Stake ที่มีความเสถียรภาพสูงและมีความสามารถในการประมวลผลการทำธุรกรรมได้รวดเร็วกว่าบล็อกเชนรุ่นก่อนๆโดยมีเป้าหมายหลักคือการสร้าง Smart Contract เหมือนกันกับ ETH เพื่อเปิดโอกาสให้เหล่าทีมนักพัฒนาโปรแกรมเมอร์สามารถเข้ามาเขียนโปรแกรมหรือเข้ามาสร้างแอพพลิเคชั่นแบบกระจายอำนาจ (Decentralize Applications หรือ dApps) ได้อย่างปลอดภัย

 

Near Platform มีหน้าที่การทำงานคล้ายกันกับ Cloud คือ การจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของเหล่านักโปรแกรมเมอร์ทั้งหลายที่ได้เขียนขึ้นมาบน DApps แบบไม่ผ่านคนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นแพลตฟอร์มนี้ยังมีการนำ Shading Technology มาใช้ในระบบ เพื่อทำการรองรับจำนวนธุรกรรมปริมาณมากและรวดเร็วกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้งนี้มีแนวโน้มว่าในอนาคตจะสามารถรองรับธุรกกรมได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน จึงเป็นที่มาของคำว่า Ethereum Killer นั่นเอง


สำหรับ Near Platform ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชุมชน Near Collectiveโดยมีเป้าหมายในการสร้างขึ้นมาเพื่อต้องการเป็นแพลตฟอร์มที่มีความปลอดภัยสูงที่จะสามารถทำการดูแลรักษาหรือจัดการทรัพย์สินที่มูลค่าสูง ทั้งนี้ยังสร้างขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับทุกคนอีกด้วย


ใครคือผู้ก่อตั้ง Near Protocol


Near Protocol ได้เกิดจากทีมนักพัฒนาหลายท่าน ได้แก่ Erik Trautman ผู้ก่อตั้ง Viking Education และนักวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ที่มีชื่อว่า Alexandra Skidanov ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเขียนโปรแกรมอันดับต้นๆของบริษัท ร่วมกับ Ilya Polosukin ผู้ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมากกว่าสิบปี อดีตทีมผู้พัฒนาจากบริษัท  Google ปัจจุบันนี้มีทีมผู้พัฒนามากกว่า 70 คน พอเห็นทีมผู้สร้างแพลตฟอร์ม เราก็พอที่จะเข้าใจได้แล้วว่าทำไมระบบแพลตฟอร์มนี้ถึงมุ่งเน้นไปยังกลุ่มโปรแกรมเมอร์เป็นหลัก



ความสำคัญของ Near Platform มีอะไรบ้าง


เนื่องจากว่า Near Platform มีคุณสมบัติหลายประการที่น่าสนใจและตอบโจทย์นักพัฒนาโปรแกรมเมอร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการเป็นแพลตฟอร์มที่ไม่มีตัวกลางแบบ Decentralized ทำให้สามารถทำการเขียนแอพพลิเคชั่นได้ง่ายขึ้น เข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆ ได้อย่างง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการชำระเงิน หรือ Cryptography เป็นต้น ทั้งนี้เหล่าผู้ใช้งานหรือนักโปรแกรมเมอร์ทั้งหลายสามารถวางใจได้เลยว่าแอพพลิเคชั่นเขียนขึ้นมาบน DApps จะไม่สูญหายและจะไม่ถูกผู้พัฒนาเอาข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดอย่างแน่นอน เพราะระบบมีจัดเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง


วัตถุประสงค์ในการสร้าง Near Protocol 


 ●  สร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงง่าย ใช้งานง่าย  โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง

 ●  ต้องการเป็นมิตรกับเหล่านักพัฒนาโปรแกรมทุกประเภทเพื่อเข้ามาสร้างผลงานหรือสร้างแอพพลิเคชั่นบน DApps

 ●  สร้างขึ้นมาตอบสนองความต้องการในการทำธุรกรรมเป็นจำนวนมากได้รวดเร็วขึ้นนั่นเอง


Near Coin คืออะไร ทำไมถึงได้ฉายาว่าเหรียญ “ETH Killer”

Near Coin คือ โทเค็นของ Near Protocol โดยมีหน้าที่การใช้งานคือนำมาชำระเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่าย Near Protocol ทั้งนี้ยังนำมาจ่ายเป็นรางวัล Reward หรือนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนสำหรับการ Stake ให้กับผู้ตรวจสอบและทีมนักพัฒนาโปรแกรมนั่นเอง สำหรับเหรียญ Near เป็นเหรียญสกุลเงินดิจิทัลอีกชนิดที่มีปริมาณเหรียญอย่างจำกัดอยู่ที่ 1,000,000,000 Near การที่เหรียญมีปริมาณอย่างจำกัดเช่นนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะราคาในอนาคตอาจจะมีมูลค่าที่สูงขึ้นมากกว่าในปัจจุบันก็เป็นได้ 


จุดเด่นของ Near Protocol 


ประเด็นนี้ที่เรากำลังจะพูดถึงในหัวข้อนี้คือเกี่ยวกับ “จุดเด่น Near Protocol” ที่เห็นได้ชัดว่ามีประสิทธิภาพจริงและโดดเด่นจริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไป


1. ตอบโจทย์ทั้งทีมนักพัฒนาโปรแกรมและผู้ใช้งานทั่วไป เนื่องจากว่า เครือข่ายบล็อคเชน Near Protocol มีระบบ Open Source Code ให้ใช้เพื่อการสร้าง DApps มีการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยและปลอดภัย ทำไมข้อมูลไม่มีการลบทิ้งหรือเกิดการลอกเลียนแบบแต่อย่างใด


