หลายปีที่ผ่านมา เครื่องมือทางการเงินพัฒนาไปมากเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายขึ้น สำหรับการลงทุนทองคำ กจะมีการซื้อทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง กองทุนรวมทองคำ สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า(Gold Futures) หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่างของทองคำ(Gold CFD)
แต่เราควรเลือกวิธีการลงทุนแบบไหนเพื่อให้สอตคล่องกับความต้องการของตนเองได้ดี สิ่งแรกๆ ก็คือตั้งเป้าของการลงทุนทองคำ
เป้าหมายการซื้อทองสามารถแบ่งได้เป็น 3 เป้าหมายใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ซื้อทองเป็นเครื่องประดับ
การซื้อทองเป็นเครื่องประดับได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยโบราณนับถึงปัจจุบันอย่างที่เรารู้จักกันดีในชื่อการซื้อทองรูปพรรณ ทองคำที่ใช้เป็นเครื่องประดับยังสามารถแสดงถึงความมั่งคั่งของผู้สวมใส่ได้ด้วย
อย่างไรก็ดีการลงทุนด้วยการซื้อทองเป็นเครื่องดับยังมีข้อจำกัดที่ผู้ซื้อทองควรคำนึงถึงได้แก่
● มีโอกาสเจอของปลอม เนื่องจากการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของทองคำเป็นเรื่องยากและต้องใช้วิธีการโดยเฉพาะ ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าทองรูปพรรณตัวไหนที่เป็นของจริงหรือของปลอม จึงมีโอกาสเจอของปลอมได้โดยที่ผู้ซื้อไม่รู้ตัว
● ราคาซื้อทองรูปพรรณมีการบวกเพิ่มค่ากำเน็จ ซึ่งเป็นค่าแรงหรือค่าจ้างสำหรับแปรรูปทองคำให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ โดยอาจมีราคาตั้งแต่ 600 – 800 บาทต่อบาททองคำ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการขึ้นรูปและจะถูกกำหนดโดยร้านค้า ซึ่งนับเป็นต้นทุนที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเพิ่มแบบเปล่า ๆ และเรียกคืนไม่ได้
● ราคาขายคืนทองรูปพรรณมักต่ำกว่าราคารับซื้อทองคำแท่ง เนื่องจากเนื้อทองรูปพรรณจะมีการใช้น้ำประสานทองเพื่อดัดหรือขึ้นรูปทองคำตามที่ต้องการ ทำให้เนื้อทองคำไม่ใช่เนื้อทองล้วน ๆ ราคาซื้อคืนทองรูปพรรณจึงไม่ดีเท่าราคารับซื้อคืนทองคำแท่ง
ทั้งหมดนี้เราจะพบว่าการซื้อทองเป็นเครื่องประดับนั้นมีข้อดีในแง่ของการใช้เป็นเครื่องประดับตามโอกาสต่าง ๆ แต่สำหรับการซื้อลงทุนในระยะยาวแล้วอาจไม่คุ้มเนื่องจากมีราคาซื้อที่สูงกว่าปกติและราคาขายที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้มีกำไรจากการซื้อขายได้แบบไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก
2. ซื้อทองเพื่อการลงทุนในระยะยาวหรือเป็นตัวรักษาความมั่งคั่ง
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อทองเพื่อการลงทุนหรือเป็นตัวรักษาความมั่งคั่งมักมองว่าการถือเงินสดนั้นมีมูลค่าลดลงตามเวลาอันเนื่องมาจากค่าเงินเฟ้อ ขณะที่การถือทองคำในระยะยาวนั้นไม่มีการเสื่อมค่า ดังนั้นทองคำจึงสามารถเป็นตัวรักษามูลค่า (Store of Value) ได้ดีในระยะยาว ซึ่งการซื้อทองเพื่อเป้าหมายนี้สามารถทำได้สองวิธีนั่นคือ
2.1 การซื้อทองคำแท่ง
การซื้อทองคำแท่งเป็นวิธีลงทุนที่ได้รับความนิยมมายาวนาน เนื่องจากให้ความมั่นใจได้ว่าเราจะได้เป็นเจ้าของทองคำนั้นจริง ๆ โดยที่ทั้งราคาซื้อและราคาขายจะใกล้เคียงกับราคาตลาดที่สุด ทำให้ได้รับผลกำไรจากการซื้อขายแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