2. ความยึดหยุ่นในการทำธุรกรรม (Scalability) กล่าวคือ มีรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากโดยใช้เวลาไม่นาน ด้วยการใช้เทคโนโลยี Sharding ทั้งประหยัดค่าธรรมเนียม หรือค่าแก๊ส  มีความเสถียรภาพมากกว่าบล็อกเชนรุ่นก่อน เช่น Etheruem เป็นต้น


3. ความสามารถในการโอนเหรียญข้ามเชน เนื่องจากว่า Near Protocol มีระบบ Rainbow Bridge ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาค่าธรรมเนียมหลายทอดนั่นเอง


จากที่เราได้ทำการอธิบายไปก่อนหน้าเกี่ยวกับ Near Protocol ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เน้นในการใช้งานให้ทีมนักพัฒนาและผู้ใช้งานโดยตรง ด้วยการใช้เทคโนโลยี Sharding เพื่อให้ได้ความสามารถในการปรับขนาดในการทำธุรกกรรมตามที่ยกตัวอย่างไปก่อนหน้า


มาถึงตรงนี้เราก็จะสามารถเห็นภาพชัดขึ้นสำหรับเหตุผลที่นักลงทุนหลายคนให้ฉายา Near Coin ว่าเป็น ETH Killer โดยเฉพาะในกรณีเรื่อง Scalability หรือในเรื่องความยึดหยุ่นในการรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากที่ ETH ยังไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควรสักเท่าไหร่แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็น ETH 2.0 แล้วก็ตาม

Web 3.0 โปรเจกต์ใหม่ล่าสุดจาก Near Protocol จับมือกับ Google Cloud คู่แข่ง ETH 2.0 ที่น่าจับตามอง

อัปเดตข่าวล่าสุดจาก Near เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศแถลงการณ์ กับโปรเจกต์ใหม่ล่าสุดที่น่าจับตามอง นั่นก็คือ Pagoda ที่เป็นการร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อสนับสนุนโครงการสร้างพื้นฐานสำหรับแพลตฟอร์มเริ่มต้นของ Near Web3.0 นั่นเอง ซึ่งจากการประกาศความร่วมมือครั้งล่าสุดนี้ จะทำให้ Google Cloud สามารถให้ “การสนับสนุนทางเทคนิค” แก่ผู้รับทุน Near โดยการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ให้บริการโหนด Near’s Remote Procedure Call ให้กับ “Pagoda”


สำหรับ Pagoda ได้มีการเปิดตัวขึ้นมาในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเริ่มต้นให้ทีมนักพัฒนาWeb3.0 ที่สร้างบน Near ด้วยชุดเครื่องมืออย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้าง DApps บนบล็อกเชนนั่นเอง


หลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่า แล้วจากความร่วมมือในครั้งนี้จะส่งผลต่อ Near Protocol ไปในทิศทางใด จากคำแถลงการณ์ของผู้อำนวยการทางด้านสินทรัพย์ดิจิทัลของ Google Cloud Carlos Arena กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานของ Google จะช่วยให้นักพัฒนา Near มีวิธีการใช้งานที่และเสถียร ยิ่งไปกว่านั้นคือ จะเพิ่มความสามารถในเรื่องของการสร้างขนาดที่สามารถทำธุรกรรมได้รวดเร็วและปริมาณมากกว่าที่ผ่านมา ซึ่งจะเพิ่มจุดแข็งให้ Near Protocol ดึงดูดนักพัฒนาเข้ามาสร้างแอพพลิเคชั่นบนเครือข่าย Near มากขึ้นในอนาคต


Near Coin ดีไหม เหรียญ Near น่าลงทุนหรือไม่ในปี 2023

หากพิจารณาพื้นฐานของเหรียญแล้ว ทางผู้เขียนมองว่า Near Coin มีจุดเด่นหลักๆ ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากและเหมาะแก่การลงทุนในระยะยาว วิเคราะห์จากโปรเจกต์ใหม่ๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และหากในอนาคตโปรเจกต์นี้สำเร็จหรือแพลตฟอร์มนี้มีผู้ใช้งานเยอะ ก็อาจจะทำให้เหรียญ Near มีราคาที่สูงขึ้นอีกครั้ง


แต่ในทางกลับกันยังมีประเด็นหลักที่เราจะต้องคำนึงถึงก็คือ สภาวะตลาดคริปโทเคอเรนซี่ ในช่วงนี้ค่อนข้างมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ประจวบเหมาะกับราคาของเหรียญในช่วงตกด้วย ดังนั้นหากจะเลือกลงทุนในเหรียญ Near เราจะต้องตามข่าวให้ดี และศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนลงทุน เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีความเสี่ยงสูงเป็นอย่างมาก


ในบทความนี้เราไม่ได้ชักชวนให้ผู้อ่านลงทุนแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเสนอข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ Near Protocol เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษาหาความรู้ ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกคน

*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา


การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

ชัญญาพัชร์ ประวาสุข
นักเขียนฟรีแลนซ์การเงิน และเป็นเจ้าของเพจ วัยรุ่นลงทุน
บทความยอดนิยม
อ่านมากที่สุด
ข่าวล่าสุด
  • ต้นฉบับ
  • กลยุทธ์การเทรด
  • อ่านมากที่สุด
    ข่าวล่าสุด
ไม่พบข้อมูล
Mitrade Logo
มุมมองการลงทุน
อำนวยเนื้อหาคอลัมน์ที่มีคุณภาพสูงแก่นักลงทุนทั่วโลก

คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง

ขยาย