อย่างไรก็ดี การซื้อทองคำแท่งมาเก็บไว้ก็ยังมีข้อควรคำนึงสำหรับนักลงทุนอยู่ นั่นก็คือการซื้อทองคำแท่งนั้นมีโอกาสเจอของปลอม เพราะการพิสูจน์นั้นมีวิธีการเฉพาะทางที่ยากสำหรับนักลงทุน และยังจำเป็นต้องมีที่เก็บที่ปลอดภัยอีกด้วย
2.2 การซื้อกองทุนรวมทองคำ
การซื้อกองทุนรวมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนไม่จำเป็นต้องจัดการธุรกรรมซื้อขายสินทรัพย์เอง แต่เพียงแค่โอนเงินไปยังบริษัทจัดการหลักทรัพย์และส่งคำสั่งซื้อขายก็สามารถลงทุนในสินทรัพย์นั้น ๆ ได้แล้วโดยมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพคอยดูแลเงินทุนให้ โดยที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีขั้นต่ำในการซื้อขายกองทุนรวมทองคำเพียง 5,000 บาท
สำหรับการลงทุนในทองคำผ่านกองทุนรวมนี้นักลงทุนจำเป็นต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การซื้อกองทุนรวมไม่ได้ทำให้นักลงทุนเป็นเจ้าของหรือได้ครอบครองทองคำจริง ๆ แต่จะมีบริษัทจัดการหลักทรัพย์เข้ามาดูแลและเก็บค่าดำเนินงานเป็นค่าธรรมเนียมจัดการกองทุน ทำให้การลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างเหมาะกับการลงทุนระยะยาวและนักลงทุนไม่สะดวกจะจัดเก็บทองคำไว้ด้วยตัวเอง
โดยรวมแล้วในระยะยาวสำหรับการซื้อทองคำเพื่อการลงทุนหรือเป็นตัวรักษาความมั่งคั่ง การซื้อทองคำแท่งยังคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถจัดเก็บทองคำเองได้ และกองทุนทองคำก็เป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเก็บทองคำแท่งไว้กับตัว โดยที่การซื้อขายอาจมีค่าธรรมเนียมเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น
3. ซื้อทองเพื่อการเก็งกำไรในระยะสั้น
การซื้อทองเพื่อการเก็งกำไร คือ การอาศัยส่วนต่างความผันผวนของราคาเพื่อสร้างกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อขายโดยใช้วิธีการซื้อขายในระยะสั้น ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่นักลงทุนจะใช้วิธีการซื้อทองคำแท่งหรือกองทุนรวมที่มักมีส่วนต่างการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อยในการเก็งกำไร
อย่างไรก็ดีปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เข้ามาตอบโจทย์นี้คือตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงราคาทองคำโดยอาศัยอัตราทด (Leverage) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร ทำให้นักลงทุนสามารถสร้างผลกำไรจากการเคลื่อนไหวของทองคำได้แม้ราคาทองคำจะขยับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และโดยไม่จำเป็นต้องถือครองเป็นเจ้าของทองคำเอง
ตราสารอนุพันธ์ที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ Gold Futures และ Gold CFD
3.1 Gold Futures
Gold Futures เป็นสัญญาอนุพันธ์ประเภทฟิวเจอร์สที่มีรูปแบบการซื้อขายเป็นมาตรฐานและทำการเทรดในตลาดหลักทรัพย์เป็นการทั่วไป ดังนั้นนักลงทุนที่สนใจเทรด Gold Futures จึงสามารถเข้าถึงการซื้อขายได้ด้วยการเปิดบัญชีซื้อขายอนุพันธ์ (บัญชี TFEX) กับบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ และสามารถเริ่มซื้อขายสัญญา Gold Future ที่ขนาดมาตรฐาน 5 บาท หรือ 10 บาท ได้ด้วยอัตราทด 1:10 โดยเรียกหลักประกัน 10% ของมูลค่าสัญญา
นักลงทุนสามารถซื้อขายสัญญาและทำกำไรบนราคาทองคำได้แบบเรียลไทม์ตลอดช่วงเวลาเปิดซื้อขาย และสามารถทำกำไรได้ทั้งทิศทางราคาขาขึ้นและขาลง และด้วยอัตราทดที่ถูกนำมาใช้ทำให้แม้ราคาทองคำจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย นักลงทุนก็สามารถทำกำไรจากการเก็งกำไรได้ทันที
อย่างไรก็ดี การเปิดบัญชีซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สยังคงมีข้อจำกัดที่มีความเข้มงวดในการเปิดบัญชีค่อนข้างสูง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ TFEX เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง และต้องอาศัยวงเงินในการซื้อขาย บริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จึงเรียกสเตทเมนต์ประกอบการเปิดบัญชีเพิ่มเติม และจำเป็นต้องอาศัยเวลาในการขอวงเงินเพิ่มเติมจากการเปิดบัญชีปกติ ในส่วนการซื้อขายจำเป็นต้องวางเงินขั้นต่ำสำหรับหนึ่งสัญญาเป็นหลักหมื่นบาทขึ้นไป จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนพอสมควร
นอกจากนี้ แม้การซื้อขาย Gold Futures ในตลาด TFEX จะสามารถทำการซื้อขายได้แบบเรียลไทม์ แต่ก็จำกัดอยู่เพียงเฉพาะการเปิดตลาดช่วงเช้า (9.45 – 12.30 น.) การเปิดตลาดช่วงบ่าย (14.15 – 16.55 น.) และการเปิดตลาดช่วงค่ำ (18:50 - 03:00 น. ของวันถัดไป) และสัญญาการซื้อขายจะมีวันหมดอายุ
3.2 Gold CFD
สำหรับ Gold CFD(CFD ชื่อเต็ม Contract for Difference ภาษาไทยเรียกว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง)เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของตราสารอนุพันธ์ที่แม้นักลงทุนไม่ได้เป็นเจ้าของทองคำจริง ๆ ก็สามารถทำกำไรจากทองคำได้ด้วยเงินทุนไม่มาก เป็นการซื้อขายกันเองโดยตรง (OTC) เปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ต่างประเทศ โดยไม่มีเงินทุนขั้นต่ำ และมีขั้นตอนในการเปิดบัญชีที่ใช้เอกสารน้อยและกินเวลาไม่นาน
จุดเด่นที่ทำให้ Gold CFD ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกนั้นมีสาเหตุมาจากความได้เปรียบหลากหลายด้านที่ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มีให้กับนักลงทุน เช่น Gold CFD มีอัตราทดที่สูง เช่น 1:100 หรือ 1:200 ใช้หลักประกันน้อยลง เช่น 0.5% หรือ 1% ซึ่งช่วยขยายความสามารถในการทำกำไรได้ โดยแลกกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีโบรกเกอร์น้อยรายได้เสนอความยืดหยุ่นในการใช้อัตราทด เช่น โบรกเกอร์ Mitrade เสนอค่าอัตราทด 1/10/20/50/100 เท่า นักลงทุนสามารถปรับค่าเลเวอเรจให้เหมาะกับตนเอง เช่น สำหรับนักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนที่ไม่อยากเสี่ยงสูง สามารถปรับค่าอัตราทดเป็น 1 เท่า ซึ่งเป็นการเทรดด้วยเงินเต็มจำนวนเท่ากับเราได้ซื้อทองคำจริงในตลาด แต่มีข้อดีที่ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดเก็บทองคำและมีขั้นตอนการซื้อขายง่ายโดยแลกกับการเสียค่าธรรมเนียมถือคำสั่งข้ามคืนเล็กน้อย จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีสไตล์การเทรดระยะสั้นหรือ day-trading โดยอย่างยิ่ง
นอกจากนี้การซื้อขาย Gold CFD ยังมีความคล่องตัวสูง โดยนักเทรดสามารถเทรดแบบเรียลไทม์ได้เกือบตลอด 24 ชั่วโมง ใน 5 วันทำการของสัปดาห์ และยังสามารถใช้ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลงโดยไม่มีวันหมดอายุของสัญญาอีกด้วย
นอกจากนี้การเทรด Gold CFD ยังมีขนาดซื้อขายยืดหยุ่น ด้วยขนาดการซื้อขายขั้นต่ำคือ 0.01 Lot ช่วยให้นักลงทุนสามารถเริ่มการลงทุนในทองคำได้ด้วยเงินทุนเริ่มต้นในหลักร้อยบาทเท่านั้น
กล่าวโดยสรุป เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นในการเปิดบัญชี ช่วงเวลาซื้อขาย ระยะเวลาการถือสัญญาและขนาดของสัญญาแล้ว Gold Futures ค่อนข้างมีเกณฑ์การซื้อขายที่จำกัด มีขั้นตอนการเปิดบัญชีซับซ้อน เมื่อเทียบกับการเทรด Gold CFD ที่มีเกณฑ์การเปิดบัญชียุ่งยากน้อยกว่าและมีเงื่อนไขการเทรดที่ยืดหยุ่นกว่ามาก
สำหรับความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากทั้ง Gold Futures และ Gold CFD เป็นตราสารอนุพันธ์ที่เทรดด้วยเลเวอเรจ โดยทั่วไปแล้วจะชื่อได้ว่ามีความเสี่ยงสูงทั้งคู่ และความเสี่ยงของ Gold CFD จะสูงกว่า Gold Futures เนื่องจากสามารถใช้อัตารทดได้ในระดับที่สูงกว่า แต่หากนักลงทุนเทรด Gold CFD ด้วยเลเวอเรจ 1 เท่า ความเสี่ยงจะต่ำกว่าการเทรด Gold Futures
ดังนั้น Gold Futures จึงค่อนข้างเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนพอสมควรและสามารถรับความเสี่ยงได้สูง ขณะที่ Gold CFD จะแบ่งออกเป็นสองกรณี คือสำหรับการใช้เลเวอเรจ 1 เท่า จะเหมาะกับนักลงทุนทั้งมือใหม่และมืออาชีพที่ไม่อยากเสี่ยงสูง แต่สำหรับการใช้ค่าเลเวอเรจที่สูง จะเหมาะกับนักลงทุนที่มีเงินทุนจำนวนน้อยและรับความเสี่ยงที่สูงกว่าได้
วันนี้เราได้แนะนำว่าการเลือกวิธีการลงทุนทองคำแบบไหนและทั้งข้อดีข้อเสียของทุกวิธี อีกอย่างคือ ความเสี่ยงสูงอาจจะได้ผลตอบแทนสูง และความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนกต่ำ นักลงทุนควรคำนึกถึงข้อนี้ด้วยในเวลาเลือกวิธีการลงทุน ถึงตรงนี้ เชื่อว่าคุณคงพอมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกวิธีการลงทุนทองคำที่เหมาะกับตนเองแล้ว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการการลงทุนทองคำ
*** ลงทุนมีความเสี่ยง ในการเทรด CFD ท่านไม่ได้เป็นเจ้าของของสินทรัพย์อ้างอิงใดๆ และอาจไม่เหมาะสมสำหรับนักลงทุนทุกท่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ท่านสูญเสียเงินลงทุนขั้นต้น เพื่อเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นท่านควรพิจารณา เอกสารเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยง ก่อนที่จะใช้บริการของเรา
การลงทุนมีความเสี่ยง เนื้อหาของบทความนี้ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง: การซื้อขายอาจทำให้คุณสูญเสียเงินทุนทั้งหมด การซื้อขายอนุพันธ์แบบ OTC อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน โปรดพิจารณาเอกสาร PDS, FSG, คำชี้แจงการเปิดเผยความเสี่ยงและข้อตกลงลูกค้าก่อนใช้บริการของเรา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โปรดทราบว่าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ในสินทรัพย์อ้างอิง